การจำแนกสายพันธุ์ :
บัว มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีหลายสี หลายชนิดพันธุ์ของบัวซึ่งสามารถจำแนกสายพันธุ์ได้ 2 ประเภทดังนี้- แบ่งประเภทตามถิ่นกำเนิดและการเจริญเติบโตได้2จำพวกคือ
1.2 บัวที่เกิดและเจริญเติบโตในเขตร้อน (Tropical Zones) เช่น ทวีปเอเซียแบ่งเป็น 2 ประเภทคือตอนกลางและตอนใต้ แอฟริกา ออสเตรเลียตอนเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ บัวประเภทนี้กำเนิดและเจริญเติบโตได้ในเขตร้อนเขตเดียว ถ้านำไปปลูกในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว เมื่อเข้าฤดูหนาวผิวหน้าของน้ำเป็นน้ำแข็งทำให้บัวประเภทนี้ต้องตายไป จึงเรียกบัวประเภทนี้ว่า Tropical Type หรือ Tropical Water lily นักพฤกษศาสตร์จัดให้บัวประเภทนี้อยู่ในกลุ่ม Lotus Group หรือ อุบลชาติประเภทล้มลุก
2. แบ่งประเภทตามชนิดของบัวสามารถจำแนกได้ดังนี้
2.1 ปทุมชาติ หรือ บัวหลวง (Lotus) จัดอยู่ในสกุล Nelumbonaceae มีแหล่งกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นบัวใบเดียว ดอกเดียว ออกดอกจากเหง้าใต้ดินบริเวณซอกใบ มีไหลอยู่ใต้ดิน ใบมีขนาดใหญ่ ดอกมีทั้งดอกซ้อนและไม่ซ้อนใบมีทั้งชนิดสีขาว สีชมพู และสีเหลือง ดอกชูขึ้นเหนือน้ำภายในมียางใสและท่ออากาศใหญ่ประมาณ 4-6 ช่อง บริเวณก้านดอกและก้านใบ มีหนามอ่อนๆบริเวณรอบ กลีบเลี้ยง ขนาดเล็ก 4-5 กลับ ลักษณะใบกลมคล้ายจาน มีสีเขียวอมเทา ขอบเรียบมนหนา น้ำไม่เกาะใบ โดยแบ่งเป็น
2.1.1 ปทุมชาติซีกโลกจะวันออก
2.1.2 ปทุมชาติซีกโลกตะวันตก
ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่ 5 พันธ์ ดังนี้
- บุณฑริก
- ปทุม
- บัวหลวงราชินี ( พันธุ์ใหม่ )
- บัวหลวงสัตตบุษย์
- สัตตบงกช
2.2. อุบลชาติ ( Water-lily ) จัดอยู่ในสกุล Nymphaea มีแหล่งกำเหนิดในทวีปเอเซีย มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบลอยแตะผิวน้ำ รูปร่างใบมีหลายแบบ ก้านใบไม่มีหนาม กลีบดอกมีทั้งดอกซ้อน แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.2.1 อุบลชาติยืนต้น ( Hardy water-lily ) มี ถิ่นกำเหนิดในเขตอบอุ่น และเขตหนาว หรือที่เรียกว่า บัวฝรั่ง มีเหง้าเลื้อยไปตามผิวดิน แตกหน่อง่าย ติดเมล็ดยาก พักตัวในฤดูหนาว ขอบใบเรียบ ดอกลอยแตะผิวน้ำหรือชูเหนือน้ำเล็กน้อย ดอกมีหลายสี กลีบดอกซ้อนสวยงามมาก มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะดอกและสีตามที่ผู้พัฒนาพันธุ์คิดขึ้น ได้แก่ บัวฝรั่ง เป็นต้น
2.2.2 อุบลชาติล้มลุก ( Tropical water-lily ) มีถิ่นกำเหนิดในเขตร้อน ไม่พักตัวในฤดูหนาว มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง ดอกมีหลายสี ใบลอยแตะผิวน้ำ ดอกชูขึ้นเหนือผิวน้ำ ขอบใบจักมน หรือ แหลม แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
2.2.2.1 บัวผันและบัวเผื่อน ( บานกลางวัน ) ดอกมีกลิ่นหอมมาก บานตอนเช้าหุบตอนเย็น ก้านและใบไม่มีขน ดอกมีหลายสี ติดเมล็ดง่าย ผสมพันธุ์ข้ามระหว่างสีต่างๆ ได้ง่ายทั้งโดยแมลงในธรรมชาติ และโดยฝีมือมนุษย์ บัวชนิดนี้จึงเกิดสีสันต่างๆ มากมาย เป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก ราคาถูก ขยายพันธุ์ง่าย ดูแลง่าย ดอกก็หอมมาก สามารถหาซื้อได้ตามร้านต้นไม้ทั่วไป ราคากระถางละ 25-50 บาท ( ในกระถางพลาสติก 10″ )
2.2.2.2 บัวสาย ( บานกลางคืน ) เป็นบัวที่ชาวบ้านนิยมเก็บสายบัวมาประกอบอาหาร บานตอนใกล้ค่ำและหุบตอนเช้า บางชนิดไม่หอม บางชนิดหอมอ่อนๆ บัวชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกยาวสามารถขึ้นอยู่ได้ในระดับน้ำลึกๆ ได้ พบเห็นได้ทั่วไปตามหนองบึงและในแหล่งน้ำธรรมชาติตามชนบท แตกกอง่ายและมีหัวอยู่ใต้ดิน ในฤดูแล้งที่น้ำแล้งก็โทรมไปแต่หัวยังฝังอยู่ในดิน เมื่อฤดูฝนมีน้ำมาก็จะแตกใบขึ้นมาใหม่เต็มหนองบึง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนเกิดสีสันและพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีกหลายชนิด และยังจะมีพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ
2.2.2.3 จงกลนี ( บานกลางวัน ) เป็นบัวพันธุ์ใหม่ที่พบในธรรมชาติคาดว่าเกิดจากการแปลงพันธุ์ในธรรมชาติ ใบเหมือนบัวตระกูลบัวผัน บัวเผื่อน แต่ดอกซ้อนเหมือนบัวฝรั่ง มีเหง้าใต้ดิน เหง้าเจริญในแนวดิ่ง ต้นอ่อนจะเกิดจากเหง้าใต้ดินเจริญเติบโตขึ้นมาจากโคนต้นแม่ ใบลอยลอยแตะผิวน้ำ ดอกลอยแตะผิวน้ำเล็กน้อย ก้อนใบก้านดอกยาวและอ่อนควรปลูกในที่ระดับน้ำลึก ดอกบานแล้วบานเลยจะไม่หุบจนกว่าจะโรยไป ประมาณ 3 วัน จงกลนีเป็นบัวที่มีกลีบดอกเยอะแต่สีสันยังไม่สวยและที่กลีบดอกมีสีเขียวดู เปรอะ กลีบดอกเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ
2.2.2.4 บัวยักษ์ ( บานกลางวัน ) เป็นบัวใบใหญ่ แตกกอใหญ่ ใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก กินน้ำลึก จะมีทั้ง สีน้ำเงิน ขาว ชมพู ต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
2.3 บัวกระด้ง หรือ บัววิคตอเรีย ( Royal water-lily, Victoria ) บัวใบใหญ่ยักษ์ ขอบใบยกตัวขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยบนผิวน้ำ ใบ ก้านใบ ก้านดอกมีหนามแหลมอยู่ทั่ว ดอกสีขาว และ สีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมแรง บานตอนกลางคืนและหุบในตอนเช้า เป็นบัวที่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก และมีปัญหากอบัวหลุดลอยขึ้นสู่ผิวน้ำหากระดับน้ำที่ปลูกมีการเปลี่ยนขึ้น อย่างกะทันหัน