ใบบัว

ในประเทศจีน “ใบบัว” จัดเป็นสมุนไพรรสขมที่มีการใช้เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกายมาช้านาน โดยจะเลือกเก็บใบบัวที่โตเต็มที่ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง นำมาตากแห้งสำหรับแปรรูปเป็นสารสกัดจากสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการเป็นยาสมาน แผล, ป้องกันไข้, ลดความดันโลหิต, ยาชูกำลัง เป็นต้น การค้นพบของนักวิจัยสมัยใหม่ระบุอีกหนึ่งสรรพคุณที่น่าทึ่งของใบบัวว่ามี ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในการลดน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน สารสกัดสามารถทำงานในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการย่อยอาหาร ลดอาการท้องอืด ช่วยการหลั่งน้ำดี และช่วยในการสลายไขมัน

สรรพคุณที่ลดน้ำหนัก :

ขัดขวางการก่อตัวของเซลล์ไขมันและชั้นไขมัน :

ตามผลการศึกษาล่าสุด ที่จัดทำโดย Ji-Yung Park และ Huan Du นักวิทยาศาสตร์ด้านการโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร แห่งภาควิชาอาหารและการโภชนาการ Inha University, Incheon, Korea in 2010 นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองระบุว่าสารสกัดจาก ใบบัว เมื่อรวมกับ L- carnitine มีผลในการป้องกัน adipogenesis หรือ การก่อตัวของเซลล์ไขมันและชั้นไขมัน การศึกษายังยืนยันอีกว่าใบบัวชะลอ​​การดูดซึมของไขมันและคาร์โบไฮเดรต เพิ่มอัตราการใช้พลังงาน อัตราการเผาผลาญพลังงาน และลดไขมันในเลือด พร้อมระบุบว่า ใบบัว อย่างมีนัยสำคัญในการลดลงของน้ำหนักตัวจากการทดลองดังกล่าว

ลดการดูดซึมไขมันและคาร์โบไฮเดรต :

มีรายงานหลายฉบับระบุว่า สารสกัดจากใบบัว ป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วยการเข้าไปยับยั้งการดูดซึมของไขมันและ คาร์โบไฮเดรต โดยลดการดูดซึมตาร์โบไฮเดรตเข้าสู่กระแสเลือดเกินกว่าความจำเป็นเพื่อไม่ให้ เกิดการสะสมเป็นไขมันส่วนเกินและยังลดการดูดซึมไขมันบริเวณลำไส้ ร่างกายจึงได้รับไขมันน้อยลง นอกจากนี้ใบบัวยังสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน และอัตราการใช้พลังงาน เพิ่มการสลายชั้นไขมันขาว และไตรกลีเซอไรด์อย่างได้ผล

เพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน :

ข้อมูลจากการทดลองเปรียบเทียบการทำงานของใบบัวกับสิ่งมีชีวิต (Nelumbo nucifera-extract solution obtained from Silab, France) ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากใบบัวสามารถลดการสะสมของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างมี นัยสำคัญโดยไม่มีผลกระทบต่อการมีชีวิตของเซลล์ในร่างกายแต่อย่างใด สารสกัดจากใบบัวมีประสิทธิภาพในการสลายไขมันส่วนเกิน โดยทำให้ไขมันแตกตัวนำพาเข้าสู่ระบบการย่อยเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานและนำไป สู่ระบบขับถ่าย ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงการใช้สารสกัดจากใบบัวว่ามี ผลที่ดีต่อการลดน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน

การปลูกบัวในภาชนะ


ดินและการเตรียมดิน
ดินปลูก
ดินปลูกบัวที่เหมาะสมที่สุดต้องดินที่ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง เช่น ดินเหนียว ดินท้องนา ดินท้องร่วงสวนขุดใหม่ ไม่ควรใช้ดินที่มีซากอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายไม่หมดเพราะจะทำให้น้ำเน่า เสียได้
การเตรียมดิน
นำดินเหนียวที่ได้ตากแดดให้แห้งทุบย่อยให้มีขนาดเล็กลง (ดินเหนียวถ้าแห้งจริง ๆ แล้วจะแตกง่าย) เก็บเศษวัชพืช ที่ติดมากับดินออกให้หมด แบ่งดินที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปผสมเพื่อทำเป็นดินปลูกอีกส่วนหนึ่งเป็นดินเปล่า ๆ ไม่ต้องผสมอะไรทำเป็นดินปิดหน้า
สูตรดินผสม
ดิน 10 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ร๊อคพอสเฟท 1 กำมือ/ดิน บุ๋งกี๋
ธาตุอาหารรอง 1 กำมือ/ดิน10 1 บุ๋งกี๋
ปุ๋ยคอกที่ใช้ผสมดินจะเป็นมูลอะไรก็ได้ แต่จะต้องให้แห้งและจะต้องไม่มีวัตถุอื่นเจือปนในกรณีที่ใช้ปุ๋ยคอกเป็นมูล ไก่หรือ มูลค้างคาวให้เพิ่มดินเป็น 15 ส่วน ทั้งนี้เพราะมูลทั้ง 2 ชนิดมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงอาจเป็นโทษต่อบัวได้
วิธีการปลูก
บัวแต่ละชนิดมีวิธีการปลูกต่างกันตามลักษณะของวัสดุปลูกและการเจริญเติบ โตสำหรับการปลูกด้วยวัตถุประสงค์ให้เป็น ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุปลูกคือ ส่วนของพืชที่ขยายพันธุ์ (Vegetative propagation) ได้แก่ หน่อ ไหลที่แตกต้นใหม่ เหง้า บัว และต้นอ่อนที่เกิดจากหัวหรือต้นแม่บัวแต่ละชนิดมีวิธีปลูกดังนี้
ส่วนที่ขยายพันธุ์ปลูกคือไหลที่กำลังจะแตกต้นอ่อน ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลและเนื่องจากการเจริญเติบโตของบัวหลวง สามารถสร้างไหลเจริญตามแนวนอนใต้ผิวดินไปได้ทุกทิศทางและเร็วมาก การปลูกจึงแทบไม่มีกฎเกณฑ์อะไร เพียงแต่ ฝังไหลในจุดที่ต้องการใต้ผิวดิน 8-12 เซนติเมตร กลบอัดดินให้แน่นถ้าไม่มีต้นอ่อนฝังกลบทั้งไหลบัวจะเจริญและแตก ต้นอ่อนขึ้นมาเอง ถ้ามีต้นอ่อนก็ให้ส่วนยอดของต้นที่อ่อนโผล่เหนือดินและไม่ต้องห่วงมากนัก เรื่องที่จะให้พ้นน้ำอยู่ใต้ ผิวน้ำสัก 10-15 เซนติเมตรก็ได้ไหลบัวหลวงที่ผู้เรียบเรียงสั่งมาจากต่างประเทศเป็นไหลแก่ หรือเหง้าไม่มีใบเลย มีแต่ ส่วนข้อและยอดที่จะแตกต้นใหม่ปลูกแช่ในน้ำลึก 30 เซนติเมตร เพียง 3-4 สัปดาห์ก็แตกใบขึ้นพ้นน้ำ
บัวฝรั่ง
วัสดุปลูกส่วนใหญ่จะเป็นเหง้าที่มีหน่องอกต้นแล้วซึ่งจะอยู่ส่วนปลายของหน่อ หรือเหง้า เนื่องจากการเจริญเติบโตตาม แนวนอนริมอ่างใต้ผิวดิน 3-4 เซนติเมตร อัดแน่นในส่วนปลายหันเข้ากลางอ่างอุบลชาติจะเจริญเติบโตและเลื้อย จาก ริมอ่างด้านหนึ่งไปชนริมอ่างอีกด้านหนึ่งและจะชงักการเจริญเติบโตใบเล็กลง ไม่ค่อยออกดอก หักเหง้าส่วนปลายหันกลับ ปลูกใหม่ ให้วิ่งย้อนกลับใช้หลักการเดียวกันกับปลูกโดยตรงในบ่อคอนกรีต พลาสติกหรือบ่อดิน คูคลอง ฯลฯ การปลูก แบบนี้โดยเฉพาะในบ่อกว้างที่ปลูกโดยตรงอุบลชาติจะเจริญแตกหน่อ ขยายเหง้า แผ่ออกไปเหมือนรูปพัด แต่ถ้ามีวัตถุ ประสงค์ที่จะปลูกให้เจริญเป็นกระจุกหรือวงกลมแนะนำให้ปลูกจุดละ 3 เหง้า วางเป็นรูป 3 เหลี่ย หรือ 3 ศร
อุบลชาติจะเจริญและแผ่เป็นรูปวงกลมแต่ถ้ามีพันธุ์น้อย ปลูกเหง้าเดียวแล้วค่อยหักปลายเหง้าที่แตกใหม่เข้าทิศทางที่
บัวผัน บัวเผื่อน บัวสาย และจงกลนี
เจริญเติบโตทางดิ่งจึงปลูกได้โดยตรง ณ จุดที่ต้องการ ถ้าปลูกในอ่างหรือกระถางก็ปลูกตรงกลางด้วยหัวหรือต้นอ่อนฝัง ให้อยู่ใต้ผิวดิน 2-3 เซนติเมตร อัดแน่น
หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปสำหรับอุบลชาติเมื่อเริ่มปลูกคือ ปรับระดับน้ำให้สูงกว่าใบที่เจริญที่สุด 10-15 เซนติเมตร ธรรมชาติ ของอุบลชาติจะรัดและเร่งให้ใบเจริญขึ้นสูงเหนือน้ำภายใน 2-3 วัน
บัวกระด้ง
ปลูกโดยการเพาะเมล็ดในดินในกระถางแช่น้ำ เมื่อต้นโตแตกใบอ่อน 2-3 ใบ ขนาดใบที่ใหญ่ที่สุดยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ย้ายปลูกในกระถางใหญ่ขึ้น ๆ จนโตเต็มที่ในกระถางขนาดปากกว้าง 12 นิ้ว ยกทั้งกระถางลงฝังในบ่อให้ดิน พื้นบ่อกลบโคน 6-10 เซนติเมตร ต่อยกระถางให้แตก รื้อออกกลบดินรอบให้แน่น หรือย้ายปลูกเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไป คือเราะดินให้ยึดรากออกจากกระถางทั้งกระเปาะแล้วฝังปลูกในบ่อหลักที่อาจจะ ใช้เป็นข้อสังเกตว่าบัวจะรอดหรือไม่คือ ดูการขึ้นของขอบกระด้ง ตราบใดที่บัวยังไม่ได้ตั้งตัวได้เต็มที่ใบจะไม่ขึ้นขอบเป็นรูปกระด้งเมื่อไร แสดงว่าคงรอดตายแน่ ถ้าไม่ต้องการที่จะต่อยกระถางให้แตกย้ายปลูกครั้งสุดท้ายลงในกระถางปลูก กล้วยไม้ปากกว้าง 12 นิ้ว ที่มีรูปข้างกระถาง โดยรอบแล้วห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลงห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลง บ่อรื้อพลาสติกที่ห่อออก ปลูก ณ จุดที่ต้องการทั้งกระถางเลย
หลักเกณฑ์ในการบรรจุดินและปลูกบัวในภาชนะปลูก
การบรรจุดิน
ตามปริมาณและความลึกที่บัวแต่ละพันธุ์ต้องการ บรรดุดินผสมปุ๋ยสองในสามส่วนของดินที่จะใช้ปลูกทั้งหมดอัดแน่น ชั้นล่างอีกหนึ่งในสามด้านบนบรรจุดินเหนียวป่นธรรมดา เติมน้ำพอชุ่ม อัดแน่น
การปลูกบัวหลวง-บัวฝรั่ง
เพราะเจริญเติบโตทางนอนจึงควรใช้ภาชนะทรงกว้างปลูกริมภาชนะให้ยอดหันเข้ากลางภาชนะ
ระดับน้ำ
ดินปิด 1/3
ดินผสม 2/3
การปลูกบัวผัน บัวสาย จงกลนี และบัวกระด้ง (ปลูกในภาชนะที่ใหญ่มาก) เจริญเติบโตทางตั้ง (ดิ่ง) จึงควรใช้ภาชนะ ทรงสูงปลูกกลางภาชนะ
ระดับน้ำ
ดินปิด 1/3
ดินผสม 2/3
หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษา
บัวทุกชนิด (หรือต้นไม้ทุกชนิด) ปลูกไม่ยาก สำหรับบัว การดูแลรักษาถ้าปลูกเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านเพียงไม่กี่ต้น เช่น ปลูกภาชนะจำกัดเป็นอ่าง ๆ หรือบ่อเล็ก ๆ ในสวนหย่อมไม่ยากเลย งานเบามาก เด็ก สตรี และคนชราก็ทำเองได้แต่ ถ้าปลูกในบ่อพลาสติกหรือบ่อดินขนาดใหญ่มีบัวเป็นสิบ ๆ ต้น งานดูแลรักษาไม่หนักแต่ใช้เวลามาก
หลักเกณฑ์และวิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่
1. ป้องกันน้ำเสีย
โดยเฉพาะการปลูกในภาชนะจำกัดและขนาดเล็กปริมาณน้ำน้อยบัวก็เหมือนกับปลา ต้องการอากาศหายใจในน้ำถ้าน้ำเสีย อ๊อกซิเย่นไม่มีจะพาลตายได้ง่าย เด็ดใบแก่ดอกโรยทิ้งเสียก่อนจะเน่าในภาชนะหรือบ่อที่ปลูกถ้าไม่จำเป็นไม่ควร แก้ไข โดยการถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำใหม่บ่อย ๆ เพราะจะต้องทำให้บัวต้องปรับตัวเองตามจะเจริญเติบโตช้าแต่ถ้าจำเป็นด้วยเหตุ เช่น มีสัตว์ตายอยู่ใต้ดินปลูก ได้แก่ กิ้งกือ ไส้เดือน หรือคางคกลงไปปล้ำกัดกันตายหรือออกไข่-ออกลูกจนน้ำเน่าเสีย หรือ อินทรีย์วัตถุที่ติดมากับดินปลูกยังเน่าเปื่อยไม่หมดทำให้น้ำเน่า ถ่ายน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วยังไม่หายต้องเปลี่ยนดินปลูกใหม่
2. ปราบตะไคร่น้ำ-สาหร่าย
ตะไคร่น้ำที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยคลุกที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ สาหร่ายอาจติดมากับดินปลูกเก็บทิ้ง ถ้าปลูกไม่กี่ต้น ถ้าปลูกมากแต่ปลูกในภาชนะจำกัดใช้ด่างทับทิมละลายน้ำในภาชนะปลูกเป็นสีบาน เย็นเข้มทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งเก็บตะไคร่สาหร่ายที่ตายออกเติมน้ำใหม่ตามเดิม
3. เก็บคราบน้ำมัน
ไขมันจากกระดูกป่นหรืออินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยไม่หมดและการปลูกที่อัดดิน ไม่แน่น ดินกลบกลบดินผสมเบื้องล่าง ไม่สมบูรณ์ ไขมันจะละลายเป็นฝ้า ถ้าปลูกในอ่างหรือในภาชนะจำกัดใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปะลอยบนผิวน้ำจะช่วยซับ คราบน้ำมันออกถ้าปลูกในบ่อที่มีท่อน้ำล้น ปล่อยน้ำดันให้น้ำผิวหน้าไหลล้นออกทางท่อระบายน้ำ
4. ต้นและรากลอย
เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่สนใจเลิกปลูกบัวไปหลายราย โดยเฉพาะอุบลชาติ เช่น เมื่อปลูกใหม่ ๆ ถ้ากดอัดดินทับไม่แน่น ต้นเหง้าลอย รากดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นไม่ได้สังเกตได้ง่ายที่สุด ไม่โตสักที ใบเล็กลงและใบเหลือง แก่เร็ว แก้โดย การปลูกใหม่ และหาไม้ไผ่อ่อนพับครึ่งคล้ายปากเคียเสียงคร่อนต้นที่ปลูกกันไม่ให้ลอย (ชาวสวนปลูกบัวเรียกตะเกียบ) สำหรับต้นแก่ที่ปลูกไว้นานแล้ว โดยเฉพาะในภาชนะที่จำกัดอุบลชาติประเภทยืนต้นเจริญทางนอนจนไปชนอีกผนังของ อ่างหรือบ่อในหลายกรณีจะหักขึ้นบนเจริญขึ้นไปจนรากลอยตัดเหง้าที่ไม่ต้องการ ทิ้ง ปลูกใหม่
5. ที่ปลูกร้อนเกินไป
บัวทุกชนิดต้องการแดดเต็มที่ จะมีปัญหาถ้าที่ปลูกบัวตื้นน้ำน้อยแดดเผาน้ำจนร้อน สังเกตง่าย ๆ ขนาดน้ำอุ่นพอที่จะอาบได้ สบาย ๆ ก็ถือว่าร้อนแล้วสำหรับบัว บัวต้องการแดดเต็มที่วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ขยับที่ปลูกเสียใหม่ถ้าปลูกในภาชนะ ที่เคลื่อนย้ายได้หรือเปลี่ยนภาชนะที่ปลูกให้น้ำลึกขึ้น หรือถ้าเปลี่ยนอะไรไม่ได้และที่ปลูกได้แดดทั้งวัน ใช้มุ้งลวดหรือ มุ้งพลาสติกกันด้านบนเพื่อลดความเข้ม-ร้อนของแสง
6. ดินจืด
มี 2 สาเหตุ คือ ขาดปุ๋ย หรือขาดดิน (ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด) สังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าบัวใบเล็กลง เหลืองแก่เร็ว ถ้าปลูกใน บ่อดินที่เหลือเฟือก็คือขาดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตรกลาง ๆ ทั่วไป เช่น 10-10-10, 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือปุ๋ยสำหรับบัว โดยเฉพาะถ้าปลูกในภาชนะจำกัดที่สามารถอัดปุ๋ยได้ในการจุ่มมือครั้งเดียว จะใช้ปุ๋ยห่อกระดาษอ่อนที่ใช้เข้าห้องน้ำหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์อัดฝังโคนต้นบัวเลย แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการฝังปุ๋ยทำปุ๋ย ลูกกอนำโดยปั้นดินหุ้มปุ๋ยผึ่งแห้งเตรียมไว้ จะใช้เมื่อไรก็ฝังโคนต้นสำหรับปริมาณใช้เท่าไรขึ้นอยู่กับการสังเกตและศึกษา เองของผู้ปลูก เพราะภาชนะปลูกเล็ก-ใหญ่ ต่างกันปริมาณน้ำปลูกมากน้อยต่างกัน ปลูกในบ่อดิน บ่อคอนกรีต พันธุ์ชนิดบัว ฯลฯ จึงไม่สามารถกำหนดเป็นเกณฑ ์ตายตัวได้ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด อีกสาเหตุคือขาดดิน บัวจะออกรากขยายเหง้า ฯลฯ ดันดินพ้นภาชนะละลายไปอยู่กั น้ำจนในที่สุดแทบจะไม่มีดินเหลืออยู่เลย ราก-เหง้าอัดภาชนะเต็มไปหมด แก้โดยรื้อเปลี่ยนดินปลูกใหม่
7. โรค-แมลงศัตรู
ที่พบเป็นประจำ คือ โรคใบจุดและรากเน่าโรคใบจุดไม่ร้ายแรง เพราะใบบัวมีพื้นที่ปรุงอาหารมากเด็ดใบเป็นโรคทำลาย ทิ้งไป โรครากเน่ามีบ้างร้ายแรงกับบัวกระด้งและอุบลชาติ ประเภทล้มลุกบางพันธุ์ ยังไม่ทราบวิธีแก้ นอกจากนั้น คือ เก็บดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไปปลูกบัวชนิดอื่น หรืออุบลชาติประเภทอื่นแทน แมลงที่สำคัญกินบัว ทุกชนิดคือ เพลี้ยและหนอนบัวหลวงเดือดร้อนมากที่สุด เพราะชูใบขึ้นมาให้เพลี้ยเกาะกินบัวชนิดอื่นถูกทำลายบ้างแต่ ใบลอยน้ำฝนตกน้ำกระเพื่อมก็ช่วยซัดเอาเพลี้ยหลุดลอยไปได้บ้าง (ปกติผู้ปลูกเป็นการค้าจะพ่นน้ำให้ลอยหลุดไป) ป้องกันโดยเด็ดใบที่มีเพลี้ยและหนอนท้ง-ทำลายหนอนพับหนอนพับใบเป็นศัตรูที่ สำคัญของอุบลชาติ เช่นผีเสื้อ กลางคืนจะมาวางไข่บนใบเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงใบจนโตแล้ว กัดใบพับทับตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ฯลฯ ป้องกันกำจัดโดยการบี้ทำลาย บัวหลวงมีศัตรูหนอนมากที่สุดนอกเหนือจากเพลี้ยไฟซึ่งเก่ากินใต้ใบ หนอนกระทู้หนอนชอนใบ โดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบ โกร๋นทั้งต้นซึ่งจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนและในฤดูหนาวซึ่ง เป็นระยะที่บัวชงักการเจริญเติบโตด้วย กสิกรที่ปลูกบัวหลวงเป็นการค้ามักจะตัดใบทิ้ง-ทำลายหมด(ให้หมดเชื้อของหนอน) รอให้ใบแตกใหม่-ออกดอกใหม่ แมลงที่กล่าวทั้งหมดสามารถปราบและควบคุมได้พอสมควรโดยใช้ยาอะโซดริน 60 ผสมน้ำอัตราส่วนน้ำยา 1:100 (1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้เป็นฝอยให้จับหน้าของใบบัวบาง ๆ ใบจะดูดน้ำยาเข้าไว้ เมื่อแมลงและหนอนมาดูดกินน้ำเลี้ยงของใบจะกินยาเข้าไปด้วยและตาย ฉีดพ่นทุก ๆ สัปดาห์จนกว่าจะหมดศัตรูฉีดบาง ๆ จะไม่เป็นอันตรายทั้งกับคนและปลาที่เลี้ยง
8. หอย
ส่วนใหญ่ได้แก่หอยขมและหอยคันเป็นทั้งมิตรและศัตรู หอยโข่งเป็นศัตรูที่จงใจ แต่หอยขมเป็นศัตรูที่ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจ บ้างคือเมื่อตอนเป็นต้นอ่อนจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากรากและใบอ่อนที่เกิดใหม่ ๆ ใต้น้ำ โดยเฉพาะอุบลชาติบัวหลวงไม่ค่อย เดือดร้อนเพราะมีสารที่เรียกว่า ดิวติน เคลือบอยู่ และก้านใบก้านดอกมีหนามเล็ก ๆ (บัวกระด้งหนามเต็มต้นไม่เดือนร้อน เลย) หอยขมและหอยโข่งเมื่อโตขึ้นจะเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบเกาะดูดน้ำ เลี้ยงจากไข่-ตัวหนอน และน้ำเลี้ยง ใบกินระหว่างเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบ ถ้าน้ำกระเพื่อมกระเทือนจะหุบก้าน ปล่อยตัวหลุดจากก้านบัวเมื่อก้านหุบ ก็เลยเหมือนมีดตัดก้านบัวที่ยังอ่อน ๆ ขาดไปด้วยเป็นปัญหาใหญ่ของการปลูกในบ่อดินป้องกันกำจัดโดยการเก็บทิ้งและ ปลูกอุบลชาติเผื่อไว้มาก ๆ จะได้แบ่งเบาการทำลายลงไปได้บ้าง ถ้าปลูกในภาชนะจำกัดเก็บทิ้งง่ายหอยจะเป็นตัวบอกว่า น้ำเสียหรือยังถ้าน้ำเสียหอยจะลอยมาเกาะตามผนังภาชนะ ณ จุดผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจแสดงว่าอ๊อกซิเย่นในน้ำไม่มี น้ำเสียแล้วควรรีบแก้ไข
9. วัชพืช
เป็นปัญหาที่ใหญ่ของการปลูกบัวในบ่อดิน หญ้ามิใช่วัชพืชหลักเพราะเมื่อถอนทิ้งไปแล้วก็หมดไปโดยเฉพาะน้ำมากและ ลึกพอควรที่เป็นปัญหาหลักคือสาหร่ายมี 2-3 ชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายวุ้น สาหร่ายไปและสาหร่ายฝอย สาหร่ายหางกระรอกปราบยากที่สุดเพราะเปาะเมื่อถูกถอนมันจะขาดส่วนที่ขาดจะลอย และไปขยายพันธุ์ต่อที่อื่น สาหร่าย วุ้นยากเป็นที่ 2 เพราะลื่นและหลุดขาดออกจากกันง่ายเช่นเดียวกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายเส้น หรือสาหร่ายฝอย เก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอนหรือเก็บได้ทั้งกระจุกแต่จะร้ายที่สุด เพราะมักจะไปพันบัวเสียจนยอดบัวเจริญ ขึ้นมาได้ ลูกบัวและก้านบัวต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดจากอุบลชาติประเภทล้มลุกทั้งพวกบานกลางวันและบานกลางคืน คือบัวผัน บัวเผื่อน และบัวสายเป็นปัญหามากที่สุดและไม่รู้จักจบสำหรับการปลูกในบ่อดินที่ปลูก อุบลชาติประเภทนี้ ต้อง เก็บกันเป็นประจำทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพราะนอกจากจะทำให้บ่อบัวรกไม่สวยงามแล้ว ยังแย่งแร่ธาตุอาหารจากบัวที่ปลูก อีกด้วย วิธีแก้คือต้องขยันหมั่นเก็บดอกแก่ทิ้งก่อนติดเมล็ดถ้าปลูกบ่อใหม่และคิดว่า จะเก็บไม่ทัน และปลูกหลายบ่อแนะนำ ให้แยกปลูกอุบลชาติประเภทยืนต้นไว้บ่อหนึ่ง ล้มลุกอีกบ่อหนึ่ง เก็บลูกบัววัชพืชเฉพาะบ่อปลูกประเภทล้มลุกบ่อเดียว
10. ฟักตัวในฤดูหนาว
อุบลชาติประเภทยืนต้นหรือบัวฝรั่งหลายพันธุ์ และอุบลชาติประเภทล้มลุกบานกลางวัน หรือบัวผัน บัวเผื่อนที่นำมาจาก ต่างประเทศบางพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตผลิตใบหนา ก้านใบสั้น จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวแก้โดยเพิ่มความร้อนและ แสงให้ หรือโดยการลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน (ประมาณกลางเดือนตุลาคม) โดย ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกอ่างปลูกให้อยู่ใกล้ผิวหน้าของน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว
11. ปลูกบัวพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับสถานที่และภาชนะที่ปลูก
เป็นหัวใจของการดูและรักษาเพราะถ้าชนิดพันธุ์ไม่เหมาะสมแก่สถานที่ที่จะดูแล รักษาอย่างไรก็ไม่โต ในปัจจุบันพันธุ์ ที่มีจำหน่ายผู้ขายและผู้ปลูกควรรู้จักพันธุ์ว่าชนิดใดชอบน้ำตื้นน้ำลึก ที่ปลูกควรกว้างหรือแคบแค่ไหนผู้ผลิตพันธุ์ออกมา จำหน่ายจะต้องบอกได้ว่าบัวพันธุ์นั้น ๆ ต้องการที่ปลูกอย่างไร
12. อย่าให้อดอาหารและอย่าให้กินจนเป็นโรคท้องมาร
ใส่ปุ๋ยบำรุงตามความจำเป็นถ้าใส่มากเกินไปน้ำจะเขียว ปุ๋ยสูตรสมดุล10-10-10, 12-12-12, 15-15-15 หรือ 16-16-16 ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น หรือปั้นเอาดินเหนียวหุ้มปริมาณเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตของผู้ปลูก เพราะผู้ปลูกแต่ละ รายปลูกในภาชนะขนาดแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตถ้าน้ำเขียว ตะไคร่ สาหร่ายขึ้นเร็วแสดงว่าให้ปุ๋ย มากเกินไปควรลดปริมาณหรือความถี่ในการให้ปุ๋ยลง
13. เลี้ยงปลาที่ไม่กินพืช
เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือปลากัด เพราะจะช่วยกินลูกน้ำ
14. อย่าให้บัวขยายพันธุ์จนแน่นในภาชนะเดียวกัน
บัวฝรั่งจะแตกต่าง บัวสาย บัวหลวง จะแตกไหลไปขึ้นต้นใหม่ บัวผันหรือบัวสายเกิดเมล็ดงอกเป็นต้นใหม่แน่นภาชนะ ให้เอาออกเพราะหากแน่นมากไปต้นจะไม่ออกดอก
15. อย่าปลูกบัวหลายพันธุ์ในภาชนะเดียวกัน
ต้นจากพันธุ์ที่แข็งแรงโตเร็วจะเบียดต้นอ่อนแอจนตายไปในที่สุด
16. บัวฝรั่ง บัวหลวง เจริญตามแนวนอน
ถ้าพุ่งชนภาชนะเมื่อไรจะชงักการเจริญเติบโต หักเหง้าหรือไหลให้ยอดหันกลับทางกลางอ่างหรือบ่อ
17. ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว
เพราะจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ครึ่งหนึ่งจะเป็นการดี
18. เปลี่ยนดินปลูกใหม่
ควรเปลี่ยนเมื่อรากแน่นภาชนะที่ปลูกและถ้าปลูกในภาชนะที่จำกัดหรือถ้าปลูกในบ่อและนาน ๆ หลาย ๆ ปี ก็น่าต้องเปลี่ยน หน้าดินเหมือนกัน

การพับดอกบัวแบบสุวรรณี



พับครึ่งตามขวาง
พับปลายกลีบเข้าในโคนดอก





























วิธีการพับดอกบัวแบบดาวกระจาย

จับกลีบออกมา 1 กลีบ

พับไปทางขวา


พับกลับมาทางซ้าย


พับกลับไปทางขวา


พับอย่างนี้ต่อไปทุกกลี





นานาประโยชน์จากบัวหลวง

สรรพคุณ:บัวหลวง

ราก : รสหวานหอม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย บำรุงกำลัง บำรุงเพลิงธาตุ แก้เสมหะ แก้กระหาย ต้มเป็นน้ำแก้กระสายแก้ร้อน แก้อ่อนเพลีย แก้อาเจียน พุพอง และละลายยาแก้สะอึก
เหง้า : รสหวานเย็นมัน บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลงท้อง แก้ไอขับเสมหะ แก้ฝี พุพอง ดีพิการ และแก้อาเจียน ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผล ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์แก้ท้องเสีย ก้านใบ มีฤทธิ์เป็นยาห้ามเลือด

ดอก : รสฝาดหอม สรรพคุณ แก้ไข้ ไข้มีพิษร้อน แก้ธาตุพิการ แก้เสมหะและโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงครรภ์ทำให้ บุตรคลอดง่าย

เกสร : รสฝาดหอมเย็น แก้ไข้ ไข้มีพิษ ไข้รากสาด แก้เสมหะ แก้อ่อนเพลีย แก้คลื่นเหียน เป็นยา บำรุงครรภ์ เกสรตัวผู้รสฝาด สมาน มีกลิ่นหอม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยมีสารฟลาโวนอยต์ ใช้ ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท และชูกำลัง ทำให้ชุ่มชื่น ขัณฑสกรจากเกสร แก้เสมหะ จุกคอ ทำให้ชุ่มคอ บำรุงกำลังและขับปัสสาวะ

ฝัก : รสฝาดหอม แก้ท้องเดิน สมานแผลในมดลูก
เมล็ด : รสหวานมันเย็น บำรุงกำลัง ไขข้อ เส้นเอ็น และบำรุงประสาท ทำให้กระชุมกระชวยแก้ ร้อนใน

ใบอ่อน : รสฝาดเปรี้ยว บำรุงร่างกายให้ชุ่มชื่น

ใบแก่ : รสฝาดเปรี้ยวเมาเล็กน้อย แก้ไข้ บำรุงโลหิต สูบแก้ริดสีดวงจมูก หวัดเรื้อรัง ลดเสมหะลดความดัน โลหิต และไขมันในเส้นเลือด (โคเลสเตอรอล) ใบบัวมีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของหลอดเลือด
     ดีบัว : รสขม ขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้กระหายน้ำ แก้น้ำกามขับเคลื่อนขณะหลับ และแก้อาเจียนเป็น โลหิต

บัวหลวง : บำรุงหัวใจ ขยายหลอดเลือด สารสกัดทำให้ผิวขาว ต้านชรา

    ดอกบัวเป็นดอกไม้ที่คนไทยผูกพันมายาวนาน เพราะเป็นดอกไม้ที่มีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธ เราจึงได้เห็นดอกบัวสะท้อนวิถีชีวิตของคนในแง่มุมต่างๆ มากมาย ที่เจนตาก็คงใช้ไหว้พระ ภาพวาดที่ศิลปินมักจะนิยมวาดกันมาก รวมถึงนำมาใช้เป็นอาหารและยา
    ดอกบัวสายพันธุ์ต่างๆ ล้วนนำมาใช้เป็นยาและอาหารได้  แต่ที่นิยมทำยาคือบัวหลวงแดง บัวหลวงขาว ส่วนที่นำมาใช้ปรุงอาหารคือบัวสาย บัวเป็นไม้น้ำจัดเป็นประเภทไม้ล้มลุกหลายฤดู มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน ผังตัวอยู่ในโคลนเลน ขยายพันธุ์โดยใช้ไหลซึ่งแตกจากเหง้าใต้ดิน เป็นพืชในวงศ์  Nelumbonaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ Nelumbo nucifera มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนและอบอุ่น พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วโลก
    ในตำราเภสัชกรรมไทยได้บันทึกสรรพคุณทางยาของบัวหลวงไว้ คือ กลีบดอกบัว บำรุงร่างกาย ห้ามเลือด มีเส้นใยอาหารสูง ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย ช่วยให้สดชื่นขึ้น   และนิยมนำไปทำเมี่ยงดอกบัว หรือกลีบบัวชุบแป้งทอด หรือยำดอกไม้ นอกจากนี้ ยังใช้มวนบุหรี่สูบ ใบอ่อน รสฝาดเปรี้ยว บำรุงร่างกายให้ชุ่มชื่น
    ใบบัวแก่ รสฝาดเปรี้ยวเมาเล็กน้อย ช่วยแก้ไข้ บำรุงโลหิต สูดกลิ่นแก้ริดสีดวงจมูก / ใช้ใบแก่รับประทานจะช่วยให้มีลมเบ่งในการคลอดบุตร / หรือนำใบมาดื่มติดต่อกันสัก 20   วัน จะช่วยลดความดันโลหิตและลดไขมันในเส้นเลือดลงได้  ดอก รสฝาดหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้ไข้ บำรุงครรภ์ ทำให้คลอดบุตรง่าย แก้ไข้รากสาด และไข้มีพิษร้อน แก้เสมหะและโลหิต เมล็ด รสหวานมัน เย็น ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงไขข้อ บำรุงประสาท เส้นเอ็น ช่วยให้กระชุ่มกระชวย  แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง แก้ดีพิการ แก้อาเจียน แก้อ่อนเพลีย ช่วยเพิ่มพลังงาน และไขมันในร่างกาย  (ผู้ป่วยที่ไอมีเสมหะไม่ควรใช้)
    ดีบัว รสขมจัด สรรพคุณ มีสารประกอบอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดทั่วไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ แก้น้ำกามเคลื่อนขณะหลับ เกสร รสฝาดหอมเย็น (เกสรตัวผู้ มีรสฝาดสมาน มีกลิ่นหอม) ใช้แก้ไข้รากสาด แก้เสมหะ แก้อ่อนเพลีย แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้เป็นยาบำรุงครรภ์ ส่วนเกสรตัวผู้ใช้ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ราก รสหวานเย็นมัน สรรพคุณ บำรุงกำลัง แก้ร้อนใน กระหายน้ำ  แก้เสมหะ แก้ดีพิการ ฝัก รสฝาดหอม แก้ท้องเสีย แก้พิษเห็ดเมา ขับรกให้ออกเร็วขึ้น เปลือกฝัก รสฝาดหอม แก้ท้องเดิน สมานแผลในมดลูก
    ก้านดอก รสเย็นเมา ตากแห้ง สูบแก้ริดสีดวงจมูก ก้านใบ มีฤทธิ์เป็นยาห้ามเลือด หรือทำให้เลือดหยุด เหง้า รสหวานเย็นมัน บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง แก้ดีพิการ แก้อาเจียนใช้เหง้าบัวต้มกับน้ำ ดื่มแก้อาการไอขับเสมหะ ลดอาการอ่อนเพลีย ระงับอาการท้องร่วง ธาตุไม่ปกติในเด็ก
    เหง้าบัว รสหวานเย็นมัน บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง แก้ดีพิการ แก้อาเจียน ใช้เหง้าบัวต้มน้ำดื่ม แก้อาการไอ ขับเสมหะ ลดอาการอ่อนเพลีย ระงับอาการท้องร่วง ธาตุไม่ปกติในเด็ก
    ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์  พบว่า สารสกัดเกสรบัวหลวงด้วยวิธี Nanotechnology จะได้สารสกัดที่มีขนาดเล็กมาก   สามารถแทรกซึมเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังได้ดี มีผลทำให้ชะลอการเจริญของเม็ดสี Melanin และช่วยให้ผิวหนังเต่งตึง เนื่องจากสารสกัดที่ได้ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงยับยั้งการทำงานของ Tyrosinase  enzyme และยังพบ Vitamin A - Palminate ซึ่งจะช่วยให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม ดังนั้นจึงสามารถนำเกสรดอกบัวมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง เช่น ครีมกันแดด  บำรุงผิว ครีมบำรุงหน้ากลางวันและกลางคืนได้
    จากงานวิจัยพบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในคนปกติและในคนที่เป็นเบา หวาน รากบัวสามารถช่วยลดการดูดซึมของกลูโคสและทำให้ไม่ต้องเพิ่มขนาดของอินซูลิน
    มีการศึกษาพบว่า ช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ และทำให้หลับสบาย ฤทธิ์ไม่แรงมากนักมีฤทธิ์อ่อนๆ
    จากการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน พบว่า มีสารอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งการเต้นผิดปกติของหัวใจ ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
    การใช้ประโยชน์
    - ใช้ดอกบัวสด 3-5 ดอก ต้มเอาน้ำดื่มแก้ไข้ โบราณนำดอกบัวที่บูชาพระแล้วนำมาต้มให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มเพื่อบำรุงครรภ์ นอกจากนี้ ดอกบัวสดนิยมใช้ดอกสีขาว นำมาต้มกับน้ำ  ให้ดื่มแต่น้ำติดต่อกันหลายๆ วัน ช่วยให้หายอ่อนเพลีย สดชื่นขึ้น ลดอาการใจสั่น
    - แก้อาการท้องเสีย การนำไปใช้ ใช้ก้านเกสรแห้งประมาณ 3-5 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มวันละ 3-4 ครั้ง/วัน มีรายงานว่า ต้มน้ำใบบัวดื่มติดต่อกัน 20 วัน จะทำให้ความดันโลหิต และไขมันในเส้นเลือด (คอเลสเตอรอล) ลดลงได้
    - ใช้ทั้งต้น แก้พิษจากการรับประทานเห็ดพิษ และพิษจากอาการพิษสุราเรื้อรัง โดยใช้ทั้งต้น ขนาด 10-15 กรัม นำไปต้มรับประทาน.

แกงส้มไหลบัวกุ้งสด

เครื่องปรุง/พริกแกงแบบภาคกลาง
1.ไหลบัวล้างสะอาดหั่นเป็นท่อนๆพอคำ 1 ถ้วย
2.กุ้งสด 1 ขีด
3.พริกแห้ง 8-10 เม็ด
4.หอมแดง 5 หัว
5.กะปิ 2 ช้อนโต๊ะ
6.กระเทียม 10 กลีบ
7.เกลือเล็กน้อย
8.น้ำส้มมะขาม 2 ช้อนโต๊ะ/น้ำมะนาว
9.น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
10.น้ำสะอาดพอประมาณ

พริกแกงส้ม(แกงเหลือง)แบบภาคใต้
หอมแดง กระเทียม พริกแห้ง พริกขี้หนูสด  เกลือ ขมิ้น(ขูดเปลือก) กะปิ
1 – พริกแห้งและพริกขี้หนูสด
2 – กระเทียม
3 – หอมแดง
4 – ขมิ้น (ขูดเปลือก)
5 - เกลือป่น
6 - กะปิ

โขลกส่วนประกอบ 1 - 5 เข้าด้วยกัน จนละเอียด หลังจากนั้นใส่กะปิโขลกลงไปผสมให้เข้ากัน
หรือจะใส่เครืองปั่นก็ได้

วิธีทำ
1. เริ่มจากโขลกพริกแกงเรียบร้อยแล้ว
จากนั้นตั้งน้ำแกงให้เดือด ก่อนใส่เครื่องแกงที่โขลกแล้วลงไป
2. ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำส้มมะขาม และน้ำตาลทราย ให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน
ใส่ไหลบัวที่หั่นเป็นท่อนลงไป ตามด้วยกุ้งสดล้างสะอาดผ่าหลังเรียบร้อย
ทิ้งไว้สักครู่พอเดือด ชิมรสตามใจชอบ ตักใส่ชามพร้อมเสิร์ฟกินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ

เมี่ยงดอกบัวหลวง

          สำหรับส่วนผสมในการทำน้ำเมี่ยง ได้แก่ น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 1 ถ้วย น้ำ ½ ถ้วย น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ ข่าคั่วโขลก 1 ช้อนชา ราผักชีคั่วโขลก 1 ช้อนชา กะปิเผา ¼ ช้อนชา

          โดยนำส่วนผสมดังกล่าวใส่รวมกันแล้วเคี่ยวพอข้นโดยการใช้ไฟอ่อนๆ ขณะที่เคี่ยวนี้เราควรหมั่นคนตลอดเวลา เพื่อป้องกันการไหม้

          ระหว่างนี้เราสามารถเตรียมเครื่องเคียง ซึ่งประกอบไปด้วย ดอกบัวหลวง เกสรบัวหลวง เมล็ดดอกบัวหลวง มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสง กุ้งแห้ง มะนาว ขิง หัวหอมแดง หั่นให้เป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า และ พริก หั่น สำหรับดอกบัวหลวงและเกสรบัวหลวงนั้นเราควรเลือกดอกที่กำลังจะบาน เพราะจะได้กลิ่นหอมอ่อนๆจากกลีบของดอกบัว

           หลังจากที่ได้ดอกบัวหลวงพร้อมเกสรมาแล้วเราควรล้างทำความสะอาดโดยใช้น้ำผสม เกลือเล็กน้อย โดยเด็ดดอกบัวทีละกลีบ เมื่อล้างเสร็จนำมาวางให้สะเด็ดน้ำ นำมาทานพร้อมเครื่องเคียงข้างต้น ก็จะได้ความหอมจากดอกบัวและรสชาติที่กลมกล่อมจากน้ำเมี่ยง พร้อมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่ดี รับรองความอร่อย

ขอขอบคุณ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม หัว หน้าประจำสาขาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยี คหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.) ธัญบุรี ที่ได้คิดค้นเมนูชูสุขภาพเมี่ยงบัวหลวง

การผสมพันธุ์และการขยายพันธุ์

การผสมพันธุ์
ดอกบัวจัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในดอกเดียว กัน เกสรตัวเมียจะบานก่อนเกสรตัวผู้ 1-2 วัน ดังนั้นเกสรตัวเมียจึงมักได้รับการผสมพันธุ์จากเกสรตัวผู้ของดอกอื่น โดยมีลมและแมลงเป็นตัวช่วยในการผสมพันธุ์ แต่การผสมพันธุ์บัวเพื่อให้ได้บัวพันธุ์ใหม่ที่มีสีสวยแปลกออกไปและเพื่อ เป็นการพัฒนาสายพันธุ์จึงมักเป็นการผสมพันธุ์โดยมนุษย์ช่วยผสมพันธุ์ โดยคัดเลือกบัวพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่จะนำมาผสม ก่อนดอกแม่บาน 1-2 วัน ให้ทำการเปิดดอกแล้วใช้กรรไกรขลิบตัดเกสรตัวผู้ออกให้หมดแล้วคลุมดอกด้วยผ้า มุ้งตาถี่ๆ เพื่อกันเกสรตัวผู้จากดอกอื่นที่ไม่ต้องการเข้ามาผสม เมื่อดอกแม่บานให้ขลิบตัดเอาเกสรตัวผู้จากดอกต้นพ่อพันธุ์และควรเป็นดอกที่ บานแล้วประมาณ 2 วัน มาใส่บนเกสรตัวเมียของดอกแม่แล้วคลุมด้วยผ้ามุ้งตามเดิม ดอกแม่เมื่อได้รับการผสมแล้วถ้าผสมไม่ติดดอกจะลอยอยู่ปริ่มน้ำแล้วจะโรยไป ถ้าผสมติดดอกจะเริ่มกลายเป็นฝักโดยดอกจะค่อยๆ จมลงใต้น้ำประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อดอกเจริญเป็นฝักแก่และมีเมล็ดแก่ก็จะลอยขึ้นมาบนผิวน้ำใหม่อีกครั้ง จึงเก็บเอาฝักแก่มาแยกเอาเมล็ดนำไปเพาะเมล็ดต่อไป
การขยายพันธุ์
การแยกเหง้า บัวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวที่มีลำต้นเป็นแบบเหง้าสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วย วิธีแยกหน่อหรือต้นอ่อนจากเหง้าต้นแม่ไปปลูก โดยตัดแยกเหง้าที่มีหน่อหรือต้นอ่อนยาว 5-8 ซม. ตัดรากออกให้หมด ถ้าเป็นต้นอ่อนสามารถนำไปปลูกยังที่ต้องการได้เลย ถ้าเป็นหน่อให้นำไปปลูกในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-25 ซม. ฝังดินให้ลึกประมาณ 3-5 ซม. กดดินให้แน่น เทน้ำให้ท่วมประมาณ 8-10 ซม. ดินที่ใช้ควรเป็นดินเหนียวเพื่อช่วยจับเหง้าไม้ให้ลอยขึ้นเหนือผิวน้ำ เมื่อหน่อเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่จึงย้ายไปปลูกยังที่ต้องการ
การแยกไหล บัวในเขตร้อนโดยเฉพาะบัวหลวงจะสร้างไหลจากหัวหรือเหง้าของต้นแม่แล้วไปงอก เป็นต้นใหม่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีตัดเอาไหลที่มีหน่อหรือปลิดต้นใหม่จากไหลไปปลูก การตัดไหลที่มีหน่อไปปลูกควรตัดให้มีขนาดความยาวประมาณ 2-3 ข้อ และมีตาประมาณ 3 ตา นำไหลที่ตัดฝังดินให้ลึก 3-5 ซม. กดดินให้แน่น ต้นอ่อนจะขึ้นจากตาและเจริญเป็นต้นใหม่ต่อไป
การแยกต้นอ่อนที่เกิดจากใบ บัวในเขตร้อนสกุลบัวสายบางชนิดจะแตกต้นอ่อนบนใบบริเวณกลางใบตรงจุดที่ต่อกับ ก้านใบหรือขั้วใบ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยตัดใบที่มีต้นอ่อนโดยตัดให้มีก้านใบติดอยู่ 5-8 ซม. เสียบก้านลงในภาชนะที่ใช้ปลูกให้ขั้วใบที่มีต้นอ่อนติดกับผิวดิน ใช้อิฐหรือหินทับแผ่นใบไม่ให้ลอย เติมน้ำให้ท่วมยอด 6-10 ซม. ประมาณ 2 สัปดาห์ ต้นอ่อนจะแตกรากยึดติดกับผิวดินและเจริญเติบโตต่อไป
การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมปฏิบัติเนื่องจากยุ่งยากและต้องใช้เวลานาน ยกเว้นบัวกระด้งที่ต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดเท่านั้น นอกจากนี้การเพาะเมล็ดมักนิยมใช้กับเมล็ดบัวที่ได้จากการผสมพันธุ์บัวขึ้นมา ใหม่แล้วเก็บเอาเมล็ดนำมาเพาะ เพื่อสะดวกในการคัดแยกพันธุ์ วิธีการเพาะเมล็ดมีดังนี้ เตรียมดินเหนียวที่ไม่มีรากพืช ใส่ลงในภาชนะปากกว้างที่มีความลึกประมาณ 25-30 ซม. โดยไส่ดินให้สูงอย่างน้อย 10 ซม. ปรับแต่งหน้าดินให้เรียบและแน่น เติมน้ำให้สูงจากหน้าดินประมาณ 7-8 ซม. นำเมล็ดที่จะใช้เพาะโรยกระจายบนผิวน้ำให้ทั่ว เมล็ดจะค่อยๆ จมลงใต้น้ำ สำหรับเมล็ดบัวหลวงและบัวกระด้งเมล็ดมีขนาดใหญ่ ให้กดเมล็ดให้จมลงไปในดินแล้วเติมน้ำให้สูงจากผิวดินประมาณ 15 ซม. นำภาชนะที่เพาะไปไว้ในที่มีแดดรำไร ประมาณ 1 เดือน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อน เมื่อต้นอ่อนแข็งแรงและมีใบประมาณ 2-3 ใบ จึงแยกนำไปปลูกยังที่ต้องการ

5 วิธีการปลูกและการดูแลรักษาบัว

       

                บัวเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวที่มีธาตุอาหารเพียงพอ เช่น ดินท้องร่องสวน ดินทุ่งนาหรืออาจนำดิน มาผสมใหม่ น้ำควรมีอุณหภูมิ 15-30 ํC มีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-8 พื้นที่ผิวน้ำไม่น้อกว่า 1 ตร.ม. (ตารางเมตร) และได้รับแสงแดดไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน
อย่างไรก็ตาม บัวแต่ละชนิดต้องการแสงแดด พื้นที่ผิวน้ำ และความลึกของน้ำแตกต่างกัน ซึ่งสามารถจัด ระดับได้ดังนี้
1. ความต้องการแสงแดด หมายถึง ระยะเวลาที่บัวได้รับแสงแดดแล้วให้ดอกดกที่สุด มี 3 รัดับ คือ
                 แสงแดดเต็มที่ : ในแต่ละวันต้องการแสงแดดติดต่อกันตั้งแต่ 5 ชั่วโมงขึ้นไป 
                 แสงแดดปานกลาง : ในแต่ละวันต้องการแสงแดดในตอนเช้าหรือบ่าย ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 5 ชั่วโมง
                 แสงแดดกึ่งร่มกึ่งแดด : ต้องการแสงแดดบ้างหรือร่มบ้างสลับกับตลอดวัน
 2. พื้นที่ผิวน้ำ หมายถึง ความกว้างของพื้นที่ผิวน้ำ สำหรับการแผ่กระจายของใบและดอก มี 3 ระดับเช่นกัน คือ
                  พื้นที่ผิวน้ำแคบ : 0.1 -1.5 ตร.ม. หรือ กว้าง 30 ซม. ขึ้นไป
                  พื้นที่ผิวน้ำกว้าง : 0.5 – 1 ตร.ม. หรือ กว้าง 50 ซม. ขึ้นไป
                  พื้นที่ผิวน้ำกว้างมาก : ตั้งแต่ 1 ตร.ม. ขึ้นไป
  3. ความลึกของน้ำ หมายถึง ความลึกของผิวดินหน้าของดินปลูกถึงผิวหน้าของน้ำ ในระดับที่เหมาะกับการ เจริญเติบโตของบัว มี 3 ระดับ คือ
                 น้ำตื้น : ความลึกของน้ำ 15-30 ซม.
                 น้ำลึก : ความลึกของน้ำ 30-60 ซม.
                 น้ำลึกมาก : ความลึกของน้ำ 60-120 ซม.
          นอกจากนี้ แต่ละฤดูปริมาณการผลิดอกของบัวก็แตกต่างกัน ในฤดูฝนจะให้ดอกดกที่สุด ส่วนในฤดู หนาวดอกจะออกน้อยลง บัวฝรั่งบางพันธุ์จะมีการพักตัว ผลัดใบทิ้งและไม่ผลิดอกจนถึงฤดูฝนจึงแตกใบและผลิ ดอกอีกครั้งหนึ่ง
     ส่วนการปลูกบัวในภาชนะเพื่อใช้ประดับบริเวณบ้าน ภาชนะปลูกไม่ควรเป็นโลหะ นิยมใช้อ่างหรืออ่าง ดินเผา อ่างเคลือบ หรือถังปูน (ถังส้วม) เส้านผ่าศูนย์กลาง(กว้างหรือยาว) 45-60 ซม. ความลึกไม่ต่ำกว่า 30 ซม. มีพื้นที่ผิวน้ำตั้งแต่ 0.35 ตร.ม. บรรจุดินได้อย่างน้อย 0.027 ลูกบาศก์เมตร และต้องคำนึงถึงพันธุ์บัวที่ใช้ปลูกด้วย ว่า ต้องการน้ำลึกหรือน้ำตื้น

วิธีปลูกบัว   
          –  นำดินใส่ในภาชนะ 2 ใน 3 ส่วน เติมน้ำแล้วเขย่าให้ดินนุ่ม อัดให้แน่น
         -  ถ้าปลูกในบ่อต้องหว่าน ร็อคฟอสเฟต (rock phosphate) 1 กำมือต่อผิวดิน 1 ตร.ม. คลุกให้ทั่ว
        – นำหน่อ หัวหรือเหง้ามาปลูก แล้วกลบด้วย ดินเหนียว อีก 1 ใน 3 ส่วน ให้ยอดโผล่เหนือดิน
           - อัดดินให้แน่นแล้วเติมน้ำให้ท่วมดินเล็กน้อย ควรรักษาระดับ น้ำให้สูงพอดีกับใบที่แผ่อยู่เสมอ

กำเนิดของบัว

แม้เกิดจากโคลนตม แต่ก็สามารถชูก้าน ส่งดอกขึ้นเบ่งบาน งามบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหนือผิวน้ำ บัวจึงถูกยกย่องว่าเป็นของควรบูชา ประกอบกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยที่มีการตั้งถิ่นฐานตามสองฝั่งน้ำมาแต่ โบราณ จึงมีการใช้ประโยชน์จากบัว ทั้งทางด้านอาหาร ยารักษาโรค ตลอดจนได้ชื่นชมความงามของพืชน้ำชนิดนี้ ความผูกพันของคนไทยที่มีต่อบัวยังก่อให้เกิดบทบาทสำคัญต่อการกำเนิดแบบแผน วัฒนธรรมประเพณี ภาษา วรรณกรรมและศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ อีกมากมายของไทย

บัวเป็นดอกไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงใช้ดอกบัวเพื่อบูชาพระ และในพิธีกรรมทางศาสนา บัวจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ ของความบริสุทธิ์และคุณงามความดี

ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต และโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย โดยลักษณะของกระทงถูกประดิษฐ์ให้เป็นทรงรูปดอกบัวบาน

บัวยังนิยมใช้ตั้งเป็นชื่อ เป็นชื่อคน เช่น จงกลนี ปทุมวดี บัวผัน บัวเผื่อน แม้แต่ในวรรณคดีใน “ขุนช้างขุนแผน” ก็มีบัวคลี่ ใน “นิทานเวตาล” ก็มีนางปัทมาวดี เป็นชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล และวัด เช่น จังหวัดปทุมธานี อำเภอปทุมวัน อำเภอปทุมรัตน์ อำเภอลาดบัวหลวง วัดปทุมคงคา วัดสระปทุม ทั้งนี้ก็เนื่องจากอดีตสถานที่แห่งนั้นมีไม้น้ำนี้อยู่มากจนพบเห็นได้ทั่วไป จึงตั้งชื่อให้เป็นนิมิตมงคล

นอกจากนี้ บัวยังเข้ามามีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความเชื่อในการดำเนินชีวิตของคนไทย ตั้งแต่เกิดจนตาย กล่าวคือ เมื่อสตรีไทยตั้งครรภ์ใกล้ถึงกำหนดคลอด ผู้ใหญ่จะจัดหาดอกบัวที่ใช้ในงานบวชมาต้มน้ำให้ดื่ม เพื่อจะให้คลอดบุตรได้ง่ายและปลอดภัย ชายไทยเมื่ออายุครบบวชก็จะเข้าพิธีอุปสมบท โดยใช้ใบบัวเป็นภาชนะรองรับผมที่โกน สำหรับวาระสุดท้ายของชีวิต มักมีการนำดอกบัวใส่มือผู้ตายในท่าพนมมือ เพื่อให้ผู้ตายนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วย