ความเชื่อเกี่ยวกับดอกบัว

                        บัวมีมาตั้งแต่ สมัยพุทธกาล ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ปรุงยาจากดอกบัว ถวายแด่ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า แก้อาการอ่อนเพลีย ถือว่าดอกบัวเป็น ดอกไม้ประจำศาสนาพุทธ ตามพุทธประวัติพบว่า บัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพาน เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเมื่อ ได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพยาก ต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัวสี่เหล่า
                         คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ แต่บัวที่เรานิยมปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ บัวหลวง บัวผัน บัวฝรั่ง บัวสาย และบัวกระด้ง
                         ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนัก
                         คนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคน   ควรปลูกต้นบัวในวันพุธ เพราะวันพุธนั้น เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ต้นบัวที่ปลูกในวันพุธ จะทำให้บัวผลิดอกบานสะพรั่งงดงามไปทั่วทั้งสระ
                          ผู้ที่เหมาะที่จะปลูกบัวมากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดปีจอ เพราะ ต้นบัวนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีของคนเกิดปีจอ หากผู้ที่เกิดปีจอเป็นผู้ปลูก และมีผู้ที่เกิดปีเดียวกันอาศัยอยู่ภายในบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้นไปอีก (ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีจอ ก็ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ปลูกก็ได้)

6 เคล็ดลับในการปลูกบัว

          1. ชนิดและพันธุ์บัว สำหรับ ความนิยมในประเทศไทย ชนิดของไม้น้ำประเภทบัวอยู่ในวงศ์ (Family) Nymphaeaceae ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดอก-ประดับมี 3 สกุล (Genus) คือ Nymphaea Nelumbo และ Victoria ความรู้หลักของการปลูกในปัจจัยนี้คือ ปลูกด้วยอะไร ชนิดและพันธุ์บัวที่ปลูกเป็นไม้ดอกและประดับ ส่วนใหญ่ เป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งนั้น ยกเว้น “บัวหลวง” และ “บัวกระด้ง” ในประเทศเราจึงปลูกได้ด้วยเมล็ด (seed) ถ้าบัวหลวงเป็นพันธุ์ลูกผสมก็ต้องปลูกด้วยไหล (stolon) บัวประดับอื่น ๆ ได้แก่ บัวผัน บัวสาย ปลูกด้วยหัว (bulb) หรือ ต้นอ่อน หรือ ต้นย่อย (bulbil) ที่แตกจากเหง้าของต้นแม่ บัวนางกวัก และจงกลนี ส่วนใหญ่ปลูกจากหัว ส่วนบัวฝรั่งปลูก จากหน่อ (sprout) หรือ เหง้า (rhyzome) ที่แตกจากต้นแม่
          2. ดิน ถ้า เทียบกับคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องปัจจัยสี่ ดินกับบัวนี่คงเทียบกับอาหารและที่อยู่อาศัย เพราะในดินปลูกบัวเป็นไม้ดอก-ประดับ เราก็ต้องใส่ปุ๋ยเสริม ส่วนการเป็นที่อยู่อาศัยก็เทียบเท่ากับฐานรากของบ้านที่ยึดไม่ให้บ้านล้ม หรือพัง ก็คือต้นบัวฝังรากยึดอยู่ได้ในดินไม่หลุดลอยไปที่อื่น ในบ้านเรา-ประเทศไทยบัวทุกชนิดขึ้นในท้องนา สามัญสำนึกก็คงบอกได้เองเลยว่าต้องเป็นดินเหนียว แต่ถ้าเป็นแหล่งที่ไม่มีดินเหนียว เช่น ในบริเวณที่ราบสูง ก็ควรเป็นดินที่เหนียวที่สุดในบริเวณนั้นคือดินร่วนเหนียว (clayloam) ฝรั่งเมืองนอกเขาใช้คำว่า dirt ในหนังสือหรือ แคตตาล็อคขายบัวหลายเล่ม จากที่อยู่อาศัยก็มาถึงอาหาร ในดินที่ปลูกก็ควรเสริมอาหารให้ เช่น ถ้าปลูกในสระ บ่อดินธรรมชาติ สามัญสำนึกของท้องนาธรรมชาติ อาหารในนาที่ได้คือโปแตสเซียมที่ละลายมากับน้ำที่มาจากป่าเขา จะเห็นได้ว่า การทำนามักจะมีการแนะให้เสริมด้วยปุ๋ย แอมโมฟอส คือปุ๋ยไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปในการทำ-ผสมดินปลูกบัวคือ เสริมปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสให้
          3. บัวเป็นไม้น้ำ ถ้า ไม่มีน้ำก็ปลูกบัวไม่ได้ ก็เป็นส่วนของที่อยู่อาศัยซึ่งมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับชนิดและพันธุ์บัว เกณฑ์ทั่วไปคือต้องมีฤทธิ์เป็นกรดเล็กน้อยหรือเป็นกลาง เหมาะที่สุด ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 6.5-7.5 แต่ในการปลูกจริงๆ โดยเฉพาะในภาชนะจำกัดที่น้ำไม่ถ่ายเท ผู้ปลูกต้องการให้บัวโตเร็วๆ ใส่ปุ๋ยอุตลุต ธาตุไนโตรเจนส่วนเกินจะละลายอยู่ในน้ำที่ปลูก เปลี่ยนสภาพของน้ำเป็นด่าง ค่า pH มักจะสูงกว่า 7.5 ต้องแก้ด้วยการเติม สารเปลี่ยนสภาพให้น้ำเป็นกลาง หรือเสริมด้วยปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง นอกจากความเป็นกรด-ด่างของน้ำแล้ว ที่สัมพันธ์กับชนิดและพันธุ์บัวโดยตรงคือ “ความลึกของน้ำ” บางชนิดบางพันธุ์ต้องการน้ำลึก บางพันธุ์ต้องการน้ำตื้น ประสบการณ์จากการปลูกของนักปลูกบัวไทย แบ่งความลึกของน้ำในการปลูกบัวไว้ 3 ระดับคือ น้ำตื้น (ก) ระหว่าง 15-30 เซนติเมตร น้ำลึกปานกลาง (ข) ระหว่าง 30-60 เซนติเมตร และน้ำลึกมาก (ค) ลึกกว่า 60 เซนติเมตร แต่ไม่ควรเกิน 1 เมตรครึ่ง หรือควรอยู่ระหว่าง 60-120 เซนติเมตร
          4. ลมก็คือลม ใคร คิดว่าไม่สำคัญ ข้อดีของลมคือช่วยลดความร้อนของน้ำ น้ำถูกแดดร้อน ระบาย ความร้อนขึ้นมา ลมก็ช่วยพัดความร้อนออกไปให้ ดอกก็ไม่เหี่ยว ข้อร้ายก็มีคือถ้าลมแรงเกินไป บัวที่ชูดอกพ้นน้ำ เช่น บัวผัน บัวสาย บัวยักษ์ออสเตรเลีย ที่ก้านดอกอ่อน ลมก็จะปัดก้านโน้ม โอนเอียง ขยับไป-มา กระเทือนไปถึงโคน ราก คลอนไป-มาด้วย สังเกตดูเถอะครับ ในทุ่งโล่งๆ จะไม่ค่อยเห็นบัวผันหรือบัวสายที่ชูก้านดอกสูง จะเห็นแต่ บัวหลวงที่ก้านดอกแข็ง เราจะเห็นบัวผัน บัวสายในสระ-บ่อที่ผนังบ่อสูง แต่ในบึงกว้างน้ำค่อนข้างลึก เช่น ในบึงบรเพ็ด นครสวรรค์ หรือ หนองบัวแดงที่พัทลุง จะเห็นแต่บัวหลวงกับบัวสายเท่านั้น ทั้งนี้เพราะบัวหลวงก้านแข็งดังที่กล่าว ข้างต้น ส่วนบัวสาย เนื่องจากขยายพันธุ์ด้วยการแตกไหลขยับออกไปรอบๆ จากต้นเป็นกอ จากกอเป็นกลุ่ม จึงช่วยยึดกันไป-มาอยู่ในดินได้ ลมแรงก็ไม่กลัว
          5. แสงแดดเป็นตัวแทนของไฟคลับ ให้ความร้อน (โดย มีลมช่วยให้เย็น) และแสงให้บัวปรุงอาหาร แยกเป็นสองปัจจัยย่อยในแง่ของการให้ความร้อน-เย็น ก็เชื่อมกับความต้องการของชนิดและพันธุ์บัวอีกนะแหละบัวผัน-เผื่อน บัวสาย จงกลนี และบัวกระด้ง (เฉพาะพันธุ์ที่ปลูกในประเทศเราปัจจุบันคือ Victoria amazonica) และบัวหลวง บ้านเรา ถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ชอบน้ำค่อนข้างร้อน ร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส ก็ยังพออยู่ได้ แต่ถ้าน้ำเย็นกว่า 15 องศาเซลเซียส ไม่ชอบ บัวดังกล่าวจึงควรปลูกในน้ำที่มีอุณภูมิ ณ จุดที่ปลูกระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ส่วน บัวฝรั่งและบัวหลวง (บางพันธุ์) มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตหนาว ความร้อน-เย็นของน้ำ ณ จุดปลูกจึงอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส บัวเป็นพืชที่รับปุ๋ยได้ดีมาก ใช้ปุ๋ย-อาหารค่อนข้างเปลือง แสงแดดเป็นตัวสนับสนุนที่มีอิทธิพลที่สุด ทำให้ปรุงอาหารได้เร็วมาก และก็ใช้มากด้วย สถานที่ที่ปลูกบัว เหมาะในที่ปลูกที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ชั่วโมง จะเป็นแดดเช้าหรือบ่ายก็ได้
          6. ที่อยู่อาศัย คือ ปลูกบัวในภาชนะจำกัดแบบต่างๆ ในบ่อดิน บ่อพลาสติก บ่อคอนกรีต คือที่อยู่อาศัยของบัว ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชนิดและพันธุ์ของบัวที่จะปลูก บัวบางชนิด บางพันธุ์ ปลูกได้เฉพาะในภาชนะจำกัด บางชนิดปลูกได้เฉพาะในสระ-บ่อดิน ลงพื้นดินโดยตรง บางชนิดเหมาะที่จะปลูกในภาชนะและยกลงแช่ในบ่อหรืออ่าง ฯลฯ

ข้าวห่อใบบัว

เครื่องปรุง

 
- ข้าวหุงค่อนข้างสวย 8-10 ทัพพี
- แฮม 100 กรัม
- หมูย่างหั่นบาง ๆ 2 ถ้วยตวง
- กุนเชียงไม่ใส่สีและดินประสิว 2 อัน
- เห็ดหอมแช่น้ำจนนิ่ม 8 ดอก
- ไข่แดงดิบจากไข่เค็ม 4 ลูก
- เม็ดแปะก๊วย(หรือเม็ดบัว) 1 ถ้วยตวง
- น้ำมันงา 2 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
- ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
- ใบบัวปลอดสารพิษ 8-10 ใบ
วิธีทำ  : คลุกข้าวกับน้ำมันงา ซีอิ๊วดำ และซีอิ๊วขาวให้ทั่ว เอาใบบัววางคว่ำลง ตักข้าวที่คลุกไว้ใส่กลางใบบัว เรียงแฮมที่หั่นแล้ว หมูย่าง กุนเชียง เห็ดหอม และเม็ดแปะก๊วยวางบนข้าว เอาไข่แดงจะหั่นครึ่งก็ได้หรือจะใช้ทั้งใบก็แล้วแต่วางลงไปตรงกลาง ห่อใบบัวเป็นสี่เหลี่ยม เอาตอกหรือเชือกกล้วยผูกไว้ นำไปนึ่งในลังถึงนาน 20 นาที
เหตุหมาย : คนไทยภาคกลางอยู่กับน้ำ ในเมื่อใบบัวใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่มก็เอามาห่อข้าวพกไปกินยามเดินทางเพื่อความ ง่ายและสะดวก เหมือนกับคนทางเหนือและอีสานที่เอาไม้ไผ่มาหลามข้าวเป็นข้าวหลามพกพาไปกิน ยามต้องเดินทางไกล สมัยนี้คงจะหาใบบัวที่ปลอดสารพิษมาทำข้าวห่อใบบัวได้ยากเต็มที จึงต้องอนุรักษ์เมนูนี้ไว้  ที่จริงข้าวห่อใบบัวย่อมมีหลายสูตร ใครจะคิดสูตรไหนมาทำก็คงไม่แปลก เคยกินข้าวห่อใบบัวที่ออกมาหน้าตาเหมือนกับบ๊ะจ่างเปี๊ยบเลย ผิดกันก็แต่ใช้ใบบัวห่อแทนใบไผ่เท่านั้น ก็อร่อยดี

ประวัติดอกบัว


                          ในปี ๒๔๙๔ นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ได้ค้นพบซากเรือแคนูยุคหินใหม่ (NEOLITHIC) ลำหนึ่งใกล้ๆ กับกรุงโตเกียว ในเรือลำนั้นมีซากของใบไม้ทับถมอยู่ เมื่อขุดคุ้ยลงไป ได้พบเมล็ดของบัวหลวง ๓ เมล็ด ฝังไว้อย่างดี และยังมีความสมบูรณ์มาก สร้างความฉงนให้นักพฤกษศาสตร์ในอายุของเมล็ดบัวเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนำไปทดสอบ ปรากฏว่ามีอายุมากกว่า ๒,๐๐๐ ปี เมื่อความสมบูรณ์ของเมล็ดมีอยู่มาก พอนำมาทดลองเจาะดู เพียง ๔ วัน ความมหัศจรรย์พลันปรากฏขึ้น เมล็ดทั้งสามแตกงอกขึ้นเป็นต้น จากนั้นกล้าอ่อนได้รับความทะนุถนอมอย่างดี ๑๔ เดีอนฝานไป ดอกบัวหลวงจากต้นที่งอกมาจากเมล็ดอันเก่าแก่ได้เบ่งบานสวยงามตระการตา ไม่ผิดแผกจากดอกบัวหลวงที่ขึ้นในปัจจุบัน
                          บัวหลวงเป็นพืชน้ำที่มีความสำคัญยิ่ง โดยถือว่าเป็นราชินีแห่งพื้นน้ำที่มีความงามและประโยชน์นานัปการ นอกจากความสำคัญูทางพฤกษชาติแล้ว บัวหลวงยังมีความสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา ทั้งสัญลักษณ์และอามิสบูชา
                          ในทางพฤกษศาสตร์ บัวหลวงอยู่ในวงศ์ NYMPHAE- ACEAE มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า NELUMBO NUCI- FERA GAERIN หรือมีชื่อเรียกว่า SACRED LOTUS มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน ตั้งแต่ดอกที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีกลีบซ้อนกันเล็กน้อย หรีอมีเกสรตัวผู้ที่มีรูปร่างดั่งกลีบซ้อนกันนับร้อย
                          บัวหลวงมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนและอบอุ่น พบได้ตามแหล่งน้ำทั่วโลก โดยทั่วไปแล้วดอกบัวหลวงจะมีสีขาวหรือชมพู อาจจะอมส้ม หรืออมมวงบ้าง
                           กล่าวกันว่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง ออกดอกสีขาว แต่ไม่มีหลักฐานยีนยันแน่นอน บัวหลวงสีขาวมีชื่อเรียกว่า บุณฑริก ส่วนสีชมพูมีนามว่าปทุมปัทมา
หรีอโกกระณต ส่วนพันธุ์ที่มีกลีบพร้อมทั้งมีเกสรดัวผู้บางส่วน ลักษณะคล้ายกลีบนับร้อยสีชมพุอมม่วงเรียกว่า สัตตบงกช หรือบัวฉัตรชมพู ส่วนสีขาวเรียกว่า สัตตบุษย์ หรีอบัวฉัตรขาว นอกจากความงดงามที่ตรึงตาแลัวบัวหลวงยังมีกลิ่นหอมละมุน
                           มนุษย์ได้รู้จักคุณค่าอันมีประโยชน์และสรรพคุณด้านยาสมุนไพรของบัวหลวงมาช้า นานแล้ว ในการประกอบอาหาร ส่วนของใบนำเป็นภาชนะ และสร้างกลิ่นหอมหวลให้กับอาทาร เช่น ข้าวห่อใบบัว ใบอ่อนรับประทาน เช่นผักชนิดหนึ่งกับเครื่องจิ้ม เมล็ดจากฝักบัวทั้งสดและแห้ง นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน ส่วนรากเทง้านำมาต้มเป็นเครื่องดื่ม
                           สรรพคุณด้านสมุนไพร เมล็ดบัวบำรุงรักษาประสาทและไต หรือแม้อาการท้องร่วงหรือบิดเรื้อรัง ดีบัวหรือต้นอ่อนที่อยู่ในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม ใช้เป็นส่วนผสมของยาแผนโบราณ พบว่าตัวยามีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อทัวใจ เกสรตัวผู้เมื่อตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยาไทย-จีนหลายชนิด เช่น ยาลม ยาหอม หรือแม้แต่ยานัตถุ์ นอกจากนี้ยังนำมาต้มน้ำดี่ม ก้านใบและก้านดอกนำมาทำยาเเก้ท้องร่วง ส่วนของรากหรือเหง้านำมาต้มน้ำใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ พร้อมทั้งมีสรรพคุณห้ามเลีอด จึงเห็นได้ว่าประโยชน์ทางสมุนไพรของบัวหลวงมีอยู่มาก
                           นอกจากเป็น สมุนไพรแล้วบัวหลวงยังใช้ประโยชน์ในทางอี่น เช่น กลีบแห้งใช้มวนบุหรี่ในอดีต เรียกว่า บุหรี่กลีบบัว ใบแก่นำมาตากแห้งใช้เป็นส่วนผสมของยากันยุง เปลือกบัวนำมาเป็นวัสดุในการปลูกเห็ดชนิดหนึ่งเรียกว่า เห็ดบัว 
                           ในทางแห่งพระพุทธศาสนา ดอกบัวหลวงมีความสำคัญเกี่ยวข้องอยู่หลายประการกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบปัญญาขาแห่งบุคคลที่สามารถรู้และเข้าใจธรรมะ เพื่อความหลุดพ้น ๔ จำพวกด้วยกัน ดอกบัว ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับดอกบัวที่ตั้งพ้นน้ำ รอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานในวันนี้ คือผู้รู้เข้าใจธรรมะได้ฉับพลันตั้งแต่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ดอกบัวประเภทที่ ๒ ดั่งดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ จักบานในวันรุ่งขึ้น เฉกผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านได้ขยายความแห่งธรรมะนั้น ประเภทต่อมาคือดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำยังไม่โผล่พ้นน้ำ จักบานในวันด่อ ๆ ไป คือผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้เพื่อเข้าใจในธรรมะ ประเภทสุดท้ายคีอ ดอกบัวที่จมอยู่ในน้ำ กลายเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่าคือผู้ที่ได้แค่ตัวบทหรีอถ้อยคำเท่านั้น ไม่อาจจะเข้าใจความหมายรู้ในธรรมะได้
                           ดอกบัวหลวง สำหรับชาวพุทธถือว่ามีความสำคัญที่เป็นอามิสบูชา เกี่ยวข้องโดยตรงสำหรับการบูชาพระรัตนตรัย อันได้แก่พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์
                           บัวหลวงจึงมีความสาคัญในแง่ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร และความรู้สึกทางจิตใจของมนุษย์มาช้านาน

ประวัติดอกบัว

                                      

                                  บัว พันธุ์ ไม้น้ำที่ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่องและคุณงามความดีใน พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัว เป็น 4 เหล่าคือ บัวในโคนตม บัวใต้น้ำ บัวปิ่มน้ำ และบัวเหนือน้ำ บัวเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ดูสง่างาม ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม เด่นสะดุดตาสะดุดใจแก่ผู้พบเห็น บางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นชม ด้วยเหตุนี้เองบัวจึงได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งไม้น้ำ”

                                  บัว เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Nymphaeaceae จัดเป็นพืชน้ำล้มลุกที่มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาว จำแนกถิ่นกำเนิดและการเจริญเติบโตได้ 2 จำพวกคือ


                                  1. บัวที่เกิดและเจริญเติบโตในเขตอบอุ่นและเขตหนาว (Subtropical and Temperate Zones) เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ ภาคใต้ของอเมริกาใต้ ตอนเหนือของอินเดีย จีนและออสเตรเลีย บัวประเภทนี้มีเหง้าสะสมอาหารอยู่ในดิน เมื่อถึงฤดูหนาวผิวหน้าของน้ำเป็นแผ่นน้ำแข็ง จะทิ้งใบและอาศัยอาหารในเหง้าเลี้ยงตัวเอง เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิน้ำแข็งละลายหมดก็จะเจริญแตกหน่อต้นใหม่ และจะเจริญเติบโตออกดอกออกผลหมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป เรียกบัวประเภทนี้ว่า Hardy Type หรือ Hardy Waterlily นักพฤกษศาสตร์จัดให้บัวประเภทนี้อยู่ในกลุ่ม Castalia Group หรือ อุบลชาติประเภทยืนต้น
                                  2. บัวที่เกิดและเจริญเติบโตในเขตร้อน (Tropical Zones) เช่น ทวีปเอเซียตอนกลางและตอนใต้ อาฟริกา ออสเตรเลียตอนเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ บัวประเภทนี้กำเนิดและเจริญเติบโตได้ในเขตร้อนเขตเดียว ถ้านำไปปลูกในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว เมื่อเข้าฤดูหนาวผิวหน้าของน้ำเป็นน้ำแข็งทำให้บัวประเภทนี้ต้องตายไป จึงเรียกบัวประเภทนี้ว่า Tropical Type หรือ Tropical Waterlily นักพฤกษศาสตร์จัดให้บัวประเภทนี้อยู่ในกลุ่ม Lotus Group หรือ อุบลชาติประเภทล้มลุก

ลักษณะเฉพาะของบัว


ดอก
เมื่อตูมจะมีลักษณะคล้ายรูปกรวยและเมื่อดอกบัวบานทรงของดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม โดยดอกบัวบางชนิดจะมีกลีบซ้อนกันหลายชั้น

ก้านดอก ก้านใบ
มีสีเขียวหรือน้ำตาลอ่อน มีลักษณะกลม ชูขึ้นเป็นก้านตรงแทงขึ้นมาจากน้ำมีทั้งชนิดขนและไม่มีขน

ใบ
 มีสีเขียวหรือสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะกลมใหญ่ มีทั้งชนิดที่มีขนและไม่มีขน

ชนิดของบัว


1. บัวหลวง
อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะใบชูเหนือน้ำ เจริญเติบโตโดยมี ไหล ชอนไชไปใต้พื้นดิน พันธุ์ของบัวหลวงที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง
2. บัวฝรั่ง
อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะคล้ายบัวหลวง ต้นอ่อน เจริญเติบโตโดยสร้างลำต้น หรือเหง้า เจริญตามแนวนอนใต้ผิวดิน ลักษณะใบมีทั้งขอบเรียบและขอบใบจัก
3. บัวผัน บัวเผื่อน
อยู่ในสกุลอุบลชาติ ต้นที่งอกจากเมล็ดจะเจริญตามแนวดิ่งขึ้นสู่ผิวดิน แล้วแตกก้านใบบนผิวดินดอกชูพ้นน้ำ บานในเวลาเช้าหรือกลางวัน และหุบตอนเย็น เป็นบัวชนิดที่ขยายพันธุ์ได้ช้า
4. บัวสาย
อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีหัวกลมๆ สายขนาดปลายนิ้วก้อย มีขนเล็กน้อย ใบมน ขอบใบจัก ดอกบานกลางคืน และหุบเวลาเช้า
5. บัวจงกลนี
อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง เมื่อเหง้าแก่เต็มที่จะสร้างหัวเล็กๆรอบเหง้า เมื่อหัวแก่จะเจริญเป็นต้นใหม่ขึ้นมาข้างๆต้นแม่
6. บัวกระด้ง หรือบัววิกตอเรีย
ใบมีขนาดใหญ่ กลมคล้ายกระด้ง

ความรู้คู่บัว

บัว พืชเป็นยาและอาหาร
ใบบัวอ่อน
 มีรสฝาดเปรี้ยว ช่วยบำรุงร่างกายให้ชุ่มชื่น
  ใบบัวแก่
รสฝาดเปรี้ยวเมาเล็กน้อย ช่วยแก้ไข้ บำรุงโลหิต สูดกลิ่นแก้ริดสีดวงจมูก/ใช้ใบแก่ รับประทานจะช่วยให้มีลมเบ่งในการคลอดบุตร/หรือนำใบมาดื่มติดต่อกันสัก 20 วัน จะช่วยลดความดันโลหิตและลดไขมันในเส้นเลือดลงได้
  ดอกบัว
 รส ฝาดหอม สรรพคุณบำรุงครรภ์ ช่วยให้คลอดลูกง่าย แก้ไข้รากสาด และไข้ที่มีพิษร้อน แก้เสมหะและโลหิต บำรุงหัวใจ ใช้ดอกบัวสีขาวสดต้มดื่มติดต่อกันหลายวัน จะช่วยให้หายอ่อนเพลีย สดชื่นลดอาการใจสั่น
เกสร
รสฝาดหอมเย็น(เกสรตัวผู้ มีรสฝาดสมาน มีกลิ่นหอม) ใช้แก้ไข้รากสาด แก้เสมหะ แก้อ่อนเพลีย แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้เป็นยาบำรุงครรภ์ ส่วนเกสรตัวผู้ใช้ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท
เปลือกฝัก
 รสฝาดหอม ใช้แก้ท้องเดิน สมานแผลในมดลูก
 ฝักบัว
 มีรสฝาดหอม แก้ท้องเสีย แก้พิษเห็ดเมา ช่วยขับรกของสตรีคลอดบุตรให้ออกเร็วยิ่งขึ้น
 เปลือกหุ้มเมล็ด
รสฝาด แก้ท้องร่วง สมานแผล

  เมล็ด
รสหวานมัน เย็น ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงไขข้อ บำรุงประสาท เส้นเอ็น ช่วยให้กระชุ่มกระชวย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง แก้ดีพิการ แก้อาเจียน แก้อ่อนเพลีย ช่วยเพิ่มพลังงาน และไขมันในร่างกาย(ผู้ป่วยที่ไอมีเสมหะไม่ควรใช้)
 ดีบัว
 รสขม ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้กระหายน้ำ
ก้านดอก
 รสเย็นเมา ใช้ตากแห้ง สูดแก้ริดสีดวงจมูก
ก้านใบ
 มีฤทธิ์เป็นยาห้ามเลือดรากบัว ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงเพลิงธาตุ แก้เสมหะ แก้กระหาย ต้มเป็นกระสายแก้ร้อน แก้อ่อนเพลีย แก้อาเจียน แก้พุพอง
  เหง้าบัว
 รส หวานเย็นมัน บำรุงกำลัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เสมหะ แก้พุพอง แก้ดีพิการ แก้อาเจียน ใช้เหง้าบัวต้มน้ำดื่ม แก้อาการไอ ขับเสมหะ ลดอาการอ่อนเพลีย ระงับอาการท้องร่วง ธาตุไม่ปกติในเด็ก
  ทั้งต้น
ให้ถอนพิษจากการรับประทานเห็ดพิษ และพิษจากการดื่มสุราเรื้อรัง โดยใช้ทั้งต้นขนาด 10-15 กรัม นำไปต้มดื่ม
นอกจากเฉพาะส่วนต่าง ๆ ของบัวหลวงที่กล่าวมาแล้วบัวอื่น ๆ ก็มีประโยชน์ทางยาอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มากเท่าบัวหลวง และนอกจากจะนำมาใช้แบบเดี่ยว ๆ ในแต่ละส่วนแล้ว บัวยังนำไปใช้เข้ายาร่วมกับยาอื่น ๆ เป็นยาตำรับอีกด้วย ที่พบก็ได้แก่
พิกัดเกสรทั้ง 5 เกสรทั้ง 7 เกสรทั้ง 9
เกสรทั้ง 5 หมายถึง  เกสรบัวหลวง ดอกมะลิ ดอกพิกุล บุนนาค สารภี
เกสรทั้ง 7 หมายถึง  เกสรบัวหลวง ดอกมะลิ ดอกพิกุล บุนนาค สารภี ดอกกระดังงา ดอกจำปา
เกสรทั้ง 9 หมายถึง  เกสรบัวหลวง ดอกมะลิ ดอกพิกุล บุนนาค สารภี ดอกกระดังงา ดอกจำปา ดอกลำเจียก ดอกลำดวน
ตัวยาทั้งหมดมีรสหอมเย็น มีสรรพคุณรวมในการช่วยบำรุงหัวใจ ใช้ปรุงประกอบในยาหอม จะช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น แก้ลมวิงเวียน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร
พิกัดบัวทั้ง 5 หมายถึง  บัวสัตตบุษย์  บัวสัตตบรรณ บัวลินจง บัวจงกลนี และบัวนิลุบล
พิกัดบัวทั้ง 5 จะมีรสฝาดหอมเย็น สรรพคุณรวมเป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยชูกำลัง แก้ลมพานไส้ แก้อุจจาระธาตุ แก้ไข้เพื่อลมและโลหิต แก้ไข้รากสาด
พิกัดบัวพิเศษ 6 อย่าง ประกอบด้วย บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน และบัวขม
พิกัดบัวทั้ง 6 นี้ มีรสฝาดเย็น สรรพคุณรวมกันในการชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมพานไส้ แก้อุจจาระธาตุ แก้ไข้ แก้โลหิต แก้ไข้รากสาด แก้ไข้อันบังเกิดเพื่อธาตุทั้ง 4(ดิน น้ำ ลม ไฟ) แก้เสมหะ และโลหิต แก้ร้อนในกระหายน้ำ
จะเห็นว่าบัวนำมาใช้ประโยชน์ทางยาได้มาก มาย และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นด้วย นอกจากความสำคัญทางด้านยาแล้ว บัวยังนำมาประกอบอาหารและใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้หลายอย่าง เช่น
-         อาหารคาว ได้แก่  แกงสายบัว ผัดสายบัว แกงส้มสายบัว
-         อาหารหวาน ได้แก่  ขนมหม้อแกง เต้าทึง ขนมสายบัว
-         ใบบัว นำมาห่อข้าวใช้แทนใบตอง
นอกจากนี้บัวยังเป็นสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา ถือเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวแทนแห่งความบริสุทธิ์และความเบิกบาน มีคำสอนเกี่ยวกับดอกบัว เช่น
-         อย่าเห็นกงจักรเป็นดอกบัว หมายถึง  อย่าเห็นความชั่วร้ายเป็นความดี
-         บัวสี่เหล่า คือ  การเปรียบเทียบสติปัญญาของคนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ บัวพ้นน้ำ บัวปริ่มน้ำ บัวใต้น้ำ บัวใต้ตม
-         หรือในคำสวดมนต์ได้กล่าวไว้ว่า หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว…” เป็นต้น
-         หรือเมื่อพระพุทธเจ้าประสูติก็สามารถเดินได้ 7 ก้าว แต่ละก้าวก็จะมีดอกบัวมารองรับพระบาทไว้ จึงพบว่าดอกบัวอยู่คู่กับศาสนาพุทธมาช้านาน
ถ้าท่านมีโอกาสหรือสนใจศึกษาเรื่องบัว แล้วจะพบว่าบัวเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง หรือใช้เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายแสดงความดี ใช้เป็นคำสอนเปรียบเทียบก็ไม่ใช่น้อย แต่สรุปแล้วคือว่าดอกบัวให้คุณมากกว่าให้โทษ และทุกวันนี้ก็หาดอกบัวทำยากันยากมากขึ้น ซึ่งก็น่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำนาบัวกันเพิ่มขึ้น แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นนาบัวที่ไม่ใช้สารเคมี เพราะไม่เช่นนั้นแล้วทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคเองก็ต้องตายมากกว่าจะได้ใช้ ประโยชน์จากบัวแน่นอน
  ปัจจัยสำคัญในการปลูกบัว
    1. ผู้ปลูก เป็นปัจจัยสำคัญมากเนื่องจากบัวเป็นพืชที่โตเร็วและถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยน การเจริญเติบโตจะเปลี่ยนเร็วมาก ดังนั้นผู้ปลูกต้องหมั่นดูแลต้นบัวอยู่เสมอ
    2. ดินปลูก ต้องเป็นดินที่มีธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง เช่น ดินเหนียวท้องนา ดินเหนียวท้องร่องสวนขุดใหม่ ไม่ควรใช้ดินที่มีซากอินทรียวัตถุที่ยังย่อยสลายไม่หมด เพราะจะทำให้น้ำเน่าเสียได้
    3. น้ำ ต้องสะอาด ไม่มีวัชพืชติดมากับน้ำ มีคว่มเป็นกรด-ด่าง (PH) 5.5-8.0 อุณหภูมิของน้ำที่ปลูกได้ 15-35 องศาเซลเซียส ระดับที่เหมาะสมคือ 20-30 องศาเซลเซียสไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส
    4. แสงแดด ควรปลูกในบริเวณที่ได้รับแสงแดดไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงในแต่ละวัน
    5. ลม ไม่ควรมีลมโกรกมาก เพราะอาจทำให้กลีบบัวบางพันธุ์ช้ำและเหี่ยวเร็วขึ้น
    6. ฤดูกาล บัวเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตให้ดอกได้ตลอดปี แต่มีบางพันธุ์ที่พักตัวในฤดูหนาว หรือในฤดูแล้งเมื่อน้ำในหนองบึงแห้ง ใบจะร่วงและฝังหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดินจนกว่าสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่นในฤดูฝน เมื่อมีน้ำมาจึงแตกใบใหม่เจริญต่อไป

เครื่องดื่มจากบัว



น้ำรากบัวปั่นส่วนผสม

รากบัว 1/2 กิโลกรัม
น้ำ
6
ถ้วย
น้ำตาลทราย
1 1/4 ถ้วย


วิธีทำ
     ล้าง รากบัวเอาดินออกให้หมด เอามีดขูดผิวออกให้สะอาดแล้วล้างน้ำหั่นเป็นแว่น ๆ ใส่หม้อเติมน้ำ ตั้งไฟต้มพอเดือดหรี่ไฟกลาง ต้มต่อไปประมาณ 20 นาที ใส่น้ำตาลคนให้ละลาย พักไว้ให้เย็น ตักน้ำรากบัวและรากบัวไปปั่นกับน้ำแข็งทุบ ประดับปากแก้วด้วยรากบัวต้ม 1 แว่น

อาหารหวานจากบัว


นมตุ๋นไข่ขาวน้ำขิง
ส่วนผสม
  1. ไข่ไก่ (ส่วนไข่ขาว) 4 ฟอง
  2. นมจืด 3/4 ถ้วย
  3. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ (ทำนมตุ๋น)
  4. แปะก๊วยต้มสุก 1/2 ถ้วย
  5. รากบัวหั่นแว่นต้มสุก 8 ชิ้น
  6. ขิงแก่หั่นแว่น 1/2 ถ้วย
  7. น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย (ทำน้ำขิง)
  8. น้ำเปล่าสำหรับต้มขิง 5 ถ้วย
วิธีทำ
  1. เทน้ำใส่ลังถึง ยกขึ้นตั้งไฟจนเดือด หรี่ไฟอ่อน
  2. ทำนมตุ๋นโดยการ นำนม ใส่ไข่ขาว น้ำตาล ใช้ตระกร้อมือคนไปทิศทางเดียวกันเบาๆ จนน้ำตาลละลาย ใส่นมตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันดี แล้วกรองด้วยกระชอนตาถี่ 2–3 ครั้ง เทใส่ถ้วยประมาณ 1/2 ถ้วย แล้วนำไปนึ่งจนสุก (ประมาณ 15 นาที)
  3. ระหว่างตุ๋นนม ให้ทำน้ำขิงโดยใส่น้ำ และขิงลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งไฟต้มประมาณ 12 นาที เติมน้ำตาล แปะก๊วย รากบัว ต้มจนเดือดจึงปิดไฟ
  4.   ตักน้ำขิง แปะก๊วย และรากบัวใส่ลงในถ้วยนมตุ๋น เสริฟขณะร้อนๆ

อาหารคาวจากบัว


รากบัวต้มซี่โครงหมู
ส่วนผสม
รากบัว 1 ราก
ซี่โครงหมู 300
กรัม
กุ้งกุลาดำ 100
กรัม
เห็ดหูหนูขาวแช่น้ำให้นิ่มหั่นชิ้นพอคำ 1/2
ถ้วย
ผักชีซอย 1/2
ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2-3
ช้อนโต๊ะ
น้ำ 3-4 ถ้วย

วิธีทำ
ปอกเปลือกรากบัว ล้างให้สะอาด หั่นเฉียง ล้างซี่โครงหมู สับเป็นท่อน ล้างกุ้ง ปอกเปลือกไว้หาง ผ่าหางชักเส้นดำออก
ใส่น้ำลงหม้อ ตั้งไฟให้เดือด ใส่ซี่โครงหมู ต้มสักครู่ ใส่รากบัว สักครู่ใส่เห็ดหูหนูขาว กุ้ง น้ำปลา เดือดสักพัก ชิมรส
ตักใส่ชาม โรยผักชี เสิร์ฟ

6 เคล็ดลับในการปลูกบัว

          1. ชนิดและพันธุ์บัว สำหรับ ความนิยมในประเทศไทย ชนิดของไม้น้ำประเภทบัวอยู่ในวงศ์ (Family) Nymphaeaceae ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดอก-ประดับมี 3 สกุล (Genus) คือ Nymphaea Nelumbo และ Victoria ความรู้หลักของการปลูกในปัจจัยนี้คือ ปลูกด้วยอะไร ชนิดและพันธุ์บัวที่ปลูกเป็นไม้ดอกและประดับ ส่วนใหญ่ เป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งนั้น ยกเว้น “บัวหลวง” และ “บัวกระด้ง” ในประเทศเราจึงปลูกได้ด้วยเมล็ด (seed) ถ้าบัวหลวงเป็นพันธุ์ลูกผสมก็ต้องปลูกด้วยไหล (stolon) บัวประดับอื่น ๆ ได้แก่ บัวผัน บัวสาย ปลูกด้วยหัว (bulb) หรือ ต้นอ่อน หรือ ต้นย่อย (bulbil) ที่แตกจากเหง้าของต้นแม่ บัวนางกวัก และจงกลนี ส่วนใหญ่ปลูกจากหัว ส่วนบัวฝรั่งปลูก จากหน่อ (sprout) หรือ เหง้า (rhyzome) ที่แตกจากต้นแม่
          2. ดิน ถ้า เทียบกับคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องปัจจัยสี่ ดินกับบัวนี่คงเทียบกับอาหารและที่อยู่อาศัย เพราะในดินปลูกบัวเป็นไม้ดอก-ประดับ เราก็ต้องใส่ปุ๋ยเสริม ส่วนการเป็นที่อยู่อาศัยก็เทียบเท่ากับฐานรากของบ้านที่ยึดไม่ให้บ้านล้ม หรือพัง ก็คือต้นบัวฝังรากยึดอยู่ได้ในดินไม่หลุดลอยไปที่อื่น ในบ้านเรา-ประเทศไทยบัวทุกชนิดขึ้นในท้องนา สามัญสำนึกก็คงบอกได้เองเลยว่าต้องเป็นดินเหนียว แต่ถ้าเป็นแหล่งที่ไม่มีดินเหนียว เช่น ในบริเวณที่ราบสูง ก็ควรเป็นดินที่เหนียวที่สุดในบริเวณนั้นคือดินร่วนเหนียว (clayloam) ฝรั่งเมืองนอกเขาใช้คำว่า dirt ในหนังสือหรือ แคตตาล็อคขายบัวหลายเล่ม จากที่อยู่อาศัยก็มาถึงอาหาร ในดินที่ปลูกก็ควรเสริมอาหารให้ เช่น ถ้าปลูกในสระ บ่อดินธรรมชาติ สามัญสำนึกของท้องนาธรรมชาติ อาหารในนาที่ได้คือโปแตสเซียมที่ละลายมากับน้ำที่มาจากป่าเขา จะเห็นได้ว่า การทำนามักจะมีการแนะให้เสริมด้วยปุ๋ย แอมโมฟอส คือปุ๋ยไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปในการทำ-ผสมดินปลูกบัวคือ เสริมปุ๋ยที่มีธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัสให้
          3. บัวเป็นไม้น้ำ ถ้า ไม่มีน้ำก็ปลูกบัวไม่ได้ ก็เป็นส่วนของที่อยู่อาศัยซึ่งมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับชนิดและพันธุ์บัว เกณฑ์ทั่วไปคือต้องมีฤทธิ์เป็นกรดเล็กน้อยหรือเป็นกลาง เหมาะที่สุด ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 6.5-7.5 แต่ในการปลูกจริงๆ โดยเฉพาะในภาชนะจำกัดที่น้ำไม่ถ่ายเท ผู้ปลูกต้องการให้บัวโตเร็วๆ ใส่ปุ๋ยอุตลุต ธาตุไนโตรเจนส่วนเกินจะละลายอยู่ในน้ำที่ปลูก เปลี่ยนสภาพของน้ำเป็นด่าง ค่า pH มักจะสูงกว่า 7.5 ต้องแก้ด้วยการเติม สารเปลี่ยนสภาพให้น้ำเป็นกลาง หรือเสริมด้วยปุ๋ยที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูง นอกจากความเป็นกรด-ด่างของน้ำแล้ว ที่สัมพันธ์กับชนิดและพันธุ์บัวโดยตรงคือ “ความลึกของน้ำ” บางชนิดบางพันธุ์ต้องการน้ำลึก บางพันธุ์ต้องการน้ำตื้น ประสบการณ์จากการปลูกของนักปลูกบัวไทย แบ่งความลึกของน้ำในการปลูกบัวไว้ 3 ระดับคือ น้ำตื้น (ก) ระหว่าง 15-30 เซนติเมตร น้ำลึกปานกลาง (ข) ระหว่าง 30-60 เซนติเมตร และน้ำลึกมาก (ค) ลึกกว่า 60 เซนติเมตร แต่ไม่ควรเกิน 1 เมตรครึ่ง หรือควรอยู่ระหว่าง 60-120 เซนติเมตร
          4. ลมก็คือลม ใคร คิดว่าไม่สำคัญ ข้อดีของลมคือช่วยลดความร้อนของน้ำ น้ำถูกแดดร้อน ระบาย ความร้อนขึ้นมา ลมก็ช่วยพัดความร้อนออกไปให้ ดอกก็ไม่เหี่ยว ข้อร้ายก็มีคือถ้าลมแรงเกินไป บัวที่ชูดอกพ้นน้ำ เช่น บัวผัน บัวสาย บัวยักษ์ออสเตรเลีย ที่ก้านดอกอ่อน ลมก็จะปัดก้านโน้ม โอนเอียง ขยับไป-มา กระเทือนไปถึงโคน ราก คลอนไป-มาด้วย สังเกตดูเถอะครับ ในทุ่งโล่งๆ จะไม่ค่อยเห็นบัวผันหรือบัวสายที่ชูก้านดอกสูง จะเห็นแต่ บัวหลวงที่ก้านดอกแข็ง เราจะเห็นบัวผัน บัวสายในสระ-บ่อที่ผนังบ่อสูง แต่ในบึงกว้างน้ำค่อนข้างลึก เช่น ในบึงบรเพ็ด นครสวรรค์ หรือ หนองบัวแดงที่พัทลุง จะเห็นแต่บัวหลวงกับบัวสายเท่านั้น ทั้งนี้เพราะบัวหลวงก้านแข็งดังที่กล่าว ข้างต้น ส่วนบัวสาย เนื่องจากขยายพันธุ์ด้วยการแตกไหลขยับออกไปรอบๆ จากต้นเป็นกอ จากกอเป็นกลุ่ม จึงช่วยยึดกันไป-มาอยู่ในดินได้ ลมแรงก็ไม่กลัว
          5. แสงแดดเป็นตัวแทนของไฟคลับ ให้ความร้อน (โดย มีลมช่วยให้เย็น) และแสงให้บัวปรุงอาหาร แยกเป็นสองปัจจัยย่อยในแง่ของการให้ความร้อน-เย็น ก็เชื่อมกับความต้องการของชนิดและพันธุ์บัวอีกนะแหละบัวผัน-เผื่อน บัวสาย จงกลนี และบัวกระด้ง (เฉพาะพันธุ์ที่ปลูกในประเทศเราปัจจุบันคือ Victoria amazonica) และบัวหลวง บ้านเรา ถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ชอบน้ำค่อนข้างร้อน ร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส ก็ยังพออยู่ได้ แต่ถ้าน้ำเย็นกว่า 15 องศาเซลเซียส ไม่ชอบ บัวดังกล่าวจึงควรปลูกในน้ำที่มีอุณภูมิ ณ จุดที่ปลูกระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ส่วน บัวฝรั่งและบัวหลวง (บางพันธุ์) มีถิ่นกำเนิดในเขตอบอุ่นและเขตหนาว ความร้อน-เย็นของน้ำ ณ จุดปลูกจึงอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส บัวเป็นพืชที่รับปุ๋ยได้ดีมาก ใช้ปุ๋ย-อาหารค่อนข้างเปลือง แสงแดดเป็นตัวสนับสนุนที่มีอิทธิพลที่สุด ทำให้ปรุงอาหารได้เร็วมาก และก็ใช้มากด้วย สถานที่ที่ปลูกบัว เหมาะในที่ปลูกที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ ไม่ต่ำกว่าวันละ 5 ชั่วโมง จะเป็นแดดเช้าหรือบ่ายก็ได้
          6. ที่อยู่อาศัย คือ ปลูกบัวในภาชนะจำกัดแบบต่างๆ ในบ่อดิน บ่อพลาสติก บ่อคอนกรีต คือที่อยู่อาศัยของบัว ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชนิดและพันธุ์ของบัวที่จะปลูก บัวบางชนิด บางพันธุ์ ปลูกได้เฉพาะในภาชนะจำกัด บางชนิดปลูกได้เฉพาะในสระ-บ่อดิน ลงพื้นดินโดยตรง บางชนิดเหมาะที่จะปลูกในภาชนะและยกลงแช่ในบ่อหรืออ่าง ฯลฯ

วิธีการดูแลรักษาบัว

หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษา
          บัวทุกชนิด (หรือต้นไม้ทุกชนิด) ปลูกไม่ยาก สำหรับบัว การดูแลรักษาถ้าปลูกเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านเพียงไม่กี่ต้น เช่น ปลูกภาชนะจำกัดเป็นอ่าง ๆ หรือบ่อเล็ก ๆ ในสวนหย่อมไม่ยากเลย งานเบามาก เด็ก สตรี และคนชราก็ทำเองได้แต่ ถ้าปลูกในบ่อพลาสติกหรือบ่อดินขนาดใหญ่มีบัวเป็นสิบ ๆ ต้น งานดูแลรักษาไม่หนักแต่ใช้เวลามาก
หลักเกณฑ์และวิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่
1. ป้องกันน้ำเสีย
          โดยเฉพาะการปลูกในภาชนะจำกัดและขนาดเล็กปริมาณน้ำน้อยบัวก็เหมือนกับปลา ต้องการอากาศหายใจในน้ำถ้าน้ำเสีย อ๊อกซิเย่นไม่มีจะพาลตายได้ง่าย เด็ดใบแก่ดอกโรยทิ้งเสียก่อนจะเน่าในภาชนะหรือบ่อที่ปลูกถ้าไม่จำเป็นไม่ควร แก้ไข โดยการถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำใหม่บ่อย ๆ เพราะจะต้องทำให้บัวต้องปรับตัวเองตามจะเจริญเติบโตช้าแต่ถ้าจำเป็นด้วยเหตุ เช่น มีสัตว์ตายอยู่ใต้ดินปลูก ได้แก่ กิ้งกือ ไส้เดือน หรือคางคกลงไปปล้ำกัดกันตายหรือออกไข่-ออกลูกจนน้ำเน่าเสีย หรือ อินทรีย์วัตถุที่ติดมากับดินปลูกยังเน่าเปื่อยไม่หมดทำให้น้ำเน่า ถ่ายน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วยังไม่หายต้องเปลี่ยนดินปลูกใหม่
2. ปราบตะไคร่น้ำ-สาหร่าย
          ตะไคร่ น้ำที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยคลุกที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ สาหร่ายอาจติดมากับดินปลูกเก็บทิ้ง ถ้าปลูกไม่กี่ต้น ถ้าปลูกมากแต่ปลูกในภาชนะจำกัดใช้ด่างทับทิมละลายน้ำในภาชนะปลูกเป็นสีบาน เย็นเข้มทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งเก็บตะไคร่สาหร่ายที่ตายออกเติมน้ำใหม่ตามเดิม
3. เก็บคราบน้ำมัน
          ไขมัน จากกระดูกป่นหรืออินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยไม่หมดและการปลูกที่อัดดินไม่ แน่น ดินกลบกลบดินผสมเบื้องล่าง ไม่สมบูรณ์ ไขมันจะละลายเป็นฝ้า ถ้าปลูกในอ่างหรือในภาชนะจำกัดใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปะลอยบนผิวน้ำจะช่วยซับ คราบน้ำมันออกถ้าปลูกในบ่อที่มีท่อน้ำล้น ปล่อยน้ำดันให้น้ำผิวหน้าไหลล้นออกทางท่อระบายน้ำ
4. ต้นและรากลอย
          เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่สนใจเลิกปลูกบัวไปหลายราย โดยเฉพาะอุบลชาติ เช่น เมื่อปลูกใหม่ ๆ ถ้ากดอัดดินทับไม่แน่น ต้นเหง้าลอย รากดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นไม่ได้สังเกตได้ง่ายที่สุด ไม่โตสักที ใบเล็กลงและใบเหลือง แก่เร็ว แก้โดย การปลูกใหม่ และหาไม้ไผ่อ่อนพับครึ่งคล้ายปากเคียเสียงคร่อนต้นที่ปลูกกันไม่ให้ลอย (ชาวสวนปลูกบัวเรียกตะเกียบ) สำหรับต้นแก่ที่ปลูกไว้นานแล้ว โดยเฉพาะในภาชนะที่จำกัดอุบลชาติประเภทยืนต้นเจริญทางนอนจนไปชนอีกผนังของ อ่างหรือบ่อในหลายกรณีจะหักขึ้นบนเจริญขึ้นไปจนรากลอยตัดเหง้าที่ไม่ต้องการ ทิ้ง ปลูกใหม่
5. ที่ปลูกร้อนเกินไป
          บัวทุกชนิดต้องการแดดเต็มที่ จะมีปัญหาถ้าที่ปลูกบัวตื้นน้ำน้อยแดดเผาน้ำจนร้อน สังเกตง่าย ๆ ขนาดน้ำอุ่นพอที่จะอาบได้ สบาย ๆ ก็ถือว่าร้อนแล้วสำหรับบัว บัวต้องการแดดเต็มที่วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ขยับที่ปลูกเสียใหม่ถ้าปลูกในภาชนะ ที่เคลื่อนย้ายได้หรือเปลี่ยนภาชนะที่ปลูกให้น้ำลึกขึ้น หรือถ้าเปลี่ยนอะไรไม่ได้และที่ปลูกได้แดดทั้งวัน ใช้มุ้งลวดหรือ มุ้งพลาสติกกันด้านบนเพื่อลดความเข้ม-ร้อนของแสง
6. ดินจืด
          มี 2 สาเหตุ คือ ขาดปุ๋ย หรือขาดดิน (ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด) สังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าบัวใบเล็กลง เหลืองแก่เร็ว ถ้าปลูกใน บ่อดินที่เหลือเฟือก็คือขาดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตรกลาง ๆ ทั่วไป เช่น 10-10-10, 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือปุ๋ยสำหรับบัว โดยเฉพาะถ้าปลูกในภาชนะจำกัดที่สามารถอัดปุ๋ยได้ในการจุ่มมือครั้งเดียว จะใช้ปุ๋ยห่อกระดาษอ่อนที่ใช้เข้าห้องน้ำหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์อัดฝังโคนต้นบัวเลย แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการฝังปุ๋ยทำปุ๋ย ลูกกอนำโดยปั้นดินหุ้มปุ๋ยผึ่งแห้งเตรียมไว้ จะใช้เมื่อไรก็ฝังโคนต้นสำหรับปริมาณใช้เท่าไรขึ้นอยู่กับการสังเกตและศึกษา เองของผู้ปลูก เพราะภาชนะปลูกเล็ก-ใหญ่ ต่างกันปริมาณน้ำปลูกมากน้อยต่างกัน ปลูกในบ่อดิน บ่อคอนกรีต พันธุ์ชนิดบัว ฯลฯ จึงไม่สามารถกำหนดเป็นเกณฑ ์ตายตัวได้ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด อีกสาเหตุคือขาดดิน บัวจะออกรากขยายเหง้า ฯลฯ ดันดินพ้นภาชนะละลายไปอยู่กั น้ำจนในที่สุดแทบจะไม่มีดินเหลืออยู่เลย ราก-เหง้าอัดภาชนะเต็มไปหมด แก้โดยรื้อเปลี่ยนดินปลูกใหม่
7. โรค-แมลงศัตรู                                                                                                                                                           ที่ พบเป็นประจำ คือ โรคใบจุดและรากเน่าโรคใบจุดไม่ร้ายแรง เพราะใบบัวมีพื้นที่ปรุงอาหารมากเด็ดใบเป็นโรคทำลาย ทิ้งไป โรครากเน่ามีบ้างร้ายแรงกับบัวกระด้งและอุบลชาติ ประเภทล้มลุกบางพันธุ์ ยังไม่ทราบวิธีแก้ นอกจากนั้น คือ เก็บดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไปปลูกบัวชนิดอื่น หรืออุบลชาติประเภทอื่นแทน แมลงที่สำคัญกินบัว ทุกชนิดคือ เพลี้ยและหนอนบัวหลวงเดือดร้อนมากที่สุด เพราะชูใบขึ้นมาให้เพลี้ยเกาะกินบัวชนิดอื่นถูกทำลายบ้างแต่ ใบลอยน้ำฝนตกน้ำกระเพื่อมก็ช่วยซัดเอาเพลี้ยหลุดลอยไปได้บ้าง (ปกติผู้ปลูกเป็นการค้าจะพ่นน้ำให้ลอยหลุดไป) ป้องกันโดยเด็ดใบที่มีเพลี้ยและหนอนท้ง-ทำลายหนอนพับหนอนพับใบเป็นศัตรูที่ สำคัญของอุบลชาติ เช่นผีเสื้อ กลางคืนจะมาวางไข่บนใบเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงใบจนโตแล้ว กัดใบพับทับตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ฯลฯ ป้องกันกำจัดโดยการบี้ทำลาย บัวหลวงมีศัตรูหนอนมากที่สุดนอกเหนือจากเพลี้ยไฟซึ่งเก่ากินใต้ใบ หนอนกระทู้หนอนชอนใบ โดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบ โกร๋นทั้งต้นซึ่งจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนและในฤดูหนาวซึ่ง เป็นระยะที่บัวชงักการเจริญเติบโตด้วย กสิกรที่ปลูกบัวหลวงเป็นการค้ามักจะตัดใบทิ้ง-ทำลายหมด(ให้หมดเชื้อของหนอน) รอให้ใบแตกใหม่-ออกดอกใหม่ แมลงที่กล่าวทั้งหมดสามารถปราบและควบคุมได้พอสมควรโดยใช้ยาอะโซดริน 60 ผสมน้ำอัตราส่วนน้ำยา 1:100 (1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้เป็นฝอยให้จับหน้าของใบบัวบาง ๆ ใบจะดูดน้ำยาเข้าไว้ เมื่อแมลงและหนอนมาดูดกินน้ำเลี้ยงของใบจะกินยาเข้าไปด้วยและตาย ฉีดพ่นทุก ๆ สัปดาห์จนกว่าจะหมดศัตรูฉีดบาง ๆ จะไม่เป็นอันตรายทั้งกับคนและปลาที่เลี้ยง
8. หอย
          ส่วนใหญ่ได้แก่ หอยขมและหอยคันเป็นทั้งมิตรและศัตรู หอยโข่งเป็นศัตรูที่จงใจ แต่หอยขมเป็นศัตรูที่ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจ บ้างคือเมื่อตอนเป็นต้นอ่อนจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากรากและใบอ่อนที่เกิดใหม่ ๆ ใต้น้ำ โดยเฉพาะอุบลชาติบัวหลวงไม่ค่อย เดือดร้อนเพราะมีสารที่เรียกว่า ดิวติน เคลือบอยู่ และก้านใบก้านดอกมีหนามเล็ก ๆ (บัวกระด้งหนามเต็มต้นไม่เดือนร้อน เลย) หอยขมและหอยโข่งเมื่อโตขึ้นจะเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบเกาะดูดน้ำ เลี้ยงจากไข่-ตัวหนอน และน้ำเลี้ยง ใบกินระหว่างเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบ ถ้าน้ำกระเพื่อมกระเทือนจะหุบก้าน ปล่อยตัวหลุดจากก้านบัวเมื่อก้านหุบ ก็เลยเหมือนมีดตัดก้านบัวที่ยังอ่อน ๆ ขาดไปด้วยเป็นปัญหาใหญ่ของการปลูกในบ่อดินป้องกันกำจัดโดยการเก็บทิ้งและ ปลูกอุบลชาติเผื่อไว้มาก ๆ จะได้แบ่งเบาการทำลายลงไปได้บ้าง ถ้าปลูกในภาชนะจำกัดเก็บทิ้งง่ายหอยจะเป็นตัวบอกว่า น้ำเสียหรือยังถ้าน้ำเสียหอยจะลอยมาเกาะตามผนังภาชนะ ณ จุดผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจแสดงว่าอ๊อกซิเย่นในน้ำไม่มี น้ำเสียแล้วควรรีบแก้ไข
9. วัชพืช
          เป็นปัญหาที่ใหญ่ของการปลูกบัวใน บ่อดิน หญ้ามิใช่วัชพืชหลักเพราะเมื่อถอนทิ้งไปแล้วก็หมดไปโดยเฉพาะน้ำมากและ ลึกพอควรที่เป็นปัญหาหลักคือสาหร่ายมี 2-3 ชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายวุ้น สาหร่ายไปและสาหร่ายฝอย สาหร่ายหางกระรอกปราบยากที่สุดเพราะเปาะเมื่อถูกถอนมันจะขาดส่วนที่ขาดจะลอย และไปขยายพันธุ์ต่อที่อื่น สาหร่าย วุ้นยากเป็นที่ 2 เพราะลื่นและหลุดขาดออกจากกันง่ายเช่นเดียวกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายเส้น หรือสาหร่ายฝอย เก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอนหรือเก็บได้ทั้งกระจุกแต่จะร้ายที่สุด เพราะมักจะไปพันบัวเสียจนยอดบัวเจริญ ขึ้นมาได้ ลูกบัวและก้านบัวต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดจากอุบลชาติประเภทล้มลุกทั้งพวกบานกลางวันและบานกลางคืน คือบัวผัน บัวเผื่อน และบัวสายเป็นปัญหามากที่สุดและไม่รู้จักจบสำหรับการปลูกในบ่อดินที่ปลูก อุบลชาติประเภทนี้ ต้อง เก็บกันเป็นประจำทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพราะนอกจากจะทำให้บ่อบัวรกไม่สวยงามแล้ว ยังแย่งแร่ธาตุอาหารจากบัวที่ปลูก อีกด้วย วิธีแก้คือต้องขยันหมั่นเก็บดอกแก่ทิ้งก่อนติดเมล็ดถ้าปลูกบ่อใหม่และคิดว่า จะเก็บไม่ทัน และปลูกหลายบ่อแนะนำ ให้แยกปลูกอุบลชาติประเภทยืนต้นไว้บ่อหนึ่ง ล้มลุกอีกบ่อหนึ่ง เก็บลูกบัววัชพืชเฉพาะบ่อปลูกประเภทล้มลุกบ่อเดียว
10. ฟักตัวในฤดูหนาว
          อุบลชาติประเภทยืนต้นหรือบัวฝรั่งหลายพันธุ์ และอุบลชาติประเภทล้มลุกบานกลางวัน หรือบัวผัน บัวเผื่อนที่นำมาจาก ต่างประเทศบางพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตผลิตใบหนา ก้านใบสั้น จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวแก้โดยเพิ่มความร้อนและ แสงให้ หรือโดยการลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน (ประมาณกลางเดือนตุลาคม) โดย ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกอ่างปลูกให้อยู่ใกล้ผิวหน้าของน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว
11. ปลูกบัวพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับสถานที่และภาชนะที่ปลูก
          เป็นหัวใจของการดูและรักษาเพราะถ้าชนิดพันธุ์ไม่เหมาะสมแก่สถานที่ที่จะดูแล รักษาอย่างไรก็ไม่โต ในปัจจุบันพันธุ์ ที่มีจำหน่ายผู้ขายและผู้ปลูกควรรู้จักพันธุ์ว่าชนิดใดชอบน้ำตื้นน้ำลึก ที่ปลูกควรกว้างหรือแคบแค่ไหนผู้ผลิตพันธุ์ออกมา จำหน่ายจะต้องบอกได้ว่าบัวพันธุ์นั้น ๆ ต้องการที่ปลูกอย่างไร
12. อย่าให้อดอาหารและอย่าให้กินจนเป็นโรคท้องมาร
          ใส่ปุ๋ยบำรุงตามความจำเป็นถ้าใส่มากเกินไปน้ำจะเขียว ปุ๋ยสูตรสมดุล10-10-10, 12-12-12, 15-15-15 หรือ 16-16-16 ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น หรือปั้นเอาดินเหนียวหุ้มปริมาณเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตของผู้ปลูก เพราะผู้ปลูกแต่ละ รายปลูกในภาชนะขนาดแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตถ้าน้ำเขียว ตะไคร่ สาหร่ายขึ้นเร็วแสดงว่าให้ปุ๋ย มากเกินไปควรลดปริมาณหรือความถี่ในการให้ปุ๋ยลง
13. เลี้ยงปลาที่ไม่กินพืช
          เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือปลากัด เพราะจะช่วยกินลูกน้ำ
14. อย่าให้บัวขยายพันธุ์จนแน่นในภาชนะเดียวกัน
          บัว ฝรั่งจะแตกต่าง บัวสาย บัวหลวง จะแตกไหลไปขึ้นต้นใหม่ บัวผันหรือบัวสายเกิดเมล็ดงอกเป็นต้นใหม่แน่นภาชนะ ให้เอาออกเพราะหากแน่นมากไปต้นจะไม่ออกดอก
15. อย่าปลูกบัวหลายพันธุ์ในภาชนะเดียวกัน
          ต้นจากพันธุ์ที่แข็งแรงโตเร็วจะเบียดต้นอ่อนแอจนตายไปในที่สุด
16. บัวฝรั่ง บัวหลวง เจริญตามแนวนอน
          ถ้าพุ่งชนภาชนะเมื่อไรจะชงักการเจริญเติบโต หักเหง้าหรือไหลให้ยอดหันกลับทางกลางอ่างหรือบ่อ
17. ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว
          เพราะ จะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ครึ่งหนึ่งจะเป็นการดี
18. เปลี่ยนดินปลูกใหม่
          ควรเปลี่ยนเมื่อรากแน่นภาชนะที่ปลูกและถ้าปลูกในภาชนะที่จำกัดหรือถ้าปลูก ในบ่อและนาน ๆ หลาย ๆ ปี ก็น่าต้องเปลี่ยน หน้าดินเหมือนกัน

ปทุมชาติ

ัวหลวง  Nelumbo nucifera  Gaertn.
 
       แบ่งออกเป็น
     
     บัวหลวงพันธุ์ดอกสีชมพู
  • ชนิดทรงสลวย  รูปดอกจะเป็นพุ่มทรงสูง กลีบดอกสีชมพู ซ้อนกันหลายชั้น แต่ละกลีบโค้ง มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก ถัดเข้าไปตรงกลางเป็นส่วนฐานรองดอก จะขยายเป็นรูปกรวยสีเหลือง เป็นส่วนที่ไข่จะฝังอยู่ และไข่จะเจริญไปเป็นผลบัวและฝังอยู่บนฝักบัว บัวชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า "ปทุม ปัทมา โกกระนต โกกนุต"
  • ชนิดทรงป้อม  ดอกตูมจะมีทรงอ้วนป้อม ไม่สลวยเหมือนชนิดแรก เมื่อดอกบานจะเห็นมีกลีบเล็กๆ สั้นๆ สีขาวปนชมพูซ้อนอยู่ข้างใน และอยู่ปนกับเกสรตัวผู้ใกล้กับรูปกรวย ซึ่งจะเจริญไปเป็นฝักบัว ส่วนกลีบดอกชั้นนอก 2-3 ชั้น จะคล้ายกับชนิดแรก แต่กลีบจะสั้นป้อมกว่า บัวหลวงทรงป้อมนี้มักไม่ติดเมล็ด ชนิดนี้เรียกว่า บัว"สัตตบงกช"
  • ชนิดดอกเล็ก  ชนิดนี้กลีบดอกสีชมพู รูปร่างเหมือนทรงสลวย แต่จะย่อส่วนลง ใบ ดอก เล็กลงประมาณ 3 เท่า มีผู้รู้กล่าวว่าพันธุ์นี้น่าจะนำมาจากจีน จึงมีชื่อเรียกว่า "บัวหลวงจีน บัวปักกิ่ง บัวเข็ม บัวไต้หวัน" มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า " Nelembo nucifera   var.pekinese"

      บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาว
     
  • ชนิดทรงสลวย  จะมีรูปร่าง ขนาดดอกเหมือนกับบัวปทุม แต่กลีบดอกเป็นสีขาว บัวชนิดนี้เรียกว่า "บุณฑริก"
  • ชนิดทรงป้อม  จะมีรูปร่างเช่นเดียวกับสีชมพูทรงป้อม หรือ สัตตบงกช ชนิดนี้จะหอมมาก แต่กลีบดอกเป็นสีขาวเรียกว่า "สัตตบุษย์"
กล่าวถึงบัวในเชิงศิลปะ
          ดอกบัวหลวงเป็นต้นเค้าของพุทธศิลปไทย ใช้เป็นองค์ประกอบเชิงศิลปที่นิยมทำเป็นรูปรองรับพระพุทธปฏิมากร สถูปเจดีย์ อาคารที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ อาคารสำหรับสถาบันทางพุทธศาสนา เทวรูป และเครื่องราชูปโภค ฯลฯ
ศัพท์ที่กล่าวกับบัวในศิลปะ
          เช่น บัวกระจับ  บัวหัวเสา เป็นต้น
บัวเป็นชื่อจังหวัดและชื่ออำเภอของประเทศไทย
          ที่เป็นชื่อจังหวัดและยังใช้เป็นตราประจำจังหวัดด้วย ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี อุบลราชธานี และหนองบัวลำภู  มีชื่ออำเภอหลายแห่งที่มีคำว่า "บัว" เช่น อำเภอบางบัวทอง อำเภอลาดบัวหลวง ฯลฯ และยังเป็นตราของกระทรวงต่างประเทศ คือ "ตราบัวแก้ว"
บัวในเงินตรา ดวงตรา
          เงินตราทวาราวดี ซึ่งเป็นเงินเหรียญมีรูปร่างต่างๆ ผสมกัน เช่น รูปสังข์ "รูปกระต่ายบนดอกบัว" ฯลฯ
          เงินตรากรุงศรีอยุธยา เป็นเงินพดด้วง ส่วนใหญ่ตีตราธรรมจักร และตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง "ดอกบัว" ฯลฯ
          เงินตรากรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 เป็นเงินพดด้วง ตราจักร มีตราประจำรัชกาล เป็น "บัวผัน" หรือ "บัวอุณาโลม"

โรคและแมลงศัตรูของบัว

โรคใบจุด

เกิดจากเชื้อรา ระบาดมากในช่วงฤดูฝนซึ่งสภาพอากาศมีความชื้นสูง มักเกิดบนใบบัวที่แก่ อาการของโรคจะเป็นแผลหรือจุดวงกลมสีเหลือง เมื่อแผลขยายกว้างจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตรงกลางแผลแห้ง ป้องกันและแก้ไขโดยเด็ดใบที่แก่หรือเป็นโรคทิ้ง

โรคเน่า

มักเกิดกับบัวกลุ่มอุบลชาติและบัวกระด้ง สาเหตุเกิดจากดินที่ใช้ปลูกมีมูลสัตว์ที่ยังเน่าเปื่อยไม่หมด ทำให้หัว เหง้า หรือโคนต้นเละ ต้นแคระแกนและตาย เมื่อเห็นว่าต้นแสดงอาการควรรีบนำต้นขึ้นมาตัดส่วนที่เน่าทิ้ง เปลี่ยนดินปลูกใหม่ หรือเก็บต้นและดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสีย

เพลี้ยไฟ

มักเกิดกับบัวที่ยังอ่อนอยู่ ทำให้ใบหงิกไม่คลี่ ด้านหลังใบจะมีรอยช้ำเป็นสีชมพูเรื่อๆ ต่อมาจะแห้งและดำ ถ้าเข้าทำลายดอกและก้านดอกจะทำให้ดอกที่ตูมอยู่เหี่ยวและแห้งเป็นสีดำ ก้านดอกแห้งเป็นสีน้ำตาลและหักง่าย

เพลี้ยอ่อน

จะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนก้านดอก ก้านใบ และใบอ่อนที่โผล่เหนือน้ำ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลดำ ทำให้ดอกตูมและใบมีขนาดเล็ก สีเหลืองซีดและแห้งตาย

หนอน

ได้แก่ หนอนชอนใบ, หนอนกระทู้, หนอนผีเสื้อ, หนอนกอ จะดูดน้ำเลี้ยงและกัดกินใบบัว
หนอนและแมลงที่กล่าวมาสามารถกำจัดและควบคุมได้โดยใช้ โมโนโครโตฟอส (Monocrotophos) ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า อะโซดริน60 (Azodrin60) มาลาไธออน (Malathion) ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า มาลาเฟซ (Malafez) โดยใช้ในอัตรา 1 ซีซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ สัปดาห์จนกว่าหนอนและแมลงศัตรูจะหมด

หอย

จะเป็นตัวบอกว่าน้ำในบ่อดีหรือเสีย ถ้าน้ำเสียออกซิเจนในน้ำมีไม่เพียงพอหอยจะลอยตัวหรือเกาะอยู่ตามขอบบ่อเพื่อหาออกซิเจนหายใจ ถ้าเป็นเช่นนี้ให้รีบเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อปลูก แต่ถ้าในบ่อมีหอยมากเกินไปหอยจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนหรือทำให้ก้านใบขาดได้ จึงควรกำจัดออกบ้างโดยการเก็บออก หรือถ้าปลูกในบ่อที่มีขนาดใหญ่อาจจะเลี้ยงปลาช่อนให้ช่วยกินตัวอ่อนของหอยก็ได้

ประวัติดอกบัว

                                         

                                  บัว พันธุ์ ไม้น้ำที่ถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่องและคุณงามความดีใน พุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัว เป็น 4 เหล่าคือ บัวในโคนตม บัวใต้น้ำ บัวปิ่มน้ำ และบัวเหนือน้ำ บัวเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ดูสง่างาม ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม เด่นสะดุดตาสะดุดใจแก่ผู้พบเห็น บางชนิดมีกลิ่นหอมน่าชื่นชม ด้วยเหตุนี้เองบัวจึงได้รับสมญาว่า “ราชินีแห่งไม้น้ำ”

                                  บัว เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Nymphaeaceae จัดเป็นพืชน้ำล้มลุกที่มีอายุหลายปี พบได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาว จำแนกถิ่นกำเนิดและการเจริญเติบโตได้ 2 จำพวกคือ


                                  1. บัวที่เกิดและเจริญเติบโตในเขตอบอุ่นและเขตหนาว (Subtropical and Temperate Zones) เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ ภาคใต้ของอเมริกาใต้ ตอนเหนือของอินเดีย จีนและออสเตรเลีย บัวประเภทนี้มีเหง้าสะสมอาหารอยู่ในดิน เมื่อถึงฤดูหนาวผิวหน้าของน้ำเป็นแผ่นน้ำแข็ง จะทิ้งใบและอาศัยอาหารในเหง้าเลี้ยงตัวเอง เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิน้ำแข็งละลายหมดก็จะเจริญแตกหน่อต้นใหม่ และจะเจริญเติบโตออกดอกออกผลหมุนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป เรียกบัวประเภทนี้ว่า Hardy Type หรือ Hardy Waterlily นักพฤกษศาสตร์จัดให้บัวประเภทนี้อยู่ในกลุ่ม Castalia Group หรือ อุบลชาติประเภทยืนต้น
                                  2. บัวที่เกิดและเจริญเติบโตในเขตร้อน (Tropical Zones) เช่น ทวีปเอเซียตอนกลางและตอนใต้ อาฟริกา ออสเตรเลียตอนเหนือ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ บัวประเภทนี้กำเนิดและเจริญเติบโตได้ในเขตร้อนเขตเดียว ถ้านำไปปลูกในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว เมื่อเข้าฤดูหนาวผิวหน้าของน้ำเป็นน้ำแข็งทำให้บัวประเภทนี้ต้องตายไป จึงเรียกบัวประเภทนี้ว่า Tropical Type หรือ Tropical Waterlily นักพฤกษศาสตร์จัดให้บัวประเภทนี้อยู่ในกลุ่ม Lotus Group หรือ อุบลชาติประเภทล้มลุก

ประวัติดอกบัว

        
         “บัว”   เป็นสัญลักษณ์แห่งความงามของไม้น้ำไทยในวงศ์  Nymphaeaceae  มีความโดดเด่นด้วยดอกและใบที่เบ่งบานชูช่ออยู่เหนือน้ำเปรียบประดุจดังหญิง สาว  ซึ่งมีที่มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษ  จากคำว่า “Nymph”  แปลว่า “เทพธิดาที่อยู่ในน้ำ” (A Beautiful Young Woman)    
            บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว
       บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี

บัวในตำราพิชัยสงคราม

     
       ในการออกศึกสงคราม แม่ทัพผู้บัญชาการรบ จะพิจารณาเลือกการจัดทัพตามลักษณะพยุหะ(กระบวนทัพ)ที่มีอยู่ในตำราพิชัย สงครามให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็นขณะยกทัพ หรือการตั้งค่าย เพื่อความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ทุกขณะ ซึ่งการจัดทัพรูปทรงดอกบัวที่ชื่อ ว่า “ ปทุมพยุหะ ” ก็มีอยู่ในตำราด้วย กล่าวคือ เป็นการจัดผังเป็นรูปดอกบัวตูม กำหนดการวางทัพโดยมีกองร้อยอยู่ส่วนยอดลดหลั่นลงมาเป็น พลทวน กองม้า กองช้าง กองเขน กองไล่ ส่วนทัพใหญ่และทัพรองตั้งมั่นอยู่ตรงส่วนฐาน การจัดทัพแบบปทุมพยุหะเหมาะกับภูมิประเทศที่เป็นที่ราบกลางทุ่ง ใช้ได้ทั้งการตั้งค่ายและยาตราทัพ

บัวกับชื่อโรค

       
                    ฝีฝักบัว หมายถึง ฝีชนิดหนึ่ง ที่มีหลายหัวคล้ายฝักบัว หรือมีหัวรวมใหญ่เป็นหัวเดียว มักขึ้นตามหลังและต้นคอ (ฝี หมายถึง โรคที่มีอาการบวมนูนและกลัดหนอง ขึ้นตามที่ต่างๆในร่างกาย สาเหตุมักเกิดจากการติดเชื้อรา บักเตรี หรือไวรัส )