ในการดูแลรักษาบัวนั้นเราต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการดูแลรักษาบัวดังนี้
- คราบน้ำมัน คราบน้ำมันจะเกิดจากการที่ดินอัดกลบไม่แน่น จึงทำให้ไขมันจากกระดูกสัตว์ที่ผสมในดินรองพื้น ลอยขึ้นมาผสมกับน้ำจึงทำให้เกิดฝ้าบนผิวน้ำในภาชนะ ซึ่งสามารถกำจัดได้โดยใช้การดาษหนังสือพิมพ์วางลอยบนผิวน้ำเพื่อซับคราบ น้ำมันออกหรือเติมน้ำเข้าไปจนผิวน้ำล้นออกไปเอง
- การป้องกันน้ำเสีย สามารถทำได้โดยการเด็ดใบที่เริ่มเหลืองหรือกลีบดอกที่เริ่มโรยทิ้ง เก็บตะไคร้น้ำและสาหร่ายทิ้งหรือใส่ด่างทับทิมเพื่อทำให้ตะไคร่น้ำตายลง แต่หากน้ำในภาชนะเน่าเสียไปแล้วให้เปลี่ยนน้ำใหม่ประมาณ 2-3 ครั้งหากยังไม่หายเน่าก็เปลี่ยนดินใหม่นั้นเอง
- การดูแลไม่ให้ต้นและรากลอย ซึ่งสาเหตุของการที่รากลอยนั้นจะเกิดจากการที่เราอัดดินไม่แน่นเพื่อพอที่จะ ยึดให้บัวจมน้ำได้ซึ่งจะส่งผลทำให้บัวโตช้า และมีใบที่เล็ก ซึ่งเราสามารถแก้ไขได้โดยให้นำบัวขึ้นมาปลูกใหม่โดยใช้อิฐทับรากไว้หรือใช้ ไม้ไผ่ขนาดเท่าตะเกียบหักพับอย่าให้ขาดออกจากกันและเสียบคร่อมเง้าไว้
- การควบคุมแสง บัวนั้นจะต้องการแสงแดดไม่ต่ำกว่า 5 ชม.ต่อวัน ซึ่งหากราปลูกบัวในภาชนะเล็กการได้รับแดดมากๆอาจทำให้น้ำร้อนเกินไป ซึ่งบัวจะทนไม่ได้เราสามารถแก้ไขได้โดย หาสถานที่ให้การปลูกบัวใหม่แต่ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนได้ให้หาพลาสติกมาบังด้าน บนเพื่อช่วยลดความร้อนของแสงแดด
- การแก้น้ำขุ่น สาเหตุที่ทำให้น้ำขุ่นนั้นเกิดจากการที่อินทรียวัตถุกำลังสลายตัวหรือมีปลา และสัตว์ว่ายอยู่ในน้ำ เราสามารถป้องกันได้โดยใช้อินทรียวัตถุย่อยสลายตัวหมดและหรือถ้ามีไส้เดือน หรือสิ่งแปลกปลอมให้เก็บออกให้หมดซึ่งหลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้ใช้ทราย หยาบหรือกรวดป่นโรยกลบหน้าดินหนาประมาณ 1 เซนติเมตรแล้วค่อยๆเติมน้ำลงในภาชนะปลูก
- การแก้ดินจืด สาเหตุที่ดินจืดนั้นจะมี 2 ประการคือ ขาดดิน หรือ ขาดปุ๋ย สามารถจำแนกได้ดังนี้
- การขาดดินเราสามารถสังเกตได้จากรากจะอัดเต็มภาชนะ
ซึ่งรากจะขยายตัวดันดินในภาชนะให้ออกมาละลายกับน้ำ
จนมีดินเกลือติดอยู่กับรากน้อยมาก เราสามารถแก้ไขได้โดย
รื้อดินเก่าออกแล้วเปลี่ยนดินใหม่มาใส่แทน
- การขาดปุ๋ย
สามารถสังเกตได้จากภาชนะปลูกบัวมีดินเยอะมากแต่ดันมีใบที่เล็กลง เหลืองเร็ว
แก่เร็ว ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใส่ปุ๋ยสูตรกลาง เช่น 15-15-15 หรือ
16-16-16 หอกระดาษฝังไว้ที่โคนต้น
แต่อย่าใส่มากเกินไปเพราะจะทำให้มีตะไคร่น้ำในภายหลัง
7. การใส่ปุ๋ย ซึ่งเราจะแบ่งการใส่ปุ๋ยออกเป็น 2 ระยะดังนี้
- ระยะก่อนปลูก ควรที่จะใส่ปุ๋ยคอก 0.5-1 กิโลกรัมต่อกอหว่านลงไปในบ่อบัว
- ระยะหลังปลูก
เราจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-20-0 ในอัตราส่วน 200-300
กรัมต่อก่อโดยหว่านลงน้ำปีละ 4-5 ครั้ง หากใส่ปุ๋ยในอ่างบัวควรใส่ประมาณ 1
ช้อนชา ห่อกระดาษและฝังใต้โคน หากปลูกในบ่อ สระ หรือในพื้นที่กว้าง
ให้ใส่ประมาณห่อละ 1 ช้อนโต๊ะฝังให้ห่างและลึกจากโคนประมาณ 10
เซนติเมตรและกลบดินให้แน่น หรือหากบัวเป็นประเภทของการเจริญเติบโตในแนวดิ่ง
เช่น บัวผันบัวเผื่อน บัวสาย บังจงกลนี
ควรให้ปุ๋ยโดยการฝังห่อปุ๋ยห่างจากโคนต้นบัวประมาณ 5-6
เซนติเมตรและอัดปิดรูที่ฝังปุ๋ยให้แน่น