เม็ดขนุนไส้เม็ดบัวแห้ง

ส่วนผสม
เม็ดบัวแห้งนึ่งให้สุก 4 ½ ถ้วยตวง

น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง

มะพร้าว 800 กรัม

น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม

น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง

ไข่ 8 ฟอง
 วิธีทำ
1. นำเม็ดบัวแช่น้ำ 1-2 ชั่วโมง

2. นำเม็ดบัวนึ่งให้สุก

3. คั้นกะทิให้ได้ 4 ถ้วยตวง

4. ผสมน้ำตาลทรายกับกะทิ คนให้ละลาย

5. ผสมเม็ดบัวกับกะทิในข้อ 4 ปั่นให้ละเอียด

6. นำส่วนผสมที่บดละเอียดแล้วใส่กะทะทอง ตั้งไฟกวนจนแห้งไม่ติดกะทะ เป็นก้อนกลม
ยกลง ตักใส่ภาชนะ ผึ่งไว้ให้เย็น

7. ปั้นเป็นลูกกลมรี

8. นำน้ำตาลทรายผสมน้ำลอยดอกมะลิ ตั้งไฟเคี่ยวจนเข้มข้น พักไว้

9. ต่อยไข่แยกไข่ขาวไข่แดง ใช้เฉพาะไข่แดง คนให้ไข่แตก

10. นำเม็ดบัวที่ปั้นไว้ชุบไข่ ใส่ลงในน้ำเชื่อมให้เต็มกะทะแล้วจึงนำไปตั้งไฟ

11. พอเดือดตักออก














































การดูแลรักษาบัวเมื่อเข้าฤดูหนาว



 

                บัวและไม้น้ำ-ไม้บกอีกหลายชนิด เมื่อเข้าฤดูหนาวจะพักการเจริญเติบโต สลัดใบทิ้ง
 อาหารที่สะสมไว้จะเปลี่ยนสภาพจากน้ำตาล (รูปแบบต่างๆ) เป็นแป้งเก็บไว้ในต้น หน่อหรือหัว
เมื่อหมดฤดูหนาวเริ่มเจริญเติบโตใหม่จึงนำมาใช้

ประโยชน์จากบัว


ประโยชน์นานาจาก “บัว
บัวมีชาติกำเนิดในโคลนตม แต่ดอกใบมีความสะอาดสวยงาม กลิ่นหอมหลุดพ้นจากสิ่งปฏิกูล ชูดอกใบอย่างสูงศักดิ์ อวดความสวยงาม จนได้ชื่อว่า “บงกช” อันแปลว่า เกิดจากตม กล่าวได้ว่า ทุกส่วนของบัวกินเป็นอาหารได้ และทุกส่วนของบัวก็ใช้ประโยชน์เป็นยาได้

รากบัวสมุนไพรสารพัดประโยชน์

รากบัว (Nelumbo nucifera Gaertn)
     เป็นเหง้าใต้ดินลักษณะเป็นปล้องใหญ่และยาว มีสีขาวงาช้าง ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลม เมื่อแก่จะนำมาต้มหรือทำยา

สรรพคุณ  : 
      มีรสหวานมัน แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง ช่วยให้สดชื่น ช่วยเจริญอาหาร ดับกระหาย แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ดับพิษร้อนให้ปอดชุ่มชื้น ช่วยลดความดันโลหิต แก้ปวดบวม มีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร ร่างกายขาดความสมดุล ผู้อยู่ในวัยทองมีอาการนอนไม่หลับก็สามารถช่วยได้ รากบัวใช้ทำกินได้ทั้งอาหารคาว-หวาน จะต้มกินน้ำหรือคั้นดื่มสดๆ ก็ได้ตามชอบ

ต้มกิน
      เป็น วิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป คือเอารากบัวมาฝานเป็นแว่นมากน้อยตามต้องการ ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที แล้วรินดื่มแต่น้ำ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว อาจเติมน้ำผึ้งได้เพื่อให้รสชาติดื่มง่ายขึ้น แต่ไม่ควรเติมน้ำตาลทราย เพราะยิ่งทำให้ร้อนใน  สูตรนี้ใช้ดื่มดับกระหายได้ดี

คั้นเอาน้ำกิน
      ราก บัวสด ๆ มีฤทธิ์แก้ร้อนในได้ดีกว่าน้ำต้มรากบัว วิธีกินให้เอารากมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำกิน ครั้งละ 3-4 ช้อนแกง วันละ 3-4 ครั้ง หากมีเสมหะเหนียวติดคอดื่มน้ำรากบัวสดสูตร 2-3 อาการจะค่อยทุเลาลง เพราะรสชาติเฝื่อนของรากบัวมีสรรพคุณในการสลายพิษ ช่วยละลายเสมหะได้
     นอกจากนี้รากบัวยังนำมาทำอาหารคาว อาทิ ต้มกระดูกหมู ก็ได้ประโยชน์และรสชาติที่แสนอร่อยไม่น้อย


ข้อควรระวัง  :  ผู้ ป่วยที่มีปัญหาทางด้านกระเพาะไม่ควรรับประทานน้ำรากบัวที่คั้นสดโดยตรง แต่ให้เติมน้ำเพิ่มประมาณ 30 เท่า จากนั้นนำไปต้มจนระเหยเหลือ 20 เท่าจากปริมาณเดิม ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากทุกๆ 30 นาที แทน

สรรพคุณรากบัว

                  บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว บัวจัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี คนเอเซียยกให้ดอกบัว เป็นดอกไม้แห่งความบริสุทธิ์และปัญญา
ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมีมายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่าชาติใด เนื่องจากเชื่อว่า การกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่งเพราะนอกจากบัว จะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้ว ยังถือว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธี วิวาห์และความรักของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า..." ตัดบัวยังเหลือใย " และเมืองไทยอย่างบ้านเราก็มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาแต่ช้านานเช่นกัน
คนสมัยก่อนใช้รากบัว เป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณเพราะมี สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน อาการไอ คนไข้ที่มีไข้สูง หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน
                  คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้มรากบัววันละ 2 - 3 แก้ว จะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหารได้ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดิน ไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และช่องทวารหนัก (ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด
นอกจากสรรพคุณที่หลากหลายตามตำราโบร่ำโบราณที่กล่าวมาล้ว ข้อมูลทางโภชนาการและงานวิจัย ยังบอกว่ารากบัวเป็นอาหารชั้นดี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ประกอบไปด้วยใยอาหาร ที่ช่วยระบบขับถ่าย และมีผลช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ในรากบัวยังพบวิตามินซี, วิตามินบี 1(ไทอามีน), วิตามินบี 2(ไรโบเฟลวิน), วิตามินบี 3(ไนอาซิน), วิตามินบี 5(กรดแพนโทธีนิก), วิตามินบี 6, โฟเลท และแร่ธาตุ ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
                  โดยเป็นตัวช่วยในการทำงานของเอนไซม์ ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ไปจนถึงช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนแร่ธาตุ ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่อย่างปกติเช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้น ในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเส้นเลือดภายใน เนื้องอกได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีกด้วย เห็นไหมว่าประโยชน์มากมายขนาดนี้ เรามาดูวิธีการทำที่แสนง่ายของ”น้ำรากบัว”กันค่ะ เริ่มตั้งแต่การล้างและปอกเปลือกนอกออกก่อน หั่นเจ้ารากบัวเป็นแว่น ๆ หนาบางตามความชอบ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด ใส่รากบัวที่หั่นแล้วลงไป ต้มทิ้งไว้สัก 20 นาที จนน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เติมน้ำตาลกรวด หรือน้ำตาลทรายแดง ตามใจชอบ แนะนำว่าให้ใส่น้อย ๆ ให้พอมีรสหวานหน่อย ๆ ก็พอ แค่นี้ เราก็ได้น้ำรากบัว ที่แสนอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายกันแล้

กสรบัวหลวง สารพัดประโยชน์


สรรพคุณ : ผิวหหน้า
1. คุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ผิวขาวหรือยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนส (สาเหตุของผิวคล้ำ ฝ้า จุดด่างดำ)
2. ช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ผิวหน้าเกิดจุด ด่างดำ กระ ฝ้า ชะลอการเจริญของเม็ดสี Melanin
3. ช่วยผลัดเซลล์ผิวหมองคล้ำอย่างประสิทธิภาพ ซึ่งจะค่อยๆผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกโดยไม่ทำให้ผิวบอบช้ำ
4. ช่วยในเรื่องของการชะลอการเกิดริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ ลดความหมองคล้ำ ให้แลดูอ่อนเยาว์ มีสุขภาพดี
5. Vitamin A - Palminate ซึ่งจะช่วยให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
วิธีใช้ : ปรับผิว ขาว ใส ลดรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ
1. ผงเกาสรบัวหลวง ผงมะหาด ผงทานาคา ผงนางคำ มะขามพะเยา อย่างละ 1 ช้อนชา
2. น้ำสะอาด (นม น้ำผึ้ง โยเกิต) 2-3 ช้อนโต๊ะ
3. พอกทิ้งไว้ 30-40 นาที ล้างออกด้วยน้ำ(สบู่ โฟม)
4. ทาครีมตามปกติ พอกอาทิตย์ละ 2-4 ครั้ง หรือทุกวันตามสะดวกเลยคะ
ปล. สามารถใส่สมุนไพรเพิ่มตามต้องการได้คะ
ปล. ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลดี
สรรพคุณ : บำรุงร่างกาย
1. สามารถใช้แก้พิษไข้ เข้าตำรับยาและยาหอมหลายขนาน
2. เป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ลม บำรุงครรภ์ บำรุงมดลูก บำรุงสมอง
3. จากการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน พบว่า มีสารอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งการเต้นผิดปกติของหัวใจ ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
4. สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในคนปกติและในคนที่เป็นเบาหวาน
วิธีรับประทาน
1. ผงเกสรบัวหลวง 1 ช้อนชา
2. ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที
3. ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม รุ่น คุณตา คุณยาย ถึงมีอายุยืนยาว แข็งแรง แล้วยังมีผิวขาว ใส อีกด้วย สมุนไพรไทย เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ถูกทาง สามารถทำให้มีสุขกายที่แข็งแรง ผิวสุขภาพดี โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี ลองนำวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้กันดูนะคะ " สวย ใส อย่างมีสติ "

กสรบัวหลวง สารพัดประโยชน์

         เกสรบัวหลวง เป็นเกสรที่อยู่ในดอกบัวหลวงมีรสชาติฝาดหอม สามารถใช้แก้พิษไข้ บำรุงครรภ์ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ทำให้ชื่นใจ เข้าตำรับยาและยาหอมหลายขนาน เมื่อนำมาสกัดด้วยกระบวนการทางเคมี สามารถสกัดได้สารสำคัญ ได้แก่ kaempferol, kaempferol 3-0-B-D-glucopyranoside, sitosterol-3-0-B-D-glucopyranoside ซึ่งมีคุณสมบัติ ในการกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ผิวขาวหรือยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนส (สาเหตุของผิวคล้ำ ฝ้า จุดด่างดำ) จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อช่วยชะลอริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ ลดความหมองคล้ำ ให้แลดูอ่อนเยาว์ มีสุขภาพดี โดยใช้ชื่อทางการค้าของสารสกัดจากเกสรบัวหลวงนี้ว่า Lotus Spirit ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกที่นำเกสรบัวหลวงมาประยุกต์ใช้ในวงการ เครื่องสำอาง

          นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดเผยคุณประโยชน์ของเกสรบัวหลวงทางวิทยาศาสตร์ที่คน สมัยก่อนใช้เข้าตำรายาและยาหอมหลายขนาน ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ประโยชน์ในด้านการกำจัดสารพิษได้อีกทางหนึ่ง
          นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “การ นำสารสกัดจากเกสรบัวหลวงมาใช้เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ร่วมกับนาโนเทคโนโลยี นับว่าเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาจาก ภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่อันนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ต่อไป”

เกสรบัวหลวง : Lianxu (莲须)

เกสรบัวหลวง หรือ เหลียนซู คือ เกสรตัวผู้ที่ทำให้แห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. วงศ์ Nymphaeaceae1

แก้ปัญหาผมร่วง

เกสรบัวหลวง (Stamen Nelumbinis)
  • ชื่อไทย: เกสรบัวหลวง, เกสรบัว (ทั่วไป); เกสรสัตตบงกช, เกสรสัตตบุษย์ (ภาคกลาง)2
  • ชื่อจีน: เหลียนซู (จีนกลาง), โหน่ยชิว (จีนแต้จิ๋ว)1
  • ชื่ออังกฤษ: Lotus Stamen1
  • ชื่อเครื่องยา: Stamen Nelumbinis1

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
: เก็บดอกบัวที่บานเต็มที่ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสในฤดูร้อน แยกเอาเฉพาะเกสรตัวผู้ คลุมด้วย กระดาษ ตากแดดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี1

การเตรียมตัวยาพร้อมใช้: นำวัตถุดิบสมุนไพรมาคัดแยกเอาสิ่งปนปลอมออก ร่อนเอาฝุ่นและเศษเล็ก ๆ ออก3,4
คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก: ตัวยาที่มีคุณภาพดี เกสรต้องแห้งและไม่แตกหัก สีเหลืองอ่อน เหนียวนุ่ม มีน้ำหนักเบา3,4
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน: เกสรบัวหลวง มีสรรพคุณแก้อาการฝันเปียก เลือดกำเดาไหล ประจำเดือนมามากกว่าปกติ


คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน
แก้ระดูขาว และแก้อาการท้องเสีย3
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย: เกสรบัวหลวง มีกลิ่นหอม รสฝาด สรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ลม บำรุงครรภ์ และแก้ไข้3

ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
  • การแพทย์แผนจีน ใช้ 3-5 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผงรับประทาน1
  • การ แพทย์แผนไทย ใช้เกสรบัวหลวงสดหรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว(ประมาณ 240 มิลลิลิตร) แช่ทิ้งไว้ 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว หรือใช้เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผง รับประทานครั้งละ 0.5-1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มแก้ลม3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
1. จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากเกสรแห้ง พบว่าค่า LD50 มีค่ามากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง5
2. สารสกัดน้ำจากเกสรบัวหลวงสามารถต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ได้อย่างอ่อน5

เอกสารอ้างอิง
1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol.I.English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.

2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.

3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.

4. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology Publishing House, 2005.

5. บพิตร กลางกัลยา, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. รายงานผลการศึกษาโครงการการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจาก สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2544.

อาหารคาวจากบัว

ตำรับอาหารส่วนใหญ่จะเป็นตำรับอาหารจากบัวหลวง ได้แก่ แกงเขียวหวานรากบัว แกงเหลืองรากบัว แกงส้มรากบัว พล่ากุ้งรากบัว ต้มขาหมูรากบัว แกงจืดใบบัวอ่อน ข้าวห่อใบบัว ห่อหมกไหลบัว ผัดเมล็ดบัว สลัด 4 สี เมี่ยงบัวหลวง กลีบบัวหลวงกรอบ

ตำรับอาหารจากบัวสาย ได้แก่ ยำสายบัว ต้มยำสายบัวน้ำข้น และ สายบัวต้มกะทิ