ประวัติดอกบัว
ในปี ๒๔๙๔ นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบซากเรือแคนูยุคหินใหม่ (NEOLITHIC) ลำหนึ่งใกล้ๆ กับกรุงโตเกียว ในเรือลำนั้นมีซากของใบไม้ทับถมอยู่ เมื่อขุดคุ้ยลงไป ได้พบเมล็ดของบัวหลวง ๓ เมล็ด ฝังไว้อย่างดี และยังมีความสมบูรณ์มาก สร้างความฉงนให้นักพฤกษศาสตร์ในอายุของเมล็ดบัวเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนำไปทดสอบ ปรากฏว่ามีอายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี เมื่อความสมบูรณ์ของเมล็ดมีอยู่มาก พอนำมาทดลองเจาะดู เพียง ๔ วัน ความมหัศจรรย์พลันปรากฏขึ้น เมล็ดทั้งสามแตกงอกขึ้นเป็นต้น จากนั้นกล้าอ่อนได้รับความทะนุถนอมอย่างดี ๑๔ เดีอนฝานไป ดอกบัวหลวงจากต้นที่งอกมาจากเมล็ดอันเก่าแก่ได้เบ่งบานสวยงามตระการตา ไม่ผิดแผกจากดอกบัวหลวงที่ขึ้นในปัจจุบัน
บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีความสำคัญยิ่ง โดยถือว่าเป็นราชินีแห่งพื้นน้ำที่มีความงามและประโยชน์นานัปการ นอกจากความสำคัญูทางพฤกษชาติแล้ว บัวหลวงยังมีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งสัญลักษณ์และอามิสบูชา
ในทางพฤกษศาสตร์ บัวหลวงอยู่ในวงศ์ NYMPHAE- ACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า NELUMBO NUCI- FERA GAERIN หรือมีชื่อเรียกว่า SACRED LOTUS มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน ตั้งแต่ดอกที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีกลีบซ้อนกันเล็กน้อย หรีอมีเกสรตัวผู้ที่มีรูปร่างดั่งกลีบซ้อนกันนับร้อย
บัวหลวงมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนและอบอุ่น พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วโลก โดยทั่วไปแล้วดอกบัวหลวงจะมีสีขาวหรือชมพู อาจจะอมส้ม หรืออมมวงบ้าง
กล่าวกันว่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง ออกดอกสีขาว แต่ไม่มีหลักฐานยีนยันแน่นอน บัวหลวงสีขาวมีชื่อเรียกว่า บุณฑริก ส่วนสีชมพูมีนามว่าปทุมปัทมา
หรีอโกกระณต ส่วนพันธุ์ที่มีกลีบพร้อมทั้งมีเกสรดัวผู้บางส่วน ลักษณะคล้ายกลีบนับร้อยสีชมพุอมม่วงเรียกว่า สัตตบงกช หรือบัวฉัตรชมพู ส่วนสีขาวเรียกว่า สัตตบุษย์ หรีอบัวฉัตรขาว นอกจากความงดงามที่ตรึงตาแลัวบัวหลวงยังมีกลิ่นหอมละมุน
มนุษย์ได้รู้จักคุณค่าอันมีประโยชน์และสรรพคุณด้านยาสมุนไพรของบัวหลวงมาช้า นานแล้ว ในการประกอบอาหาร ส่วนของใบนำเป็นภาชนะ และสร้างกลิ่นหอมหวลให้กับอาทาร เช่น ข้าวห่อใบบัว ใบอ่อนรับประทาน เช่นผักชนิดหนึ่งกับเครื่องจิ้ม เมล็ดจากฝักบัวทั้งสดและแห้ง นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน ส่วนรากเทง้านำมาต้มเป็นเครื่องดื่ม
สรรพคุณด้านสมุนไพร เมล็ดบัวบำรุงรักษาประสาทและไต หรือแม้อาการท้องร่วงหรือบิดเรื้อรัง ดีบัวหรือต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม ใช้เป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณ พบว่าตัวยามีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทัวใจ เกสรตัวผู้เมื่อตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยาไทย-จีนหลายชนิด เช่น ยาลม ยาหอม หรือแม้แต่ยานัตถุ์ นอกจากนี้ยังนำมาต้มน้ำดี่ม ก้านใบและก้านดอกนำมาทำยาเเก้ท้องร่วง ส่วนของรากหรือเหง้านำมาต้มน้ำใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ พร้อมทั้งมีสรรพคุณห้ามเลีอด จึงเห็นได้ว่าประโยชน์ทางสมุนไพรของบัวหลวงมีอยู่มาก
นอกจากเป็น สมุนไพรแล้วบัวหลวงยังใช้ประโยชน์ในทางอี่น เช่น กลีบแห้งใช้มวนบุหรี่ในอดีต เรียกว่า บุหรี่กลีบบัว ใบแก่นำมาตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยากันยุง เปลือกบัวนำมาเป็นวัสดุในการปลูกเห็ดชนิดหนึ่งเรียกว่า เห็ดบัว
ในทางแห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัวหลวงมีความสำคัญเกี่ยวข้องอยู่หลายประการกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบปัญญาขาแห่งบุคคลที่สามารถรู้และเข้าใจธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น ๔ จำพวกด้วยกัน ดอกบัว ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับดอกบัวที่ตั้งพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ คือผู้รู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลันตั้งแต่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ดอกบัวประเภทที่ ๒ ดั่งดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันรุ่งขึ้น เฉกผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านได้ขยายความแห่งธรรมะนั้น ประเภทต่อมาคือดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันด่อ ๆ ไป คือผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้เพื่อเข้าใจในธรรมะ ประเภทสุดท้ายคีอ ดอกบัวที่จมอยู่ในน้ำ กลายเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่าคือผู้ที่ได้แค่ตัวบทหรีอถ้อยคำเท่านั้น ไม่อาจจะเข้าใจความหมายรู้ในธรรมะได้
ดอกบัวหลวง สำหรับชาวพุทธถือว่ามีความสำคัญที่เป็นอามิสบูชา เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์
บัวหลวงจึงมีความสาคัญในแง่ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร และความรู้สึกทางจิตใจของมนุษย์มาช้านาน