เกสรบัวหลวง : Lianxu (莲须)

เกสรบัวหลวง หรือ เหลียนซู คือ เกสรตัวผู้ที่ทำให้แห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. วงศ์ Nymphaeaceae1

แก้ปัญหาผมร่วง

เกสรบัวหลวง (Stamen Nelumbinis)
  • ชื่อไทย: เกสรบัวหลวง, เกสรบัว (ทั่วไป); เกสรสัตตบงกช, เกสรสัตตบุษย์ (ภาคกลาง)2
  • ชื่อจีน: เหลียนซู (จีนกลาง), โหน่ยชิว (จีนแต้จิ๋ว)1
  • ชื่ออังกฤษ: Lotus Stamen1
  • ชื่อเครื่องยา: Stamen Nelumbinis1

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
: เก็บดอกบัวที่บานเต็มที่ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสในฤดูร้อน แยกเอาเฉพาะเกสรตัวผู้ คลุมด้วย กระดาษ ตากแดดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี1

การเตรียมตัวยาพร้อมใช้: นำวัตถุดิบสมุนไพรมาคัดแยกเอาสิ่งปนปลอมออก ร่อนเอาฝุ่นและเศษเล็ก ๆ ออก3,4
คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก: ตัวยาที่มีคุณภาพดี เกสรต้องแห้งและไม่แตกหัก สีเหลืองอ่อน เหนียวนุ่ม มีน้ำหนักเบา3,4
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน: เกสรบัวหลวง มีสรรพคุณแก้อาการฝันเปียก เลือดกำเดาไหล ประจำเดือนมามากกว่าปกติ


คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน
แก้ระดูขาว และแก้อาการท้องเสีย3
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย: เกสรบัวหลวง มีกลิ่นหอม รสฝาด สรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ลม บำรุงครรภ์ และแก้ไข้3

ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
  • การแพทย์แผนจีน ใช้ 3-5 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผงรับประทาน1
  • การ แพทย์แผนไทย ใช้เกสรบัวหลวงสดหรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว(ประมาณ 240 มิลลิลิตร) แช่ทิ้งไว้ 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว หรือใช้เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผง รับประทานครั้งละ 0.5-1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มแก้ลม3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
1. จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากเกสรแห้ง พบว่าค่า LD50 มีค่ามากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง5
2. สารสกัดน้ำจากเกสรบัวหลวงสามารถต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ได้อย่างอ่อน5

เอกสารอ้างอิง
1. The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the People’s Republic of China. Vol.I.English Edition. Beijing: People’s Medical Publishing House, 2005.

2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.

3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.

4. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology Publishing House, 2005.

5. บพิตร กลางกัลยา, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. รายงานผลการศึกษาโครงการการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจาก สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2544.