ดอกบัวกับสมุนไพร

                บัวหลวงมีประโยชน์ทางยาเด่นที่สุด คือ เกสร โดยนับเนื่องเข้ากับ เกสรทั้ง 5-7-9 แต่ที่เป็นหลักคือเกสรทั้งห้า อันได้แก่ มะลิ พิกุล บุนนาค สารภี บัวหลวง ซึ่งเป็นเกสรหลักในส่วนผสมของยาหอมเกสรทั้งห้านี้ เมื่อเอาดอกจำปากับกระดังงานไทยมารวมก็เป็นเกสรทั้งเจ็ดเอาดอกลำเจียกกับดอก ลำดวนมารวมก็เป็นเกสรทั้งเก้า เกสรดอกไม้เหล่านี้ มีสรรพคุณรวมเป็นยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ ทำให้ประสาทตื่นตัว สดชื่อ หายอ่อนเพลีย จิตใจกระชุ่มกระชวยสำหรับบัวหลวง เกสรของดอกบัวหลวงนอกจากใช้ปรุงยาแล้วยังใช้ผสมกับใบชา เสริมให้กลิ่นชาหอมเนียนยิ่งขึ้น ผู้ดื่มรู้สึกสดชื่น คลายอาการเหนื่อยล้าทางจิตใจได้เป็นอย่างดี
               จากตำราไทย เกสรบัวมีสรรพคุณ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์ แก้ลม แก้ไข้ คุมธาตุจากการวิจัยทางเภสัชวิทยา สารสกัดเกสรดอกบัวหลวงตัวผู้ด้วยน้ำ(ต้ม) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้สารสกัดเกสรแห้งบัวหลวงด้วยแอลกอฮอล์เอธานอล 95 มีฤทธิ์ต่าน เชื่อ Beta-Streptococcus group A ที่เป็นสาเหตุของโรคหนองฝีชาดอกบัวหลวง (แห้ง) ชงน้ำดื่มมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
                กลีบดอกของบัวหลวงที่ปลอดสารพิษตกค้างจากการพ่นยาฆ่าแมลงนั้น ชาวบ้านบางท้องถิ่นนำมามวนยาฉุนสูบแทนบุหรี่เช่นเดียวกับการใช้ใบจากมวนยา สูบ บางรายผสมเกสรบัวกับเกสรดอกลำโพงสูบแก้ริดสีดวงจมูก หรือ บรรเทาอาการปวดโพรงจมูกอันเกิดจากโรงโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัส
               เมล็ดบัว เมื่อเป็นเมล็ดอ่อน ใช้กินเล่นกรอบหวาน ไส้ในเมล็ดที่เป้นต้นอ่อนสีเขียวนั้น ขณะที่เมล็ดยังอ่อนจะไม่ขม แต่เมื่อแก่จัดมันจะมีรสขมเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนถึงกับขมจัดเมื่อเมล็ดแห้งจึงเรียกกันว่า ดีบัว
               ดีบัว มีรสขมจัด มีสรรพคุณเป็นยาเย็น แก้ไข บำรุงตับ บำรุงน้ำดี บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เจริญอาหาร สรรพคุณอื่นๆ คล้ายกับเกสรบัว
ใบบัวทางยานั้น โดยทั่วไปไม่นิยมการดื่ม แต่มีบางแห่งใช้แทรกในตำรับยาต้ม สำหรับใช้อาบรักษาอาการผื่นคัน หรือรักษาโรคที่เกิดจากการระคายผิวหนัง
ด้านคุณค่าทางยานั้น ถือเป็นยารสเย็นหรือยาเย็น รสสุขุม บำรุงธาตุ คุมธาตุ มีคุณค่าทางอาหารในรูปผักใบเขียวครบถ้วน
               รากบัว หัวรากบัวเป็นส่วนเหง้าของบัวหลวง ในตำรายาแผนโบราณบอกว่า มีรสหวาน มันเล็กน้อยใช้เป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน
รากบัวถือเป็นอาหารและยาอายุวัฒนะขนานเอกของชาวจีน
สรรพคุณของไหลบัวมีมากมาย ตำรายาไทยบอกว่าบำรุงตับ ไต บำรุงร่างกาย คุมธาตุ ลดไข้ ทำให้สดชื่น บำรุงกำลัง สมานลำไส้ อายุวัฒนะ
คนจีนต้มรากบัวดื่มแต่น้ำโดยถือว่ามีสรรพคุณ “เจียะเลี้ยง” คือกินเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น ร่างกายสดชื่น ขับของเสีย บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็นและบำรุงร่างกาย
             รากบัวเป็นส่วนที่สะสมอาหารของต้นบัว จึงมีธาตุอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและเกลือแร่อยู่พอสมควร มีกากใยอาหารสูง มีแทนนินซึ่งช่วยในการสมานลำไส้ เป็นการคุมธาุตุไปในตัว

             

ดอกบัวกับความเชื่อ

คนเกิดวันจันทร์
                เป็นคนนุ่มนวล กิริยามารยาทอ่อนหวาน พูดจาไพเราะ เป็นคนมีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของทุกคน มีความพิถิพิถัน ละเอียดรอบครอบ ใฝ่รู้ มีสติปัญญาดี เป็นคนมีน้ำใจ แต่เวลาโมโหมักปากร้าย เป็นคนเจ้าน้ำตา อ่อนไหวง่าย ดังนั้นจึงควรระวังเรื่องการคบคนเพราะจะถูกชักจูงได้ง่าย ไม้มงคลที่เหมาะจะปลูกของคนเกิดวันจันทร์ ได้แก่ ต้นวาสนา โกสน กวนอิม มะม่วง โป๊ยเซียน ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว มะลิ บัว พยับหมอก
แหล่งที่มา: เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล หนังสือไม้มงคลประจำวันเกิด
เลือกปลูกไม้มงคลให้เหมาะกับราศี

ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 16ธ.ค.-15 ม.ค.
                อุปนิสัยของชาวราศีธนูจะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ค่อนข้างจะดื้อรั้นมีพลังแห่งความแข็งแกร่ง และมีความสามารถในการมองการณ์ไกล จึงทำให้ชาวราศีธนูสร้างฐานะ ได้ด้วยตนเอง ชอบที่จะมีชื่อเสียง มีเกียรติยศ และเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี
คนราศีธนูควรปลูก บัว ซึ่งจะทำให้เกิดความบริสุทธิ์ เบิกบานทำให้คนในครอบครัวมีความห่วงใยผูกพันกัน เฟริ์นข้าหลวง จะนำมาซึ่งชื่อเสียง เกียรติยศให้แก่ผู้ปลูก แก้ว จะกระจายอุปสรรคปัญหาต่างๆ ออกไปจากชีวิต นอกจากนี้ยังมี พลูด่างและโป๊ยเซียน ที่จะช่วยเสริมโชคลาภให้แต่คนราศีธนูอีกด้วย
แหล่งที่มา: เจตน์ จิระกูล ชมรมพันธุ์ไม้มงคลศรีราชา

               บัว กับความเชื่อเรื่อง “ ฝัน ” มีความเชื่อโบราณทำนายความฝันเกี่ยวกับดอกบัวว่า ถ้าผู้ใดฝันเห็นดอกบัว จะมียศฐาบรรดาศักดิ์ นำเกียรติยศมาสู่วงศ์ตระกูล ถ้าฝันเห็นดอกบัวและได้ถือดอกบัวในมือ จะได้ลาภหรือข้าทาสบริวาร หรือได้ข่าวอันเป็นมงคลจากพี่น้อง หญิงมีครรภ์ หากฝันถึงดอกบัว จะได้บุตรเป็นชาย แต่ถ้ายังไม่แต่งงาน ฝันเห็นดอกบัว หมายถึง อาจจะได้คู่ครองในไม่ช้านี้ ถ้าฝันว่าดมดอกบัว จะได้พบญาติพี่น้องจากแดนไกล ถ้าฝันว่าได้บริโภคเง่ารากและใบบัวกับผลาหารอันมีรส จะหายจากโรค เป็นต้น
แหล่งที่มา: กระทรวงวัฒนธรรม

ดอกบัวกับศาสนาพราหมณ์ ฮินดู

พระพรหม

               ใน ศาสนาพราหมณ์ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดของอาเซีย และมีกำเินิดในประเทศอินเดียนัน เดิมทีชาวอินเดียผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ถือว่า พระพรหม พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดของตนเกิดจากไข่สีทอง แล้วทรงสร้างโลก และให้กำเนิดพราหมณ์ ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นในโลกมามกาย ทำให้ได้นามว่า ธาดา แปลว่า ผู้สร้าง และวิธาดา แปลว่า ผู้เลี้ยง ในคัมภีร์กล่าวว่าพระพรหมมักสถิตย์อยู่เหนือดอกบัวเสมอ จึงได้นามว่า กมลาสน์ แปลว่า ผู้มีดอกบัวเป็นอาสนะ
ต่อมาเมื่อเกิดลัทธิใหม่คือ ฮินดู ขึ้น ชาวฮินดูก็เล่าเรื่องกำเนิดพระพรหมเสียใหม่ว่า พระพรหมเกิดในดอกบัวที่งอกออกมาจากพระนาภีของพระนารายณ์ขณะกำลังบรรทมหลับ อยู่เหนืออนันตนาคราชในเกษียรสมุทร ในศาสนาฮินดูมีพระผู้เป็นเจ้าและเทพต่างๆ หลายองค์ที่มีดอกบัวเข้าไปเกี่ยวข้อง อาทิ พระสุรัสวดี พระลักษมี พระคงคา พระอาทิตย์ พระอัคนี พระอินทร์ เป็นต้น


พระสุรัสวดี

                พระสุรัสวดี ชายาของพระพรหม ทรงมีพระโสภามากผิวกายผ่อง อาภรณ์เป็นแก้วสีขาวเหรือเพชรล้วน ทรงรัดเกล้่ามีกรสี่กร กรหนี่งทรงถือพิณ ทรงเป็นเจ้าแห่งดนตรีและการขับร้อง กรหนึ่งทรงถือถ้วยน้ำ ทรงเป็นเจ้าแห่งแม่น้ำทั้งหลาย กรหนึ่งทรงถือคัมภีร์ เพราะทรงอุปถัมภ์การศึกษา อีกกรทรงถือดอกบัว และประทับบนดอกบัว



พระลักษมี

                พระลักษมี ชายาพระนารายณ์ เกิดจากฟองสมุทรในคราวที่เทวดาและอสูรมาทำไมตรีกัน แล้วกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤต ซึ่งเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดได้ดื่มแล้วจะไม่ตาย นางจึงได้ชื่อว่า ชลธิชา แปลว่า เกิดจากทะเล และว่าในขณะโผล่ขึ้นมาจากท้องทะเล นางนั่งอยู่ในดอกบัวและในมือถือดอกบัวด้วย จึงได้นามอีกว่า ปัทมา และ กมลา แปลว่า ดอกบัว ตามรูปเขียนของพระลักษมี เป็นภาพสตรีที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง สีกายเป็นสีทอง มีสองกร พระภูษาสีเหลือง และจะอยู่ในท่านั่งหรือยืนในดอกบัว พระกรถือดอกบัว
พระคงคา

                พระคงคา ตามพระเวทกล่าวว่า พระคงคาเป็นธิดาองค์แรกของพระหิมวัตกับนางเมนกา และเป็นเชษฐภคินีของพระอุมารูปเขียนตามคติฮินดูนั้น เป็นรูปนางงามสีกายขาว มีสามเศียร ทุกเศียรมีรัดเกล้า มีหกกร บางทีถือคัมภีร์ บางทีถือดอกบัว และนั่งมาบนหลังปลา



พระสุริยาทิตย์

                 พระอาทิตย์ หรือ พระสุริยาทิตย์ เป็นเทพเจ้าที่มนุษยืรู้จักก่อนองค์อื่นๆ ในลัทธิฮินดู เพราะในสมัยที่คนยังมีสภาพเป็นชาวป่าอยู่ถ้ำนั้น ได้นับถือพระอาทิตย์แล้ว เพราะพระอาิทิตย์ให้แสงสว่างให้ความอบอุ่น โดยเราเรียกว่า ตาวัน มาแต่โบราณ ต่อมาได้หดสั้นลงเหลือ ตะวัน ในภายหลัง ในคัมภีร์กล่าวว่าพระอาทิตย์เป็นโอรสองค์สุดท้องในจำนวน 8 องค์ของพระกัสยปเทพบิดรกับนางอทิติ เป็นด้วยว่าพระชนนีไม่นำพระสุริยาทิตย์ขึ้นไปเฝ้าพระเป็นเจ้าพระสุริยาทิตย์ จึงมิได้ขึ้นไปอยู่บนเทวโลก ต้องเที่ยวขับรถเทียมม้าขาวเลาะอยู่ระหว่างเทวโลกและกับมนุษยโลกจนทุกวันนี้ และถึงแม้พระสุริยาทิตย์มีรัศมีพุ่งออกจากกายร้อนแรงและสว่างจ้า แต่ก็ยังมีชายาได้ถึง 4 องค์ คือ นางฉายา นางสุวรรณี นางสวาดี และนางมหาวีรยา ในพระหัตถ์ทั้งสี่ของพระสุริยาทิตย์นั้น ทรงถือดอกบัวเสียสองหัตถ์ๆ ละดอก ส่วนอีกสองหัตถ์ใช้ห้ามอุปัทวันตรายและประทานพร



พระอัคนี

                 พระอัคนี หรือที่เราีเรียกว่า พระเพลิง หรือไฟ กล่าวกันว่ามีกายเป็นสีทอง หรือสีแดงเพลิง พระเกศาลุกโชน ปลายพระเมาลีที่มุ่นอยู่จะส่งรัศมีเป็นหมอกควัน พระโอษฐ์อมเพลิง ตามรูปเขียนมักเป็นรูปบุรุษ 2 หน้า 4 กร มีควันเป็นมงกุฎ มีลิ้นเจ็ดลิ้น ทรงพระภูษาสีม่วง ทรงรถเทียมด้ายม้าสีแดง บางทีก็ทรงแกะหรือระมาด (แรด) เป็นพาหนะ ชายาชื่อนางสวาหะ พระอัคนีทรงใช้อาวุธหลายอย่าง มีศรชื่อ อาคเนยศาสตร์ และโตมร ซึ่งประกอบด้วยเปลวเพลิง แต่มีหัตถ์หนึ่งถือดอกบัว



พระอินทร์

               พระอินทร์ เป็นเทวดาที่ชาวอินเดียนับถือมานานและ่ก่อนเทพองค์อื่นๆ ที่เล่ามาแล้ว สมัยแรกๆ พระอินทร์จึงมาฤทธิ์มาก ถือว่าเป็นเทพที่คอยดูแลและช่วยเหลือมนุษย์ เป็นเจ้าแห่งพืชพรรณ ฝน และ อื่นๆหลายอย่าง ในยุคไตรเพทกล่าวว่ามีผิวกายสีแสด หรือทอง แต่ในชั้นหลังๆ ว่ามีสีนวล ของไทยเราว่าสีเขียวมรกต ทรงถือวัชระ อาจเปลี่ยนเป็นศร ขอ หรือ ร่างแหสำหรับตลบจับศัตรู พาหนะที่ทรงคือรถทองเทียมด้วยม้าคู่สีแสด ขนคอยาว และหางยาว โปรดเสวยน้ำโสมมาก พระิอินทร์ในไตรภูมิพระร่วงทรงช้างเอราวัณเป็นพาหนะ ช้างสวรรค์เชือกนี้มีหัว 33 หัว แต่ละหัวมีงา 7 อัน งาแต่ละอันมีสระอยู่ 7 สระ สระ ๆหนึ่ง มีบัวอยู่ 7 กอ แต่ละกอมีดอก 7 ดอก ดอกหนึ่งมีกลีบ 7 กลีบ และกลีบหนึ่ง มี นางฟ้ากับคนใช้อยู่อย่างละ 7 คน
               พระอินทร์มีสวนสำหรับเที่ยวเล่นอยู่ถึง 3 ส่วน ชื่อ นันทโนทยาน จิตรลดา และปารุสกวัน ในสวนแต่ละแห่งมีสระทิพย์ซึ่งเต็มไปด้วยบัวชนิดต่างๆ สีขาวบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง น้ำเงินบ้าง งามหนักหนา

การปลูกดอกบัว


       บัวเป็นไม้น้ำที่มีการเจริญเติบโตและมีลักษณะทรงต้นที่แตกต่างจากไม้ดอกชนิดอื่นๆ
ดังนั้นจึงมีวิธีการปลูกและมีปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหลายปัจจัยด้วยกัน

ประเภทของบัวที่จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต
       1. บัวหลวงหรือปทุมชาติ เจริญเติบโตด้วยการไหลไปตามผิวดิน สามารถแตกต้นใหม่จากข้อ และเปลี่ยนสภาพเป็นเหง้าฝังจมอยู่ใต้ดินเหมือนตาข่าย เมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำแห้งเหง้าจะไม่ตาย เมื่อถึงฤดูฝน มีน้ำ จะแตกต้นใหม่เจริญเติบโตต่อไป ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน เมื่ออายุมากขึ้น ไหลจะสร้างผิวหนาสีน้ำตาลและเปลี่ยนสภาพเป็นเหง้า ใบและดอกเกิดจากหน่อบริเวณข้อปล้องที่เจริญขึ้นเหนือผิวน้ำ ใบเป็นใบเดี่่ยว ดอกเป็นดอกเดี่ยว บานเวลากลางวัน มีกลีบดอกจำนวนมาก ส่วนของฐานรองดอกขยายใหญ่หุ้มรังไข่ไว้ เรียกว่า ฝักบัว
       2. บัวฝรั่ง เจริญเติบโตเป็นเหง้าตามแนวนอนใต้ผิวดิน สามารถแตกหน่อและเจริญเติบโต เป็นต้นใหม่ได้เช่นเดียวกับบัวหลวง เหง้าเดิมจะฝ่อหรือผุฝังอยู่ในดิน เมื่อถึงฤดูแล้ง น้ำแห้งเหง้าจะไม่ตาย และเมื่อถึงฤดูฝน จะแตกต้นใหม่เจริญเติบโตต่อไป
       3. บัวสาย ต้นอ่อนที่งอกจากเมล็ดเจริญเป็นไหล ใบเป็นใบเดี่ยว ทรงกลม ขอบใบหยัก ซี่ฟันแหลม ออกดอกเดี่ยว บานเวลากลางคืนไปจนถึงเช้าของวันรุ่งขึ้น เมื่อต้นโตเต็มที่จะเจริญเป็นหัวอยู่ใต้ดินและแตกหน่อต่อไป ขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยการแยกหน่อมาปลูก บัวสายบางชนิดสามารถนำก้านดอกไปปรุงอาหารได้ ดอกมีทั้งดอกสีแดง สีขาว และสีชมพู
       4. บัวผัน บัวเผื่อน ต้นอ่อนเจริญเติบโตในแนวดิ่งเช่นเดียวกับบัวสาย เมื่อต้นแก่จะเปลี่ยนเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน หรือเป็นลำต้นถ้าพันดิน ส่วนเหง้าใต้ดินจะแตกเป็นต้นใหม่หรือแตกไหลขึ้นสู่ผิวดิน โดยแตกจากจุดเดียวเป็นส่วนใหญ่ และแตกก้านใบ-ก้านดอกที่จุดบนผิวดิน ออกรากที่ส่วนปลายของไหลที่แตก เป็นต้น ต้นมีขนาดเล็กกว่าบัวสาย ขยายพันธุ์ได้ช้าและยากกว่าบัวสาย
       5. บัวจงกลนี เจริญเติบโตจากเมล็ดตามแนวดิ่ง เกิดไหลเกิดเหง้าเช่นเดียวกับบัวผัน บัวเผื่อน เมื่อเหง้าแก่เต็มที่จะผลิตหัวเล็กๆ รอบต้นแม่ หรือหลุดลอยไปงอกในที่ใหม่เป็นต้นใหม่ได้ ดอกสีชมพูอ่อน เมื่อดอกบานแล้วจะไม่หุบ กลีบดอกซ้อนและเป็นหยัก
       6. บัวกระด้ง หรือบัววิกตอเรีย เป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เจริญเติบโตจากเมล็ดขึ้นตามแนวดิ่งเช่นเดียวกับอุบลชาติประเภทล้มลุุก จะโตเป็นต้นเดี่ยว ไม่มีการแตกไหลทอดเหง้าเหมือนบัวชนิดอื่นๆ ใบเป็นใบเดี่ยว ขอบใบยกตั้งขึ้นตรง มีหนามแหลมที่ก้านใบ และผิวใบด้านล่าง ออกดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ บานเวลากลางคืน
ปัจจัยที่สำคัญในการปลูกบัว
       1. ภาชนะที่ใช้ปลูก ควรเป็นภาชนะดินเผา หรือปลูกเลี้ยงในบ่อ ไม่ควรปลูกในภาชนะที่ทำจากโลหะ โดยเฉพาะทองแดง ซึ่งเป็นธาตุที่เป็นพิษต่อบัว ควรเลือกขนาดภาชนะให้เหมาะสมกับพันธุ์ที่นำมาปลูก และคำนึงถึงความต้องการของพันธุ์ดังกล่าวว่าต้องการน้ำลึกหรือน้ำตื้น โดยทั่วไปภาชนะปลูกควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40-60 เซนติเมตร ซึ่งทำให้พื้นที่ผิวหน้าของน้ำที่เหมาะสมสำหรับการแผ่ของใบบัว และมีความลึกประมาณ 18-36 เซนติเมตรที่สามารถบรรจุวัสดุปลูกได้อย่างน้อย 30 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยทั้งนี้รากของบัวจะใช้เนื้อที่ในการแผ่กระจายประมาณ 10-15 เซนติเมตร และมีความลึกของน้ำเหลืออีกประมาณ 10-12เซนติเมตร โดยวัดจากผิวหน้าของวัสดุปลูกจนถึงระดับน้ำ ซึ่งบัวแต่ละพันธุ์จะต้องการ
ความลึกของวัสดุปลูกในภาชนะที่แตกต่างกันดังนี้
       บัวหลวง หรือบัวฝรั่ง จะเจริญเติบโตได้ดีในวัสดุปลูกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
       บัวผัน บัวสาย บัวจงกลนี จะเจริญเติบโตได้ดีในวัสดุปลูกที่มีความลึกไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร

       2. เตรียมวัสดุปลูก ควรใช้ดินท้องร่องสวนขุดใหม่ หรือดินเหนียวจากนาข้าว ไม่ควรใช้ดินที่อินทรียวัตถุยังย่อยสลายไม่หมด เพราะจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย นำดินมาตากแดดให้แห้ง แล้วทุบย่อยให้มีขนาดเล็กลง
โดยเตรียมวัสดุปลูกให้มีอัตรส่วนดังนี้
       การเตรียมวัสดุปลูกในภาชนะปลูกโดยทั่วไป ควรผสมกระดูกป่นลงไปในอัตราหนึ่งกำมือต่อวัสดุปลูกหนึ่งบุ้งกี้ ส่วนการเตรียมวัสดุปลูกในบ่อดินขนาดใหญ่ ควรใช้ดินร่องสวนผสมกับกระดูกป่นในอัตรา 20 กรัมต่อพื้นที่ผิวหน้าของวัสดุในบ่อ 1 ตารางเมตร

       วิธีการปลูกบัวมีขั้นตอนดังนี้
       1. ใส่วัสดุปลูกหนาประมาณสองในสามส่วนของภาชนะปลูก อัดวัสดุปลูกให้แน่น
       2. กลบหน้าวัสดุปลูกด้วยดินเหนียวหนาประมาณหนึ่งในสามส่วน แล้วอัดให้แน่น เพื่อป้องกันปุ๋ยหรือไขมันจากวัสดุปลูกส่วนล่างละลายขึ้นมาปนกับน้ำ
       3. นำต้นหรือหน่อลงปลูก ควรใช้อิฐทับรากไว้ หรือใช้ไม้ไผ่ขนาดเท่าตะเกียบหักพับอย่าให้ขาดออกจากกัน แล้วเสียบคร่อมเหง้าไง้ ถ้าเป็นบัวหลวงหรือบัวฝรั่งควรวางเหง้าให้ชิดภาชนะปลูกด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อเมื่อเหง้าโตเต็มที่จะเจริญเลี้อยไปถึงขอบภาชนะอีกด้านหนึ่ง
       4. ใส่้น้ำสะอาดที่ปลอดวัชพืชลงไป โดยน้ำควรมีค่า pH 5.5-8.0 อุณหภูมิน้ำประมาณ 15-35 องศาเซลเซียส
       5. วางภาชนะปลูกในที่ที่ได้รับแสงแดดไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ชั่วโมง และไม่ควรเป็นที่มีลมโกรกมาก

ชาเกสรบัว


ส่วนผสม
๑ เกสรบัวหลวง ๑ ถ้วย
๒ น้ำสะอาด

วิธีทำ 
๑ เอาเกสรบัวหลวงมาอบ หรือคั่วก่อน หรือจะนำไปตากแห้งไว้ก็ได้  
เวลาจะทำชา ให้ต้มน้ำก่อนจนเดือดแล้วยกลง เอาเกสรบัวหลวงมา 1 หยิบมือ ใส่ลงไปในถ้วยน้ำร้อนเอาฝาปิดไว้สัก 5 นาที แล้วค่อยเสิร์ฟ

หมายเหตุ 
เกสรบัวหลวงเป็นยาบำรุงหัวใจ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และคนที่มีอาการทางหัวใจ ดื่มเป็นประจำจะให้ความรู้สึกชุ่มชื่น จะดื่มแบบร้อนหรือแบบเย็นก็ได้แล้วแต่ถนัด









เกสรบัวหลวง

ชื่อเครื่องยา
เกสรบัวหลวง
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก
เกสรตัวผู้แห้งของดอกบัวหลวง
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา
บัวหลวง
ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)
บัว, สัตตบงกช, สัตตบุษย์, อุบล, โช้ค (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Nelumbonaceae
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา :
           ได้จากเกสรตัวผู้ของดอกบัวหลวง  เก็บเมื่อดอกบานเต็มที่ แยกเอาเฉพาะเกสรตัวผู้ นำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้ง จะเป็นเส้นมีสีเหลือง และมีกลิ่นหอม รสฝาด  เครื่องยาเกสรบัวหลวง พบว่ามีลักษณะภายนอกคือ  เกสรมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ  ตรงกลางเห็นเป็นร่องลึกลงไป  ขนาดความยาว  0.6-2  เซนติเมตร  เส้นผ่าศูนย์กลาง  0.1 เซนติเมตร  สีเหลืองอ่อน หรือสีน้ำตาลเหลือง ส่วนก้านชูเกสรตัวผู้ เป็นรูปทรงกระบอกยาว 1.5-1.8 เซนติเมตร สีม่วงอ่อนมีกลิ่นหอมเฉพาะ  รสฝาด


เครื่องยา เกสรบัวหลวง

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี :
            ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 10%,ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 1%, ปริมาณสารสกัดเฮกเซน ไดคลอโรมีเทน แอลกอฮอล์ และน้ำ เท่ากับ 7, 9, 7, 17 % w/w ตามลำดับ และพบองค์ประกอบหลักคือสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และอัลคาลอยด์

สรรพคุณ :
           ตำรายาไทย:  เกสรบัวหลวง ใช้บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ล้ม แก้ไข้
           ตำรายาจีน: ใช้แก้ปัสสาวะบ่อย  แก้น้ำกามเคลื่อน (ฝันเปียก)  แก้ตกขาว ประจำเดือนมามากกว่าปกติ เลือดกำเดาไหล และแก้อาการท้องเสีย

รูปแบบและขนาดยาที่ใช้ :
           เมื่อใช้บำรุงหัวใจ เกสรปรุงเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บรรเทาอาการหน้ามืด วิงเวียนทำให้ชื่นใจ เป็นยาสงบประสาท ขับเสมหะ
                      1. เกสรบัวหลวงสด หรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง     
                      2. เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผงครั้งละ 0.5 -1 ข้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มหรือใช้ในขนาด 3-5 กรัม

องค์ประกอบทางเคมี :
           เกสรบัว มีฟลาโวนอยด์หลายชนิด เช่น quercetin, luteolin, isoquercitrin, luteolin glucoside และมีรายงานพบแอลคาลอยด์ด้วย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา :
            ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ :
            สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่พบในเกสร และดอกบัว มีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยเกสรตัวผู้มีฤทธิ์จับอนุมูลอิสระ DPPH โดยมีค่า EC50 42.05 ?g/ml
           ฤทธิ์ต้านเบาหวาน :  
            เกสรตัวผู้ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง rat lens aldose reductase (RLAR) และ advance glycation end products (AGE) โดยมีค่า IC50 48.30 และ 125.48 ?g/ml ตามลำดับ ซึ่งการยับยั้ง RLAR และ AGEมีผลต่อการลดการเกิดภาวะเบาหวาน
           ฤทธิ์ทำให้นอนหลับ :  
            สารแอลคาลอยด์ ที่พบในบัว มีผลทำให้หนูนอนหลับ สารสกัดเมทานอลจากเหง้าบัว ทำให้ลดพฤติกรรม และกิจกรรมต่างๆในสัตว์ โดยเพิ่มการเกิด pentobarbitone-induced sleeping time ในหนู
           ฤทธิ์ลดปวด และต้านการอักเสบ :
            สารแอลคาลอยด์ ที่พบในบัว มีฤทธิ์ลดอาการปวด และแก้อักเสบสารสกัดเมทานอลจากเหง้า ในขนาด 200 มก./กก. และ 400 มก./กก. ลดการอักเสบในหนู โดยมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ phenylbutazone และdexamethasoneทั้งการทดสอบในหลอดทดลอง และสัตว์ทดลอง



การศึกษาทางพิษวิทยา :
           สารสกัดแอลกอฮอล์ของเกสรบัวหลวงขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม  โดยการป้อน  หรือฉีดใต้ผิวหนังหนูถีบจักร  ไม่ก่อเกิดความเป็นพิษ

ข้อควรระวัง:
           เกสรบัวหลวงอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน(โดยเฉพาะคนที่แพ้เกสรดอกไม้)

น้ำสมุนไพรน้ำรากบัว


รากบัว (lotus root) คือ ลำต้นใต้ดินที่เปลี่ยนจากหน่ออ่อนเป็นต้นแก่ มีรากบัวไทยขนาดเล็ก รากบัวจีนขนาดใหญ่ มีสีเหลืองงาช้าง ลักษณะเป็นท่อนกลมใหญ่ยาว แต่ละท่อนแบ่งเป็นปล้องๆ ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูกลมๆ เต็มหน้าตัด เลือกรากบัวจีนที่ใหม่ผิวสะอาดสีขาวอมเหลือง ถ้าเป็นรากเก่าสีคล้ำออกน้ำตาล รากบัวไทยเลือกเปลือกสีชมพูออกแดง ล้างแล้วปอกเปลือกนอกของรากบัวออก หั่นเป็นแว่น

สูตรน้ำสมุนไพร ครั้งนี้ เรามีรากบัวซึ่งเป็นพืชใต้ดินที่มีประโยชน์ มีสรรพคุณเป็นยาเย็น
ดังนั้น น่าจะดีที่เราจะเอารากบัวมาทำเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ นั่นคือ น้ำรากบัว และน้ำรากบัวปั่น ตามส่วนผสมและวิธีทำต่อไปนี้

สรรพคุณของรากบัว
เนื้อของรากบัวมีวิตามินซี และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยให้ฟื้นไข้เร็ว แก้อาการร้อนใน
ช่วยสร้างเลือด และช่วยให้เจริญอาหาร

น้ำสมุนไพร น้ำรากบัว
ส่วนผสม
น้ำ 6 ถ้วย
รากบัวหั่นแว่น 300 กรัม
น้ำตาลทราย  1/4 ถ้วย
น้ำแข็งชนิดก่อน

วิธีทำน้ำสมุนไพร น้ำรากบัว 
1. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟอ่อนให้ร้อน ใส่รากบัวลงต้ม จนน้ำมีสีชมพู กรองเอากากออก
2.ใส่น้ำตาล ต้มต่อสักครู่ พอน้ำตาลละลาย ปิดไฟ ยกลง รินใส่แก้วน้ำแข็ง   ดื่ม หรือจะดื่มแบบร้อนหรือแช่เย็นก็ได้
น้ำรากบัว

น้ำรากบัวปั่น
ส่วนผสมน้ำรากบัวปั่น
น้ำ 3 ถ้วย
รากบัวหั่นชิ้นบาง ½ ถ้วย
สับปะรดหั่นชิ้น ½ ถ้วย
น้ำตาลทรายแดง  2 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น ¼ ช้อนชา
น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำน้ำรากบัวปั่น
1.ต้มน้ำ 2 ถ้วยในหม้อด้วยไฟกลางให้ร้อน ใส่รากบัวลงต้มจนสุกนุ่ม พักไว้ให้เย็น
2. ปั่นส่วนผสมทั้งหมดพร้อมกับน้ำต้มรากบัวและน้ำที่เหลือเข้าด้วยกัน รินใส่แก้วดื่ม

รากบัวเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย

             
               บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว บัวจัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี คนเอเซียยกให้ดอกบัว เป็นดอกไม้แห่งความบริสุทธิ์และปัญญา
               ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมีมายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่าชาติใด เนื่องจากเชื่อว่า การกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่งเพราะนอกจากบัว จะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้ว ยังถือว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธี วิวาห์และความรักของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า..." ตัดบัวยังเหลือใย " และเมืองไทยอย่างบ้านเราก็มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาแต่ช้านานเช่นกัน
คนสมัยก่อนใช้รากบัว เป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณเพราะมี สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน อาการไอ คนไข้ที่มีไข้สูง หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน
               คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้มรากบัววันละ 2 - 3 แก้ว จะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหารได้ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดิน ไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และช่องทวารหนัก (ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด
               นอกจากสรรพคุณที่หลากหลายตามตำราโบร่ำโบราณที่กล่าวมาล้ว ข้อมูลทางโภชนาการและงานวิจัย ยังบอกว่ารากบัวเป็นอาหารชั้นดี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ประกอบไปด้วยใยอาหาร ที่ช่วยระบบขับถ่าย และมีผลช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ในรากบัวยังพบวิตามินซี, วิตามินบี 1(ไทอามีน), วิตามินบี 2(ไรโบเฟลวิน), วิตามินบี 3(ไนอาซิน), วิตามินบี 5(กรดแพนโทธีนิก), วิตามินบี 6, โฟเลท และแร่ธาตุ ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
               โดยเป็นตัวช่วยในการทำงานของเอนไซม์ ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ไปจนถึงช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนแร่ธาตุ ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่อย่างปกติเช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้น ในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเส้นเลือดภายใน เนื้องอกได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีกด้วย

ประโยชน์จากบัว

               ส่วนต่าง ๆ ของบัวนั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เป็นทั้งยาและอาหารได้อย่างดี โดยจำแนกได้ดังนี้

          ดอกบัว  ถือเป็นดอกไม้ที่สวยงาม ประชาชนหาซื้อไปบูชาพระมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่น เพราะสามารถคงความงามไว้ได้นานกว่าดอกไม้หลายชนิด

 
          เม็ดบัว  สามารถ นำมากินได้ทั้งสดและแห้ง เม็ดบัวมีปริมาณสารอาหารที่สำคัญ คือ โปรตีน ประมาณ 23 % ซึ่งสูงกว่าข้าวถึง 3 เท่า และเป็นแหล่งรวมธาตุ อาหารหลายชนิดด้วยกัน เม็ดบัวนำมาประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน เช่น สังขยา เม็ดบัว ขนมหม้อแกงเม็ดบัว เม็ดบัวเชื่อม สาคูเม็ดบัว เป็นต้น
          รากบัว  นิยมนำมาเชื่อมแห้งกินเป็นของหวาน หรือนำไปต้มกับน้ำตาลกรวด แก้ร้อนใน ชาวอินเดีย จะให้เด็กดื่มน้ำรากบัว เพื่อระงับอาการท้องร่วง
          ไหลบัว  หรือต้นกล้าบัว สามารถนำมาประกอบอาหารได้ทั้งสด ทั้งแห้ง โดยมากจะนำมาแกงส้ม แกงเลียง ผัดเผ็ดต่าง ๆ
          สายบัว  สามารถปรุงอาหารแทนผักได้หลายชนิด ทั้งแกงส้มสายบัว แกงสายบัวกับปลาทู ฯลฯ ชาวอินเดีย กินเพื่อแก้อาการท้องร่วง
          ใบบัว  นิยม นำมาห่อข้าว ห่อของ เช่น ข้าวห่อใบบัว ส่วนใบอ่อนสามารถนำมากินเป็นผักสดแกล้มน้ำพริก หรือนำมาหั่นฝอย ๆ ชงดื่มแทนน้ำชา ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
          เกสรบัว  ส่วนของเกสรสีเหลือง สามารถใช้เข้าเครื่องยาทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะยาลม ยาหอม ยาบำรุงหัวใจ และยาขับปัสสาวะ
          ดีบัว  เป็นส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเม็ดบัว มีรสขมจัด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของยาโบราณ มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้

ดอกบัวกับศาสนาพุทธ


บัวเป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ขาวพุทธใช้ดอกบัวบูชาพระรัตนตรัยมาแต่โบราณกาล อาจกล่าวได้ว่า บัวเป็นดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนา

ในทศชาิติชาดก ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าแต่ชาติปางก่อน ก็มีเรื่องเกี่ยวกับ “บัว” อยู่หลายพระชาติ อาทิ มโหสถชาดก พระภูริทัตต์ชาดก พระเวสสันดรชาดก เป็นต้น
ในพุทธประวัติ กล่าวถึงตอนสุบินนิมิตของพระนางสิริมหามายาว่า มีพระเศวตกุญชรใช้งวงจับดอกบัวหลวงสีขาวพึ่งบานใหม่ส่งกลิ่นนหอมตระหลบ มาทำประทักษิณสามรอบ แล้วจึงเข้าสู่พระครรภ์พระนางสิริมหามายาทางด้านข้าง ในขณะนั้นก็บังเกิดบุพนิมิตขึ้น 32 ประการ ในจำนวนนี้มีเกี่ยวกับ “บัว” อยู่ด้วยหลายประการคือ ปทุมชาติห้าชนิดบังเกิดดารดาษไปในน้ำและบนบกอย่างหนึ่ง มีดอกบัวปทุมชาติผุดงอกขึ้นมาจากแผ่นหินแห่งละเจ็ดดอกอย่างหนึ่ง และต้นพฤกษาลดาชาติทั้งหลายก็บังเกิดดอกปทุมชาติออกตามลำต้นและกิ่งก้านอีก อย่างหนึ่ง

ตอนประสูติ เมื่อเจ้าชายสิตธัตถะประสูติที่สวนลุมพินี ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดรและย่างพระบาทไป 7ก้าว มีดอกบัวขึ้นมารองรับ 7 ดอก ต่อมาเจ้าชายสิตธัตถะเจริญพระชนมายุได้ 7 พรรษา พระราชบิดาโปรดให้ขุดสระโบกขรณีสำหรับพระราชโอรสลงเล่นน้ำ ว่าปลูกอุบลบัวขาวสระหนึ่ง ปลูกปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง และปลูกบุณฑริกบัวขาวสระหนึ่ง
เมื่อพระสิตถัตธะออกบวช ทรงกระทำความเีพียรปฏิบัติธรรมจนบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ทรงพิจารณาถึงธรรมะที่ทรงตรัสรู้ว่าเป็นธรรมะอันล้ำลึกอยากที่ชนผู้ยินดี ในกามคุณจะรู้ตามได้ แต่อาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ ทรงพิจารณาทบทวนดูัอัธยาศัยเวไนยสัตว์อีก ก็ทรงทราบว่าผู้มีกิเลสเบาบางอันอาจรู้ตามได้ก็มี จึงเกิดอุปมาเวไนยสัตว์เหมือน “ดอกบัว” ว่า เวไนยสัตว์ย่อมแบ่งออกเป็นสี่เหล่าตามอัธยาศัย คือ

เหล่า 1 ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์กล้าจะพึงสอนให้รู้โดยง่าย อาจรู้ธรรมพิเศษได้ฉับพลัน อันเปรียบเหมือนดอกปทุมชาติที่โผล่พ้นจากพื้นน้ำขึ้นมา แล้วคอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบานในวันนี้
เหล่า 1 ผู้มีกิเลสค่อนข้างน้อย มีอินทรีย์ปานกลาง ได้รับอบรมจนอุปนิสัยแก่กล้าแล้ว ก็สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวซึ่งยังอยู่เสมอพื้นน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
เหล่า 1 ผู้ที่มีกิเลสยังไม่เบาบาง ก็ยังควรได้รับคำแนะนำในธรรมปฏิบัติไปก่อนจนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า จึงสอนให้รู้ธรรมขั้นสูง ก็จะบรรลุธรรมพิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ คอยเวลาที่จะเลื่อนขึ้นจากน้ำ และบานในวันต่อๆ ไป
เหล่า 1 เป็นผู้ที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบหาอุปนิสัยไม่ได้เลย ไม่สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบังที่จมอยู่ใต้้น้ำ และภักษาของเต่าปลา
พุทธศาสนิกชนแต่โบราณท่านได้นำดอกบัวมาใช้บูชาพระพุทธรูป นำรูปดอกบัวมาใช้กับพระพุทธปฏิมา ทั้งที่เป็นรู้ปั้นรูปหล่อ และรูปเขียน ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน นอน ทั้งนี้ เพราะดอกบัวเป็นที่นับถือกันว่าเป็นดอกไม้บริสุทธิ์สะอาด พุทธศาสนิกชนจึงเปรียบดอกบัวกับพระพุทธเจ้า ธรรมชาติของดอกบัวนั้นแม้จะเป็นของเกิดอยู่ในน้ำ แต่ก็ไม่ติดน้ำ หรือน้ำไม่เปียกบัวอย่างที่เราชอบเปรียบกันว่าน้ำย่อมไม่ค้างบนใบบัว พระพุทธเจ้าทรงอุบัติมาและดำรงพระชนม์ชีพอยู่ได้ท่ามกลางกองกิเลสในโลก คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันครอบงำอยู่ แต่ว่ากิเลสเหล่านั้นมิได้แปดเปื้อนพระหฤทัยของพระองค์ พระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องจากกิเลสเหล่านั้น เหมือนดอกบัวไม่เปื้อนน้ำ
ดอกบัวนอกจากจะเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าดังได้กล่าวมาแล้วพระโบราณจารย์ ได้เปรียบเทียบดอกบัวกบัพระสงฆ์ กล่าวคือดอกบัวแม้จะเกิดขึ้นตามคูสกปรก ตามกองขยะที่เขาทิ้งทับถมไว้ ตามริมถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่น ก็ยังมีกลิ่นหอมเป็นที่รื่นรมย์ใจ คนย่อมเก็บมาทัดทรงประดับแม้ส่วนสูงของร่างกายโดยปราศจากการรังเกียจถึงสถาน ที่เกิดอันแสนจะปฏิกูลของมันฉันใด พระสงฆ์สาวกของพระพุทธสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะเกิดในตระกูลยากจนเข็ญใจต่ำช้าเลวทรามสักเท่าใดก็ดี เมื่อมาประพฤติปฏิบัติชอบ คนก็ย่อมเลื่อมใสศรัทธาเคารพกราบไหว้ โดยปราศจากความรังเกียจถึงชาติตระกูลฉันนั้น
ในมิลินทปัญหา พระนาคเสนเปรียบเทียบดอกบัวกับผู้ปฏิบัติธรรม โดยกล่าวถึงคุณสมบัติแห่งดอกบัวหลวงว่า ดอกบัวเกิดในน้ำ เติบโตในน้ำ แต่น้ำไม่ติด เปรียบกับผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ติดอยู่ในบริโภคทั้งหลาย ตลอดจนไม่ติดอยู่ในกิเลสทั้งมวล
ป้ายภายในพิพิธภัณฑ์บัว

ดอกบัวย่อมผุดพ้นน้ำ ชูดอกอยู่เหนือน้ำ เปรียบเหมือนผู้ปฏิบัติธรรมครอบงำโลกธรรมทั้ง 8 คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทั้งปวงได้แล้ว ผุดลอยอยู่ในโลกุตตรธรรม ธรรมชาติของดอกบัว แม้ถูกลมมีปริมาณเล็กน้อยพัดถูกต้องแล้ว ก็สะบัดกลีบใบกวัดแกว่งไปมา เหมือนผู้ปฏิบัติธรรม ทำความสำรวมใจไม่ให้ตกไปในแหล่งกิเลสแม้ปริมาณน้อย มีปกติเห็นกิเลสแม้เล็กน้อยว่าเป็นภัยอยู่เสมอ สะดุ้งหวาดหวั่นต่อภัยคือกิเลส
พระนาคเสนเปรียบเทียบพระนิพพานกับดอกบัวว่า ธรรมชาติดของดอกบัว น้ำย่อมไม่ซึมติดอยู่ได้ฉันใด พระนิพพานอันกิเลสทั้งปวงไม่ซึมติดอยู่ได้ฉันนั้น
ในหน้าน้ำเดือน 11 เดือน 12 เป็นระยะเวลาหมดฝน ดินฟ้าอากาศแจ่มใส ทำให้จิตใจผู้คนเบิกบาน งานรื่นเริงของคนไทยแต่โบราณที่เกี่ยวกับ “ดอกบัว”ก็เริ่มขึ้น คือ งานโยนบัว งานลอยกระทง และเทศน์มหาชาิิติ นั้นเอง

ส่วนในลัทธิลามะ ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งในพระพุทธศาสนามหายานแต่แตกแขนงงอกงามอยู่ในประเทศธิเบต นั้น ถือว่าดอกบัวเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่ง อันเป็นต้นเหตุให้ฐานพระพุทธรูปมีกลีบบัวคว่ำและกลีบบัวหงาย บรรดารูปเคารพ เฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรุป พระโพธิสัตว์ และทวยเทพสำคัญ จะปรากฏว่าสถิตย์อยู่เหนือดอกบัวโดยมาก ไม่ว่าจะประทับนั่งหรือยืน ทั้งนี้ เพราะถือตามฮินดูที่ว่า ดอกบัวมีกำเนิดเป็นทิพย์ พวกเครื่องลางของขลังต่าง ที่ชาวลามะใช้ มักจะมีดอกบัวและกลีบบัวเสมอ เช่น ยันต์ชื่อ “หัวใจลามะ” เป็นยันต์ที่ชาวลามะนับถือมากเป็นยอดเยี่ยมเพราะบรรจุสิ่งที่มีฤทธิ์อำนาจ ยิ่งจากมนต์ลามะ รวมทั้งกลีบบัวที่ลงอักขระ ชาวลามะมีบทสวดอยู่เพียงว่า “โอม มณี ปัทเม หุม”

คุณค่าทางโภชนาการของรากบัวหลวงสุกหรือต้ม (ไม่ใส่เกลือ) ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 66 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 16.02 กรัม
  • น้ำ 81.42 กรัม
  • น้ำตาล 0.5 กรัม
  • เส้นใย 3.1 กรัม
  • ไขมัน 0.07 กรัม
  • โปรตีน 1.58 กรัม
  • วิตามินบี1 0.127 มิลลิกรัม 11%
  • วิตามินบี2 0.01 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี5 0.302 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี6 0.218 มิลลิกรัม 17%
  • วิตามินบี9 8 ไมโครกรัม 2%
  • โคลีน 25.4 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินซี 27.4 มิลลิกรัม 33%
  • ธาตุแคลเซียม 26 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 0.9 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุแมกนีเซียม 22 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแมงกานีส 0.22 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 78 มิลลิกรัม 11%
  • ธาตุโพแทสเซียม 363 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุโซเดียม 45 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุสังกะสี 0.33 มิลลิกรัม 3%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (แหล่งที่มา : USDA Nutrient database)

ดอกบัวกับตำนาน

 


              “บัวสาย”เป็นดอกไม้ประจำชาติอียิปต์ จากภาพเขียนสีและซากโบราณที่ปรักหักพังตามที่ต่างๆ ในประเทศอียิปต์ ทำให้เราทราบว่าเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว ในลุ่มน้ำไนล์มีบัวชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ตามริมน้ำมากมาย ไม่น้อยไปกว่าต้นปาปิรุสเลย ภาพเขียนสีตามผนังหลุมฝังศพที่มีภาพสวนไม้ผล ไม้เถา ไม้ดอก และไม้่น้ำ ในสระน้ำจะต้องมีกกอียิปต์หรือปาปิรุส และปลูกบัวสายสีน้ำเงินเป็นหย่อมๆ ส่วนลายบัวหัวเสาของอาคารโบราณที่ปรักหักพัง ก็เป็นลายจำลองจากดอกบัวสาย ดอกปาปิรุสและใบปาล์ม แต่สองชนิดแรกดูเหมือนจะมากกว่าใบปาล์มศิลปหลายแขนงของอียิปต์โบราณได้รับ แรงบันดาลใจ และถอดแบบลวดลายมาจากกอบัว สายบัว ใบบัว ดอกและกลีบบัว ทั้งนี้ เพราะชาวอียิปต์และเห็นกอบัวและ   ดอกบัวอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน “บัว” จีงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์
               นักปราชญ์ชาวกรีกชื่อ เฮโรโตตุส ผู้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ดอกบัวสายของอียิปต์ชูดอกและใบสลอนในฤดูน้ำยามน้ำเปี่ยมฝั่ง ดอกบัวจะแย้มกลีบในยามฟ้าสาง และหุบกลีบในยามค่ำ การแย้มบานและหุบกลีบของบัวเกิดขึ้นพร้อมกับเวลาขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้ดอกบัวจึงเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ผู้ครองท้องฟ้า ทั้งนี้ เพราะดอกบัวขยายกลีบเบ่งบานเมื่อพระอาทิตย์เริ่มไขแสง ดอกบัวจึงกลายเป็นผู้ไขแสง คือ พระอาทิตย์ ครั้นตกเย็น แสงสว่างเคลื่อนคล้อยกลับลงสู่ดอกบัว บัวก็หุบ และรัตติการเข้ามาแทนที่ชาวอียิปต์โบราณได้สร้างรูปเทพเอมอนขึ้นแทนพระอาทิตย์มีลักษณะเป็นเด็กนั่งอยู่ในดอกบัว แต่มีฤทธิ์มาก ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น รา บางแห่งเรียกว่า โฮรัส

บัวหลวงชมพู


ชื่อไทย : บัวหลวงชมพู
ชื่อสามัญ : sacred lotus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : nelumbo nuuifera gaertn.
ชื่ออื่นๆ : บัวหลวงปทุม , east indian lotus
วงศ์ : nelumbonaceae
สกุล : lotus
ผู้ค้นพบ : เป็นบัวพื้นเมืองของทวีปเอเชีย
ประวัติ : เป็นบัวที่มีอยู่แล้วดังเดิมในทวีปเอเชีย
ถิ่นกำเนิด : ทวีปเอเชีย
ช่วงเวลาบาน : บานกลางวัน (04.00 น. – 14.00 น.)
สี : สีชมพู
กลิ่น : หอมอ่อนๆ
ลักษณะดอก :
ดอกตูม : โคนดอกกว้างปลายเรียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 7 – 9 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน
ดอกบาน
- สีกลีบดอก : สีชมพู
– เกสร : อับเรณูสีขาว ก้านอับเรณูสีเหลือง เกสรเพศเมียสีเหลือง
- ทรงกลีบดอก : โคนและปลายเรียว ตรงกลางกว้าง
- ทรงดอกบาน : แผ่ครึ่งวงกลม, แผ่ค่อนวงกลม
- กลีบดอก : ซ้อน
– ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 20 – 25 เซนติเมตร
ลักษณะก้านใบและก้านดอก : แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร มีหนามสั้นกระจายทั่วทั้งก้านใบและก้านดอก สูงประมาณ 130 – 150 เซนติเมตร
ลักษณะใบ :
- ใบอ่อน : ใบอ่อนที่แผ่ราบบนผิวน้ำ มีลักษณะกลม ปลายและโคนใบเว้าเล็กน้อย หน้าใบสีเขียว หลังใบสีเทาอมชมพู ลักษณะใบไม่จับน้ำ
- ใบแก่ : หน้าใบสีเขียว หลังใบสีเทา
- ขนาดใบ : 30 – 40 เซนติเมตร
วิธีปลูก :
1. การปลูกในสระหรือบ่อ
2. การปลูกในกระถาง
การพักตัวของบัว : ไม่พักตัว
ความกว้างของผิวน้ำ : แคบ, ปานกลาง, กว้าง
ความลึกของน้ำ : ตื้น, ลึกปานกลาง , ลึก
แสง : รับแดด
การขยายพันธุ์ : เมล็ด, เหง้า, ไหล
วิธีดูแลรักษา :
โรคและแมลงศัตรู -
- แมลง : ไรแดง, เพลี้ย และหนอนชอนใบ
- อาการ : ใบเหี่ยวแห้ง เป็นใบกระโถน ใบโปรงฟ้า
การป้องกัน กำจัด : ใช้สารเคมีกลุ่มคาบาริล คาร์โบซัลเฟน เมทโธมิล ผสมน้ำ และสารจับใบฉีดพ่นทุก 2 – 3 สัปดาห์
ประโยชน ์: บัวหลวงชมพู ใช้เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ บูชาพระ อาหาร โอสถสาร สมุนไพร และเป็นของประดับตกแต่ง

บัวหลวงขาว


ชื่อไทย : บัวหลวงขาว
ชื่อสามัญ : hindu lotus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : nelembo nueifera gaerth
ชื่ออื่นๆ : บุณฑริก, ปุณฑริก, แหลมขาว
วงศ์ : nelumbonaceae
สกุล : lotus
ผู้ค้นพบ : เป็นบัวพื้นเมืองของทวีปเอเชีย
ประวัติ : เป็นบัวที่มีอยู่แล้วดังเดิมในทวีปเอเชีย
ถิ่นกำเนิด : ทวีปเอเชีย
ช่วงเวลาบาน : บานกลางวัน (04.00 – 14.00 น.)
สี : สีขาว
กลิ่น : มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ลักษณะดอก :
ดอกตูม : ทรงดอกโคนกว้างปลายเรียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 6 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน
ดอกบาน
- สีกลีบดอก : สีขาว
- เกสร : อับเรณูสีขาว ก้านอับเรณูสีเหลือง เกสรเพศเมียสีเหลือง
- ทรงกลีบดอก : โคนและปลายเรียวตรงกลางกว้าง
- ทรงดอกบาน: แผ่ครึ่งวงกลม, แผ่นค่อนวงกลม
- กลีบดอก : ซ้อน
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 25 – 30 เซนติเมตร
ลักษณะก้านใบและก้านดอก : แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร สีเทาอมเขียวอ่อน มีหนามสั้นแข็งกระจายทั่วทั้งก้านใบ และก้านดอก สูงประมาณ 130 – 150 เซนติเมตร
ลักษณะใบ :
– ใบอ่อน : ใบอ่อนที่แผ่ราบบนผิวน้ำ มีลักษณะกลม ปลายและโคนใบคอดเว้าเล็กน้อย หน้าใบสีเขียวอ่อน หลังใบสีนวลเทา
- ใบแก่ : ใบที่ชูพ้นน้ำแล้ว หน้าใบสีเขียว หลังใบสีนวลอมเทา
- ขนาดใบ : 35 – 45 เซนติเมตร
วิธีปลูก :
1. การปลูกในสระหรือบ่อ
2. การปลูกในกระถาง
การพักตัวของบัว : ไม่พักตัว
ความกว้างของผิวน้ำ : แคบ, ปานกลาง, กว้าง
ความลึกของน้ำ : ตื้น, ลึกปานกลาง , ลึก
แสง : รับแดด
การขยายพันธุ์ : เมล็ด, เหง้า, ไหล

การป้องกันโรค
- แมลง : ไรแดง, เพลี้ย และหนอนชอนใบ
- อาการ : ใบเหี่ยวแห้ง เป็นใบกระโถน ใบโปรงฟ้า
- การป้องกัน กำจัด : ใช้สารเคมีกลุ่มคาบาริล คาร์โบซัลเฟน เมทโธมิล ผสมน้ำ และสารจับใบฉีดพ่นทุก 2 – 3 สัปดาห์

ประโยชน ์: บัวหลวงขาว ใช้เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ บูชาพระ อาหาร โอสถสาร สมุนไพร และเป็นของประดับตกแต่ง

ใบบัวหลวง

               ใบเป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะลอยปริ่มน้ำ ส่วนใบแก่แผ่นใบจะชูขึ้นเหนือน้ำ ลักษณะของใบเป็นรูปเกือบกลมและมีขนาดใหญ่ โดยมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนเป็นนวลเคลือบอยู่ ก้านใบจะติดอยู่ตรงกลางของแผ่นใบ ก้านใบมีลักษณะแข็งและเป็นหนาม หากตัดตามขวางจะเห็นรูอยู่ภายใน และก้านใบจะมีน้ำยาวสีขาว เมื่อหักก้านจะมีสายใยสีขาวๆ สำหรับใบอ่อนจะเป็นสีเทานวล ปลายจะม้วนงอขึ้นเข้าหากันทั้งสองด้าน


ต้นของบัวหลวง

               จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน และเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำลักษณะ ของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง มีความแข็งเล็กน้อย หากตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูปกลมๆ อยู่หลายรู โดยส่วนของไหลจะเป็นส่วนเจริญไปเป็นต้นใหม่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ในระดับน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร และสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดหรือวิธีการแยกไหล
 

สายพันธุ์บัวหลวง



1. บัวพันธุ์ดอกสีชมพู ( บัวแหลมชมพู ) มีชื่อว่า ปทุม ปัทมา โกกระนต หรือ โกกนุต ดอกขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียวสีชมพู กลีบดอกชั้นนอกมี 4-5 กลีบ รูปไข่มีขนาดเล็ดเรียงตัวกัน 2 ชั้น ส่วนกลางของกลีบมีรูปร่างโค้งป่อง ตรงกลางสีชมพูอมเขียว ส่วนกลีบดอกชั้นกลางและชั้นในสีชมพูเข้ม โคนกลีบดอกสีขาวนวล มีประมาณ 13-14 กลีบ เรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น อยู่โดยรอบฐานดอก กลีบชั้นนอกและชั้นในมีสีและรูปร่างคล้ายชั้นกลางแต่เล็กกว่ากลีบในชั้นกลาง
2. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาว ( บัวแหลมขาว ) มีชื่อว่า บุณฑริก หรือ ปุณฑริก ดอกขนาดใหญ่เป็นรูปไข่ ปลายเรียว คล้ายบัวพันธุ์ปทุม ดอกมีสีขาวประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว ส่วนกลีบในชั้นกลางและชั้นในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพูเรื่อๆ รูปร่างของกลีบและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายดอกบัวพันธุ์ปทุม
3. บัวหลวงชมพูซ้อน ( บัวฉัตรชมพู ) มีชื่อว่า สัตตบงกช ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม สีชมพู ประกอบด้วยกลีบนอกเป็นรูปรี มี 4-7 กลีบ กลีบเล็กเรียนซ้อนกันเป็นชั้น 2-3 ชั้น สีเขียวอมชมพู กลีบในสีชมพูตลอด ส่วนโคนกลีบที่ติดกับฐานรองดอกมีสีขาวอมเหลือง กลีบในมีประมาณ 12-16 กลีบ กลีบในชั้นนอกและชั้นในมีขนาดเล็กกว่าชั้นกลาง เป็นรูปไข่ที่มีส่วนกว้างอยู่ด้านบน เกสรตัวผู้ชั้นนอกๆ เป็นหมัน โดยมีก้านชูที่เป็นเกสรตัวผู้ที่เป็นแผ่นบางๆ สีชมพูคล้ายกลีบในแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีอับเรณู แต่ปลายกลีบมีส่วนยื่นออกมาที่มีฐานเรียวเล็ก ส่วนปลายพองใหญ่ มีสีขาวนวล
4. บัวหลวงขาวซ้อน ( บัวฉัตรขาว ) มีชื่อว่า สัตตบุตย์ ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม คล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช ดอกมีสีขาว ประกอบด้วยกลีบดอกสีเขียวอมขาว ส่วนกลีบชั้นในสีขาวตลอด ส่วนรูปทรงและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช