โรคและศัตรูพืชของดอกบัว

             -   โรคใบจุด  จะระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่อากาศชื้น มันเกิดกับบัวที่เจริญเติบโตเต็มที่หรือใบแก่ ซึ่งอาการของโรคนี้จะเป็นแผลหรือมีจุดวงกลมสีเหลืองและเมื่อแผลขยายกว้างจะ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งโดยจะมีกลุ่มเชื้อราสีดำเป็นกระจุก สามารถแก้ไขได้โดยการเด็ดใบทิ้งหรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา
             -   โรครากเน่า  มันเกิดกับบัวกลุ่มอุบลชาติและบัวกระด้ง  โดยเกิดจากบริเวณที่ปลูกมีมูลสัตว์ที่ยังเน่าเปื่อยไม่หมดหรือปุ๋ยที่ใช้จับ ตัวกันเป็นก้อนซึ่งโรคนี้จะส่งผลให้หัว  เหง้า  โคนต้น และบัวแคระแกรนและตายลง  สามารถป้องกันได้โดยเมื้อสังเกตเห็นอาการควรรีบนำบัวออกมาตัดส่วนที่เน่า ทิ้งไป เปลี่ยนดินมาปลูกใหม่หรือเก็บต้นดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไป ปลูกบัวชนิดอื่นแทน
            -     เพลี้ย  จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                           เพลี้ยไฟ  เกิดบัวใบบัวที่อ่อน โดยจะทำให้ใบไม่คลี่ซึ่งจะเข้าทำลายที่ด้านหลังใบโดยมีรอยช้ำเป็นสีชมพู เรื่อๆ ต่อมาจะแห้งและดำ  แต่ถ้าเพลี้ยไฟเข้าทำลายที่ดอกและก้านดอกจะทำให้ดอกที่ตูมอยู่เหี่ยวและก้าน แห้งเป็นสีดำก้านดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลและหักง่าย
                           เพลี้ยอ่อน   ลักษณะตัวเล็กๆสีน้ำตาลดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนก้านดอกก้านใบหรือใต้และบน ใบอ่อนทำให้ดอกมีใบขนาดเล็กสีเหลืองซีด แห้งตายได้ในที่สุด
             -     หนอน จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
                           หนอนพับใบ  เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของบัวสกุลอุบลชาติซึ่งสาเหตุจะเกิดจาก สีเสื้อกลางคืนมาวางไข่บนใบ เมื่อฟักตัวเป็นหนอนจะกัดกินและดูดน้ำเลี้ยงไปจนโตและกัดใบให้พับและทับตัว ไปเองเพื่อป้องกันศัตรูเช่น นก เราสามารถกำจัดหนอนชนิดนี้ได้ด้วยบี้ทำลาย
                           หนอนกระทู้  หนอนชอนใบ  เป็นศัตรูที่สำคัญของบัวหลวงรองจากเพลี้ยไฟโดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบโกรนทั้ง ต้นจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาวซึ่งเป็นระยะที่บัวชะงักการเจริญเติบโต ด้วย เราสามารถแก้ไขได้โดยตัดใบทิ้งทำลายหมดเพื่อตัดวงโคจรเชื้อหนอน รอให้แตกใบใหม่และออกดอกใหม่
               -    หอย และ ปู   หอยและปูนั้นเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์กับบัวเพราะถ้าน้ำเสียหอยจะลอยหรือเกาะ ตามผนังภาชนะบริเวณผิวน้ำเพื่อจะหาอากาศหายใจ  แสดงว่าออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอ  แต่หอยประเภท หอยขม  หอยโข่ง  หอยเชอรี่ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและกัดกินใบบัว ซึ่งการกำจัดนั้นเราสามารถทำได้โดยการจับทำลายทิ้งทั้งเป็นตัวอ่อนและไข่หอย การปราบหอยในที่บ่อบัว  คือมั่นเก็บออก แต่ถ้าหากว่าปลูกในภาชนะที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่สะดวกในการเก็บควรจะเลี้ยงปลาช่อนในบ่อเพื่อช่วยกินตัวอ่อนของหอยและปู
              -     วัชพืช   เป็นปัญหา สำคัญมากกับการปลูกบัวในบ่อดิน โดยเฉพาะสาหร่ายหางกระรอกและสาหร่ายวุ้นปราบยากที่สุดเพราะเปราะ เมื่อถูกถอนมันจะขาดง่ายและลื่นส่วนที่ขาดจะลอยไปและงอกต่อที่อื่นได้  ส่วนสาหร่ายฝอยเก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอน หรือเก็บติดมือออกมาได้ทั้งกระจุกแต่มักจะพ้นโคนบัวแน่นจนยอดบัวเจริญขึ้นมา ได้
                     จะเห็นได้ว่าการที่เราจะปลูกบัวนั้นเราต้องมีเวลาที่จะดูแลรักษาบัวเพราะบัว นั้นจะมีโรคต่างๆเกิดขึ้นได้ง่ายหากไม่มีการดูแลรักษาที่ดี เราจะต้องมีการสังเกตบ่อบัวของเราอยู่เสมอเพื่อที่จะคอยระวังโรคต่างๆเพื่อ ให้บัวของเรามีความสวยงามสมบูรณ์แบบนั้นเอง แต่หากเรานั้นต้องที่จะเลี้ยงสัตว์น้ำใน อ่องบัวของเรานั้นเราก็ควรที่จะเลี้ยงสัตว์น้ำที่กินเนื้อเพราะจะได้ช่วย กำจัดศัตรูพืชของบัวได้ เช่น ปลาห่างนกยูง  ปลาปักเป้า  ปลาสอด ปลาหมอสี ปลากระดี่ ปลาซิว ปลากัด ซึ่งเราควรนำมาเลี้ยงเมื่อต้นบัวมีความแข็งแรงโตเต็มที่ หรือมีปริมาณมากพอ