ดอกบัวกับศาสนาพุทธ
บัวเป็นดอกไม้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ขาวพุทธใช้ดอกบัวบูชาพระรัตนตรัยมาแต่โบราณกาล อาจกล่าวได้ว่า บัวเป็นดอกไม้ประจำพระพุทธศาสนา
ในทศชาิติชาดก ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าแต่ชาติปางก่อน ก็มีเรื่องเกี่ยวกับ “บัว” อยู่หลายพระชาติ อาทิ มโหสถชาดก พระภูริทัตต์ชาดก พระเวสสันดรชาดก เป็นต้น
ในพุทธประวัติ กล่าวถึงตอนสุบินนิมิตของพระนางสิริมหามายาว่า มีพระเศวตกุญชรใช้งวงจับดอกบัวหลวงสีขาวพึ่งบานใหม่ส่งกลิ่นนหอมตระหลบ มาทำประทักษิณสามรอบ แล้วจึงเข้าสู่พระครรภ์พระนางสิริมหามายาทางด้านข้าง ในขณะนั้นก็บังเกิดบุพนิมิตขึ้น 32 ประการ ในจำนวนนี้มีเกี่ยวกับ “บัว” อยู่ด้วยหลายประการคือ ปทุมชาติห้าชนิดบังเกิดดารดาษไปในน้ำและบนบกอย่างหนึ่ง มีดอกบัวปทุมชาติผุดงอกขึ้นมาจากแผ่นหินแห่งละเจ็ดดอกอย่างหนึ่ง และต้นพฤกษาลดาชาติทั้งหลายก็บังเกิดดอกปทุมชาติออกตามลำต้นและกิ่งก้านอีก อย่างหนึ่ง
ตอนประสูติ เมื่อเจ้าชายสิตธัตถะประสูติที่สวนลุมพินี ทรงบ่ายพระพักตร์ไปทางทิศอุดรและย่างพระบาทไป 7ก้าว มีดอกบัวขึ้นมารองรับ 7 ดอก ต่อมาเจ้าชายสิตธัตถะเจริญพระชนมายุได้ 7 พรรษา พระราชบิดาโปรดให้ขุดสระโบกขรณีสำหรับพระราชโอรสลงเล่นน้ำ ว่าปลูกอุบลบัวขาวสระหนึ่ง ปลูกปทุมบัวหลวงสระหนึ่ง และปลูกบุณฑริกบัวขาวสระหนึ่ง
เมื่อพระสิตถัตธะออกบวช ทรงกระทำความเีพียรปฏิบัติธรรมจนบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ทรงพิจารณาถึงธรรมะที่ทรงตรัสรู้ว่าเป็นธรรมะอันล้ำลึกอยากที่ชนผู้ยินดี ในกามคุณจะรู้ตามได้ แต่อาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ ทรงพิจารณาทบทวนดูัอัธยาศัยเวไนยสัตว์อีก ก็ทรงทราบว่าผู้มีกิเลสเบาบางอันอาจรู้ตามได้ก็มี จึงเกิดอุปมาเวไนยสัตว์เหมือน “ดอกบัว” ว่า เวไนยสัตว์ย่อมแบ่งออกเป็นสี่เหล่าตามอัธยาศัย คือ
เหล่า 1 ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์กล้าจะพึงสอนให้รู้โดยง่าย อาจรู้ธรรมพิเศษได้ฉับพลัน อันเปรียบเหมือนดอกปทุมชาติที่โผล่พ้นจากพื้นน้ำขึ้นมา แล้วคอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบานในวันนี้
เหล่า 1 ผู้มีกิเลสค่อนข้างน้อย มีอินทรีย์ปานกลาง ได้รับอบรมจนอุปนิสัยแก่กล้าแล้ว ก็สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวซึ่งยังอยู่เสมอพื้นน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้
เหล่า 1 ผู้ที่มีกิเลสยังไม่เบาบาง ก็ยังควรได้รับคำแนะนำในธรรมปฏิบัติไปก่อนจนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า จึงสอนให้รู้ธรรมขั้นสูง ก็จะบรรลุธรรมพิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ คอยเวลาที่จะเลื่อนขึ้นจากน้ำ และบานในวันต่อๆ ไป
เหล่า 1 เป็นผู้ที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบหาอุปนิสัยไม่ได้เลย ไม่สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบังที่จมอยู่ใต้้น้ำ และภักษาของเต่าปลา
พุทธศาสนิกชนแต่โบราณท่านได้นำดอกบัวมาใช้บูชาพระพุทธรูป นำรูปดอกบัวมาใช้กับพระพุทธปฏิมา ทั้งที่เป็นรู้ปั้นรูปหล่อ และรูปเขียน ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน นอน ทั้งนี้ เพราะดอกบัวเป็นที่นับถือกันว่าเป็นดอกไม้บริสุทธิ์สะอาด พุทธศาสนิกชนจึงเปรียบดอกบัวกับพระพุทธเจ้า ธรรมชาติของดอกบัวนั้นแม้จะเป็นของเกิดอยู่ในน้ำ แต่ก็ไม่ติดน้ำ หรือน้ำไม่เปียกบัวอย่างที่เราชอบเปรียบกันว่าน้ำย่อมไม่ค้างบนใบบัว พระพุทธเจ้าทรงอุบัติมาและดำรงพระชนม์ชีพอยู่ได้ท่ามกลางกองกิเลสในโลก คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อันครอบงำอยู่ แต่ว่ากิเลสเหล่านั้นมิได้แปดเปื้อนพระหฤทัยของพระองค์ พระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องจากกิเลสเหล่านั้น เหมือนดอกบัวไม่เปื้อนน้ำ
ดอกบัวนอกจากจะเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าดังได้กล่าวมาแล้วพระโบราณจารย์ ได้เปรียบเทียบดอกบัวกบัพระสงฆ์ กล่าวคือดอกบัวแม้จะเกิดขึ้นตามคูสกปรก ตามกองขยะที่เขาทิ้งทับถมไว้ ตามริมถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่น ก็ยังมีกลิ่นหอมเป็นที่รื่นรมย์ใจ คนย่อมเก็บมาทัดทรงประดับแม้ส่วนสูงของร่างกายโดยปราศจากการรังเกียจถึงสถาน ที่เกิดอันแสนจะปฏิกูลของมันฉันใด พระสงฆ์สาวกของพระพุทธสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะเกิดในตระกูลยากจนเข็ญใจต่ำช้าเลวทรามสักเท่าใดก็ดี เมื่อมาประพฤติปฏิบัติชอบ คนก็ย่อมเลื่อมใสศรัทธาเคารพกราบไหว้ โดยปราศจากความรังเกียจถึงชาติตระกูลฉันนั้น
ในมิลินทปัญหา พระนาคเสนเปรียบเทียบดอกบัวกับผู้ปฏิบัติธรรม โดยกล่าวถึงคุณสมบัติแห่งดอกบัวหลวงว่า ดอกบัวเกิดในน้ำ เติบโตในน้ำ แต่น้ำไม่ติด เปรียบกับผู้ปฏิบัติธรรม ไม่ติดอยู่ในบริโภคทั้งหลาย ตลอดจนไม่ติดอยู่ในกิเลสทั้งมวล
ดอกบัวย่อมผุดพ้นน้ำ ชูดอกอยู่เหนือน้ำ เปรียบเหมือนผู้ปฏิบัติธรรมครอบงำโลกธรรมทั้ง 8 คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ทั้งปวงได้แล้ว ผุดลอยอยู่ในโลกุตตรธรรม ธรรมชาติของดอกบัว แม้ถูกลมมีปริมาณเล็กน้อยพัดถูกต้องแล้ว ก็สะบัดกลีบใบกวัดแกว่งไปมา เหมือนผู้ปฏิบัติธรรม ทำความสำรวมใจไม่ให้ตกไปในแหล่งกิเลสแม้ปริมาณน้อย มีปกติเห็นกิเลสแม้เล็กน้อยว่าเป็นภัยอยู่เสมอ สะดุ้งหวาดหวั่นต่อภัยคือกิเลส
พระนาคเสนเปรียบเทียบพระนิพพานกับดอกบัวว่า ธรรมชาติดของดอกบัว น้ำย่อมไม่ซึมติดอยู่ได้ฉันใด พระนิพพานอันกิเลสทั้งปวงไม่ซึมติดอยู่ได้ฉันนั้น
ในหน้าน้ำเดือน 11 เดือน 12 เป็นระยะเวลาหมดฝน ดินฟ้าอากาศแจ่มใส ทำให้จิตใจผู้คนเบิกบาน งานรื่นเริงของคนไทยแต่โบราณที่เกี่ยวกับ “ดอกบัว”ก็เริ่มขึ้น คือ งานโยนบัว งานลอยกระทง และเทศน์มหาชาิิติ นั้นเอง
ส่วนในลัทธิลามะ ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งในพระพุทธศาสนามหายานแต่แตกแขนงงอกงามอยู่ในประเทศธิเบต นั้น ถือว่าดอกบัวเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่ง อันเป็นต้นเหตุให้ฐานพระพุทธรูปมีกลีบบัวคว่ำและกลีบบัวหงาย บรรดารูปเคารพ เฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธรุป พระโพธิสัตว์ และทวยเทพสำคัญ จะปรากฏว่าสถิตย์อยู่เหนือดอกบัวโดยมาก ไม่ว่าจะประทับนั่งหรือยืน ทั้งนี้ เพราะถือตามฮินดูที่ว่า ดอกบัวมีกำเนิดเป็นทิพย์ พวกเครื่องลางของขลังต่าง ที่ชาวลามะใช้ มักจะมีดอกบัวและกลีบบัวเสมอ เช่น ยันต์ชื่อ “หัวใจลามะ” เป็นยันต์ที่ชาวลามะนับถือมากเป็นยอดเยี่ยมเพราะบรรจุสิ่งที่มีฤทธิ์อำนาจ ยิ่งจากมนต์ลามะ รวมทั้งกลีบบัวที่ลงอักขระ ชาวลามะมีบทสวดอยู่เพียงว่า “โอม มณี ปัทเม หุม”