จากตำราไทย เกสรบัวมีสรรพคุณ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง บำรุงครรภ์ แก้ลม แก้ไข้ คุมธาตุจากการวิจัยทางเภสัชวิทยา สารสกัดเกสรดอกบัวหลวงตัวผู้ด้วยน้ำ(ต้ม) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ซึ่งทำให้เกิดโรคท้องร่วงได้สารสกัดเกสรแห้งบัวหลวงด้วยแอลกอฮอล์เอธานอล 95 มีฤทธิ์ต่าน เชื่อ Beta-Streptococcus group A ที่เป็นสาเหตุของโรคหนองฝีชาดอกบัวหลวง (แห้ง) ชงน้ำดื่มมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
กลีบดอกของบัวหลวงที่ปลอดสารพิษตกค้างจากการพ่นยาฆ่าแมลงนั้น ชาวบ้านบางท้องถิ่นนำมามวนยาฉุนสูบแทนบุหรี่เช่นเดียวกับการใช้ใบจากมวนยา สูบ บางรายผสมเกสรบัวกับเกสรดอกลำโพงสูบแก้ริดสีดวงจมูก หรือ บรรเทาอาการปวดโพรงจมูกอันเกิดจากโรงโพรงจมูกอักเสบ หรือ ไซนัส
เมล็ดบัว เมื่อเป็นเมล็ดอ่อน ใช้กินเล่นกรอบหวาน ไส้ในเมล็ดที่เป้นต้นอ่อนสีเขียวนั้น ขณะที่เมล็ดยังอ่อนจะไม่ขม แต่เมื่อแก่จัดมันจะมีรสขมเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนถึงกับขมจัดเมื่อเมล็ดแห้งจึงเรียกกันว่า ดีบัว
ดีบัว มีรสขมจัด มีสรรพคุณเป็นยาเย็น แก้ไข บำรุงตับ บำรุงน้ำดี บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เจริญอาหาร สรรพคุณอื่นๆ คล้ายกับเกสรบัว
ใบบัวทางยานั้น โดยทั่วไปไม่นิยมการดื่ม แต่มีบางแห่งใช้แทรกในตำรับยาต้ม สำหรับใช้อาบรักษาอาการผื่นคัน หรือรักษาโรคที่เกิดจากการระคายผิวหนัง
ด้านคุณค่าทางยานั้น ถือเป็นยารสเย็นหรือยาเย็น รสสุขุม บำรุงธาตุ คุมธาตุ มีคุณค่าทางอาหารในรูปผักใบเขียวครบถ้วน
รากบัว หัวรากบัวเป็นส่วนเหง้าของบัวหลวง ในตำรายาแผนโบราณบอกว่า มีรสหวาน มันเล็กน้อยใช้เป็นยาบำรุงกำลัง แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน แก้อาเจียน
รากบัวถือเป็นอาหารและยาอายุวัฒนะขนานเอกของชาวจีน
สรรพคุณของไหลบัวมีมากมาย ตำรายาไทยบอกว่าบำรุงตับ ไต บำรุงร่างกาย คุมธาตุ ลดไข้ ทำให้สดชื่น บำรุงกำลัง สมานลำไส้ อายุวัฒนะ
คนจีนต้มรากบัวดื่มแต่น้ำโดยถือว่ามีสรรพคุณ “เจียะเลี้ยง” คือกินเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้จิตใจชุ่มชื่น ร่างกายสดชื่น ขับของเสีย บำรุงกระดูก บำรุงเส้นเอ็นและบำรุงร่างกาย
รากบัวเป็นส่วนที่สะสมอาหารของต้นบัว จึงมีธาตุอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและเกลือแร่อยู่พอสมควร มีกากใยอาหารสูง มีแทนนินซึ่งช่วยในการสมานลำไส้ เป็นการคุมธาุตุไปในตัว