เม็ดขนุนไส้เม็ดบัวแห้ง
ส่วนผสม
เม็ดบัวแห้งนึ่งให้สุก 4 ½ ถ้วยตวง น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง มะพร้าว 800 กรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง ไข่ 8 ฟอง |
||||
วิธีทำ
1. นำเม็ดบัวแช่น้ำ 1-2 ชั่วโมง 2. นำเม็ดบัวนึ่งให้สุก 3. คั้นกะทิให้ได้ 4 ถ้วยตวง 4. ผสมน้ำตาลทรายกับกะทิ คนให้ละลาย 5. ผสมเม็ดบัวกับกะทิในข้อ 4 ปั่นให้ละเอียด 6. นำส่วนผสมที่บดละเอียดแล้วใส่กะทะทอง ตั้งไฟกวนจนแห้งไม่ติดกะทะ เป็นก้อนกลม ยกลง ตักใส่ภาชนะ ผึ่งไว้ให้เย็น 7. ปั้นเป็นลูกกลมรี 8. นำน้ำตาลทรายผสมน้ำลอยดอกมะลิ ตั้งไฟเคี่ยวจนเข้มข้น พักไว้ 9. ต่อยไข่แยกไข่ขาวไข่แดง ใช้เฉพาะไข่แดง คนให้ไข่แตก 10. นำเม็ดบัวที่ปั้นไว้ชุบไข่ ใส่ลงในน้ำเชื่อมให้เต็มกะทะแล้วจึงนำไปตั้งไฟ 11. พอเดือดตักออก |
การดูแลรักษาบัวเมื่อเข้าฤดูหนาว
บัวและไม้น้ำ-ไม้บกอีกหลายชนิด
เมื่อเข้าฤดูหนาวจะพักการเจริญเติบโต สลัดใบทิ้ง อาหารที่สะสมไว้จะเปลี่ยนสภาพจากน้ำตาล (รูปแบบต่างๆ) เป็นแป้งเก็บไว้ในต้น หน่อหรือหัว เมื่อหมดฤดูหนาวเริ่มเจริญเติบโตใหม่จึงนำมาใช้ |
ประโยชน์จากบัว
ประโยชน์นานาจาก “บัว“
บัวมีชาติกำเนิดในโคลนตม แต่ดอกใบมีความสะอาดสวยงาม กลิ่นหอมหลุดพ้นจากสิ่งปฏิกูล ชูดอกใบอย่างสูงศักดิ์ อวดความสวยงาม จนได้ชื่อว่า “บงกช” อันแปลว่า เกิดจากตม กล่าวได้ว่า ทุกส่วนของบัวกินเป็นอาหารได้ และทุกส่วนของบัวก็ใช้ประโยชน์เป็นยาได้
รากบัวสมุนไพรสารพัดประโยชน์
รากบัว (Nelumbo nucifera Gaertn)
เป็นเหง้าใต้ดินลักษณะเป็นปล้องใหญ่และยาว มีสีขาวงาช้าง ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลม เมื่อแก่จะนำมาต้มหรือทำยา
สรรพคุณ :
มีรสหวานมัน แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง ช่วยให้สดชื่น ช่วยเจริญอาหาร ดับกระหาย แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ดับพิษร้อนให้ปอดชุ่มชื้น ช่วยลดความดันโลหิต แก้ปวดบวม มีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร ร่างกายขาดความสมดุล ผู้อยู่ในวัยทองมีอาการนอนไม่หลับก็สามารถช่วยได้ รากบัวใช้ทำกินได้ทั้งอาหารคาว-หวาน จะต้มกินน้ำหรือคั้นดื่มสดๆ ก็ได้ตามชอบ
ต้มกิน
เป็น วิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป คือเอารากบัวมาฝานเป็นแว่นมากน้อยตามต้องการ ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที แล้วรินดื่มแต่น้ำ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว อาจเติมน้ำผึ้งได้เพื่อให้รสชาติดื่มง่ายขึ้น แต่ไม่ควรเติมน้ำตาลทราย เพราะยิ่งทำให้ร้อนใน สูตรนี้ใช้ดื่มดับกระหายได้ดี
คั้นเอาน้ำกิน
ราก บัวสด ๆ มีฤทธิ์แก้ร้อนในได้ดีกว่าน้ำต้มรากบัว วิธีกินให้เอารากมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำกิน ครั้งละ 3-4 ช้อนแกง วันละ 3-4 ครั้ง หากมีเสมหะเหนียวติดคอดื่มน้ำรากบัวสดสูตร 2-3 อาการจะค่อยทุเลาลง เพราะรสชาติเฝื่อนของรากบัวมีสรรพคุณในการสลายพิษ ช่วยละลายเสมหะได้
นอกจากนี้รากบัวยังนำมาทำอาหารคาว อาทิ ต้มกระดูกหมู ก็ได้ประโยชน์และรสชาติที่แสนอร่อยไม่น้อย
ข้อควรระวัง : ผู้ ป่วยที่มีปัญหาทางด้านกระเพาะไม่ควรรับประทานน้ำรากบัวที่คั้นสดโดยตรง แต่ให้เติมน้ำเพิ่มประมาณ 30 เท่า จากนั้นนำไปต้มจนระเหยเหลือ 20 เท่าจากปริมาณเดิม ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากทุกๆ 30 นาที แทน
เป็นเหง้าใต้ดินลักษณะเป็นปล้องใหญ่และยาว มีสีขาวงาช้าง ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลม เมื่อแก่จะนำมาต้มหรือทำยา
สรรพคุณ :
มีรสหวานมัน แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง ช่วยให้สดชื่น ช่วยเจริญอาหาร ดับกระหาย แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ดับพิษร้อนให้ปอดชุ่มชื้น ช่วยลดความดันโลหิต แก้ปวดบวม มีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร ร่างกายขาดความสมดุล ผู้อยู่ในวัยทองมีอาการนอนไม่หลับก็สามารถช่วยได้ รากบัวใช้ทำกินได้ทั้งอาหารคาว-หวาน จะต้มกินน้ำหรือคั้นดื่มสดๆ ก็ได้ตามชอบ
ต้มกิน
เป็น วิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป คือเอารากบัวมาฝานเป็นแว่นมากน้อยตามต้องการ ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที แล้วรินดื่มแต่น้ำ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว อาจเติมน้ำผึ้งได้เพื่อให้รสชาติดื่มง่ายขึ้น แต่ไม่ควรเติมน้ำตาลทราย เพราะยิ่งทำให้ร้อนใน สูตรนี้ใช้ดื่มดับกระหายได้ดี
คั้นเอาน้ำกิน
ราก บัวสด ๆ มีฤทธิ์แก้ร้อนในได้ดีกว่าน้ำต้มรากบัว วิธีกินให้เอารากมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำกิน ครั้งละ 3-4 ช้อนแกง วันละ 3-4 ครั้ง หากมีเสมหะเหนียวติดคอดื่มน้ำรากบัวสดสูตร 2-3 อาการจะค่อยทุเลาลง เพราะรสชาติเฝื่อนของรากบัวมีสรรพคุณในการสลายพิษ ช่วยละลายเสมหะได้
นอกจากนี้รากบัวยังนำมาทำอาหารคาว อาทิ ต้มกระดูกหมู ก็ได้ประโยชน์และรสชาติที่แสนอร่อยไม่น้อย
ข้อควรระวัง : ผู้ ป่วยที่มีปัญหาทางด้านกระเพาะไม่ควรรับประทานน้ำรากบัวที่คั้นสดโดยตรง แต่ให้เติมน้ำเพิ่มประมาณ 30 เท่า จากนั้นนำไปต้มจนระเหยเหลือ 20 เท่าจากปริมาณเดิม ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากทุกๆ 30 นาที แทน
สรรพคุณรากบัว
บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว
ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ
ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว
บัวจัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี
บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร
ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า
ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย
กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย
กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี
คนเอเซียยกให้ดอกบัว เป็นดอกไม้แห่งความบริสุทธิ์และปัญญา
ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมีมายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่าชาติใด เนื่องจากเชื่อว่า การกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่งเพราะนอกจากบัว จะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้ว ยังถือว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธี วิวาห์และความรักของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า..." ตัดบัวยังเหลือใย " และเมืองไทยอย่างบ้านเราก็มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาแต่ช้านานเช่นกัน
คนสมัยก่อนใช้รากบัว เป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณเพราะมี สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน อาการไอ คนไข้ที่มีไข้สูง หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน
คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้มรากบัววันละ 2 - 3 แก้ว จะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหารได้ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดิน ไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และช่องทวารหนัก (ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด
นอกจากสรรพคุณที่หลากหลายตามตำราโบร่ำโบราณที่กล่าวมาล้ว ข้อมูลทางโภชนาการและงานวิจัย ยังบอกว่ารากบัวเป็นอาหารชั้นดี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ประกอบไปด้วยใยอาหาร ที่ช่วยระบบขับถ่าย และมีผลช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ในรากบัวยังพบวิตามินซี, วิตามินบี 1(ไทอามีน), วิตามินบี 2(ไรโบเฟลวิน), วิตามินบี 3(ไนอาซิน), วิตามินบี 5(กรดแพนโทธีนิก), วิตามินบี 6, โฟเลท และแร่ธาตุ ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยเป็นตัวช่วยในการทำงานของเอนไซม์ ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ไปจนถึงช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนแร่ธาตุ ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่อย่างปกติเช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้น ในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเส้นเลือดภายใน เนื้องอกได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีกด้วย เห็นไหมว่าประโยชน์มากมายขนาดนี้ เรามาดูวิธีการทำที่แสนง่ายของ”น้ำรากบัว”กันค่ะ เริ่มตั้งแต่การล้างและปอกเปลือกนอกออกก่อน หั่นเจ้ารากบัวเป็นแว่น ๆ หนาบางตามความชอบ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด ใส่รากบัวที่หั่นแล้วลงไป ต้มทิ้งไว้สัก 20 นาที จนน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เติมน้ำตาลกรวด หรือน้ำตาลทรายแดง ตามใจชอบ แนะนำว่าให้ใส่น้อย ๆ ให้พอมีรสหวานหน่อย ๆ ก็พอ แค่นี้ เราก็ได้น้ำรากบัว ที่แสนอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายกันแล้
ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมีมายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่าชาติใด เนื่องจากเชื่อว่า การกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่งเพราะนอกจากบัว จะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้ว ยังถือว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธี วิวาห์และความรักของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า..." ตัดบัวยังเหลือใย " และเมืองไทยอย่างบ้านเราก็มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาแต่ช้านานเช่นกัน
คนสมัยก่อนใช้รากบัว เป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณเพราะมี สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน อาการไอ คนไข้ที่มีไข้สูง หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน
คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้มรากบัววันละ 2 - 3 แก้ว จะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหารได้ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดิน ไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และช่องทวารหนัก (ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด
นอกจากสรรพคุณที่หลากหลายตามตำราโบร่ำโบราณที่กล่าวมาล้ว ข้อมูลทางโภชนาการและงานวิจัย ยังบอกว่ารากบัวเป็นอาหารชั้นดี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ประกอบไปด้วยใยอาหาร ที่ช่วยระบบขับถ่าย และมีผลช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ในรากบัวยังพบวิตามินซี, วิตามินบี 1(ไทอามีน), วิตามินบี 2(ไรโบเฟลวิน), วิตามินบี 3(ไนอาซิน), วิตามินบี 5(กรดแพนโทธีนิก), วิตามินบี 6, โฟเลท และแร่ธาตุ ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยเป็นตัวช่วยในการทำงานของเอนไซม์ ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ไปจนถึงช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนแร่ธาตุ ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่อย่างปกติเช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้น ในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเส้นเลือดภายใน เนื้องอกได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีกด้วย เห็นไหมว่าประโยชน์มากมายขนาดนี้ เรามาดูวิธีการทำที่แสนง่ายของ”น้ำรากบัว”กันค่ะ เริ่มตั้งแต่การล้างและปอกเปลือกนอกออกก่อน หั่นเจ้ารากบัวเป็นแว่น ๆ หนาบางตามความชอบ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด ใส่รากบัวที่หั่นแล้วลงไป ต้มทิ้งไว้สัก 20 นาที จนน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เติมน้ำตาลกรวด หรือน้ำตาลทรายแดง ตามใจชอบ แนะนำว่าให้ใส่น้อย ๆ ให้พอมีรสหวานหน่อย ๆ ก็พอ แค่นี้ เราก็ได้น้ำรากบัว ที่แสนอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายกันแล้
กสรบัวหลวง สารพัดประโยชน์
สรรพคุณ : ผิวหหน้า
1. คุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ผิวขาวหรือยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนส (สาเหตุของผิวคล้ำ ฝ้า จุดด่างดำ)
2. ช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ผิวหน้าเกิดจุด ด่างดำ กระ ฝ้า ชะลอการเจริญของเม็ดสี Melanin
3. ช่วยผลัดเซลล์ผิวหมองคล้ำอย่างประสิทธิภาพ ซึ่งจะค่อยๆผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกโดยไม่ทำให้ผิวบอบช้ำ
4. ช่วยในเรื่องของการชะลอการเกิดริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ ลดความหมองคล้ำ ให้แลดูอ่อนเยาว์ มีสุขภาพดี
5. Vitamin A - Palminate ซึ่งจะช่วยให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
วิธีใช้ : ปรับผิว ขาว ใส ลดรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ
1. ผงเกาสรบัวหลวง ผงมะหาด ผงทานาคา ผงนางคำ มะขามพะเยา อย่างละ 1 ช้อนชา
2. น้ำสะอาด (นม น้ำผึ้ง โยเกิต) 2-3 ช้อนโต๊ะ
3. พอกทิ้งไว้ 30-40 นาที ล้างออกด้วยน้ำ(สบู่ โฟม)
4. ทาครีมตามปกติ พอกอาทิตย์ละ 2-4 ครั้ง หรือทุกวันตามสะดวกเลยคะ
ปล. สามารถใส่สมุนไพรเพิ่มตามต้องการได้คะ
ปล. ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลดี
สรรพคุณ : บำรุงร่างกาย
1. สามารถใช้แก้พิษไข้ เข้าตำรับยาและยาหอมหลายขนาน
2. เป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ลม บำรุงครรภ์ บำรุงมดลูก บำรุงสมอง
3. จากการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน พบว่า มีสารอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งการเต้นผิดปกติของหัวใจ ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
4. สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในคนปกติและในคนที่เป็นเบาหวาน
วิธีรับประทาน
1. ผงเกสรบัวหลวง 1 ช้อนชา
2. ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที
3. ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม รุ่น คุณตา คุณยาย ถึงมีอายุยืนยาว แข็งแรง แล้วยังมีผิวขาว ใส อีกด้วย สมุนไพรไทย เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ถูกทาง สามารถทำให้มีสุขกายที่แข็งแรง ผิวสุขภาพดี โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี ลองนำวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้กันดูนะคะ " สวย ใส อย่างมีสติ "
กสรบัวหลวง สารพัดประโยชน์
เกสรบัวหลวง เป็นเกสรที่อยู่ในดอกบัวหลวงมีรสชาติฝาดหอม สามารถใช้แก้พิษไข้ บำรุงครรภ์ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ทำให้ชื่นใจ เข้าตำรับยาและยาหอมหลายขนาน
เมื่อนำมาสกัดด้วยกระบวนการทางเคมี สามารถสกัดได้สารสำคัญ ได้แก่
kaempferol, kaempferol 3-0-B-D-glucopyranoside,
sitosterol-3-0-B-D-glucopyranoside ซึ่งมีคุณสมบัติ
ในการกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ผิวขาวหรือยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนส
(สาเหตุของผิวคล้ำ ฝ้า จุดด่างดำ)
จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อช่วยชะลอริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ
ลดความหมองคล้ำ ให้แลดูอ่อนเยาว์ มีสุขภาพดี
โดยใช้ชื่อทางการค้าของสารสกัดจากเกสรบัวหลวงนี้ว่า Lotus Spirit
ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกที่นำเกสรบัวหลวงมาประยุกต์ใช้ในวงการ
เครื่องสำอาง
นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดเผยคุณประโยชน์ของเกสรบัวหลวงทางวิทยาศาสตร์ที่คน สมัยก่อนใช้เข้าตำรายาและยาหอมหลายขนาน ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ประโยชน์ในด้านการกำจัดสารพิษได้อีกทางหนึ่ง
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “การ นำสารสกัดจากเกสรบัวหลวงมาใช้เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ร่วมกับนาโนเทคโนโลยี นับว่าเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาจาก ภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่อันนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ต่อไป”
นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดเผยคุณประโยชน์ของเกสรบัวหลวงทางวิทยาศาสตร์ที่คน สมัยก่อนใช้เข้าตำรายาและยาหอมหลายขนาน ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ประโยชน์ในด้านการกำจัดสารพิษได้อีกทางหนึ่ง
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “การ นำสารสกัดจากเกสรบัวหลวงมาใช้เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ร่วมกับนาโนเทคโนโลยี นับว่าเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาจาก ภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่อันนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ต่อไป”
เกสรบัวหลวง : Lianxu (莲须)
เกสรบัวหลวง หรือ เหลียนซู คือ เกสรตัวผู้ที่ทำให้แห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. วงศ์ Nymphaeaceae1
เกสรบัวหลวง (Stamen Nelumbinis)
- ชื่อไทย: เกสรบัวหลวง, เกสรบัว (ทั่วไป); เกสรสัตตบงกช, เกสรสัตตบุษย์ (ภาคกลาง)2
- ชื่อจีน: เหลียนซู (จีนกลาง), โหน่ยชิว (จีนแต้จิ๋ว)1
- ชื่ออังกฤษ: Lotus Stamen1
- ชื่อเครื่องยา: Stamen Nelumbinis1
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว: เก็บดอกบัวที่บานเต็มที่ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสในฤดูร้อน แยกเอาเฉพาะเกสรตัวผู้ คลุมด้วย กระดาษ ตากแดดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี1
การเตรียมตัวยาพร้อมใช้: นำวัตถุดิบสมุนไพรมาคัดแยกเอาสิ่งปนปลอมออก ร่อนเอาฝุ่นและเศษเล็ก ๆ ออก3,4
คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก: ตัวยาที่มีคุณภาพดี เกสรต้องแห้งและไม่แตกหัก สีเหลืองอ่อน เหนียวนุ่ม มีน้ำหนักเบา3,4
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน: เกสรบัวหลวง มีสรรพคุณแก้อาการฝันเปียก เลือดกำเดาไหล ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน
แก้ระดูขาว และแก้อาการท้องเสีย3
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย:
เกสรบัวหลวง มีกลิ่นหอม รสฝาด สรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น
บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ลม บำรุงครรภ์ และแก้ไข้3
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
- การแพทย์แผนจีน ใช้ 3-5 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผงรับประทาน1
- การ
แพทย์แผนไทย ใช้เกสรบัวหลวงสดหรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือชงกับน้ำร้อน 1
แก้ว(ประมาณ 240 มิลลิลิตร) แช่ทิ้งไว้ 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่
วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว หรือใช้เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผง
รับประทานครั้งละ 0.5-1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มแก้ลม3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
1.
จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากเกสรแห้ง
พบว่าค่า LD50 มีค่ามากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม
เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง5
2. สารสกัดน้ำจากเกสรบัวหลวงสามารถต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ได้อย่างอ่อน5
เอกสารอ้างอิง
1.
The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the
People’s Republic of China. Vol.I.English Edition. Beijing: People’s
Medical Publishing House, 2005.
2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.
3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.
4. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology Publishing House, 2005.
5. บพิตร กลางกัลยา, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. รายงานผลการศึกษาโครงการการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจาก สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2544.
2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.
3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.
4. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology Publishing House, 2005.
5. บพิตร กลางกัลยา, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. รายงานผลการศึกษาโครงการการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจาก สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2544.
อาหารคาวจากบัว
ตำรับอาหารส่วนใหญ่จะเป็นตำรับอาหารจากบัวหลวง ได้แก่ แกงเขียวหวานรากบัว แกงเหลืองรากบัว แกงส้มรากบัว พล่ากุ้งรากบัว ต้มขาหมูรากบัว แกงจืดใบบัวอ่อน ข้าวห่อใบบัว ห่อหมกไหลบัว ผัดเมล็ดบัว สลัด 4 สี เมี่ยงบัวหลวง กลีบบัวหลวงกรอบ
ตำรับอาหารจากบัวสาย ได้แก่ ยำสายบัว ต้มยำสายบัวน้ำข้น และ สายบัวต้มกะทิ
ใบบัว
ในประเทศจีน “ใบบัว”
จัดเป็นสมุนไพรรสขมที่มีการใช้เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกายมาช้านาน
โดยจะเลือกเก็บใบบัวที่โตเต็มที่ในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง
นำมาตากแห้งสำหรับแปรรูปเป็นสารสกัดจากสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการเป็นยาสมาน
แผล, ป้องกันไข้, ลดความดันโลหิต, ยาชูกำลัง เป็นต้น
การค้นพบของนักวิจัยสมัยใหม่ระบุอีกหนึ่งสรรพคุณที่น่าทึ่งของใบบัวว่ามี
ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมในการลดน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน
สารสกัดสามารถทำงานในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการย่อยอาหาร
ลดอาการท้องอืด ช่วยการหลั่งน้ำดี และช่วยในการสลายไขมัน
สรรพคุณที่ลดน้ำหนัก :
ขัดขวางการก่อตัวของเซลล์ไขมันและชั้นไขมัน :
ตามผลการศึกษาล่าสุด ที่จัดทำโดย Ji-Yung Park และ Huan Du นักวิทยาศาสตร์ด้านการโภชนาการและการเผาผลาญอาหาร แห่งภาควิชาอาหารและการโภชนาการ Inha University, Incheon, Korea in 2010 นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองระบุว่าสารสกัดจาก ใบบัว เมื่อรวมกับ L- carnitine มีผลในการป้องกัน adipogenesis หรือ การก่อตัวของเซลล์ไขมันและชั้นไขมัน การศึกษายังยืนยันอีกว่าใบบัวชะลอการดูดซึมของไขมันและคาร์โบไฮเดรต เพิ่มอัตราการใช้พลังงาน อัตราการเผาผลาญพลังงาน และลดไขมันในเลือด พร้อมระบุบว่า ใบบัว อย่างมีนัยสำคัญในการลดลงของน้ำหนักตัวจากการทดลองดังกล่าวลดการดูดซึมไขมันและคาร์โบไฮเดรต :
มีรายงานหลายฉบับระบุว่า สารสกัดจากใบบัว ป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วยการเข้าไปยับยั้งการดูดซึมของไขมันและ คาร์โบไฮเดรต โดยลดการดูดซึมตาร์โบไฮเดรตเข้าสู่กระแสเลือดเกินกว่าความจำเป็นเพื่อไม่ให้ เกิดการสะสมเป็นไขมันส่วนเกินและยังลดการดูดซึมไขมันบริเวณลำไส้ ร่างกายจึงได้รับไขมันน้อยลง นอกจากนี้ใบบัวยังสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน และอัตราการใช้พลังงาน เพิ่มการสลายชั้นไขมันขาว และไตรกลีเซอไรด์อย่างได้ผลเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมัน :
ข้อมูลจากการทดลองเปรียบเทียบการทำงานของใบบัวกับสิ่งมีชีวิต (Nelumbo nucifera-extract solution obtained from Silab, France) ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากใบบัวสามารถลดการสะสมของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างมี นัยสำคัญโดยไม่มีผลกระทบต่อการมีชีวิตของเซลล์ในร่างกายแต่อย่างใด สารสกัดจากใบบัวมีประสิทธิภาพในการสลายไขมันส่วนเกิน โดยทำให้ไขมันแตกตัวนำพาเข้าสู่ระบบการย่อยเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานและนำไป สู่ระบบขับถ่าย ผลการวิจัยดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงการใช้สารสกัดจากใบบัวว่ามี ผลที่ดีต่อการลดน้ำหนักและรักษาโรคอ้วนการปลูกบัวในภาชนะ
ดินและการเตรียมดิน
ดินปลูก
ดินปลูกบัวที่เหมาะสมที่สุดต้องดินที่ธาตุโปแตสเซียมค่อนข้างสูง เช่น ดินเหนียว ดินท้องนา ดินท้องร่วงสวนขุดใหม่ ไม่ควรใช้ดินที่มีซากอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายไม่หมดเพราะจะทำให้น้ำเน่า เสียได้
การเตรียมดิน
นำดินเหนียวที่ได้ตากแดดให้แห้งทุบย่อยให้มีขนาดเล็กลง (ดินเหนียวถ้าแห้งจริง ๆ แล้วจะแตกง่าย) เก็บเศษวัชพืช ที่ติดมากับดินออกให้หมด แบ่งดินที่ได้ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำไปผสมเพื่อทำเป็นดินปลูกอีกส่วนหนึ่งเป็นดินเปล่า ๆ ไม่ต้องผสมอะไรทำเป็นดินปิดหน้า
สูตรดินผสม
ดิน 10 ส่วน
ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
ร๊อคพอสเฟท 1 กำมือ/ดิน บุ๋งกี๋
ธาตุอาหารรอง 1 กำมือ/ดิน10 1 บุ๋งกี๋
ปุ๋ยคอกที่ใช้ผสมดินจะเป็นมูลอะไรก็ได้ แต่จะต้องให้แห้งและจะต้องไม่มีวัตถุอื่นเจือปนในกรณีที่ใช้ปุ๋ยคอกเป็นมูล ไก่หรือ มูลค้างคาวให้เพิ่มดินเป็น 15 ส่วน ทั้งนี้เพราะมูลทั้ง 2 ชนิดมีฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงอาจเป็นโทษต่อบัวได้
วิธีการปลูก
บัวแต่ละชนิดมีวิธีการปลูกต่างกันตามลักษณะของวัสดุปลูกและการเจริญเติบ โตสำหรับการปลูกด้วยวัตถุประสงค์ให้เป็น ไม้ดอกไม้ประดับ วัสดุปลูกคือ ส่วนของพืชที่ขยายพันธุ์ (Vegetative propagation) ได้แก่ หน่อ ไหลที่แตกต้นใหม่ เหง้า บัว และต้นอ่อนที่เกิดจากหัวหรือต้นแม่บัวแต่ละชนิดมีวิธีปลูกดังนี้
ส่วนที่ขยายพันธุ์ปลูกคือไหลที่กำลังจะแตกต้นอ่อน ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลและเนื่องจากการเจริญเติบโตของบัวหลวง สามารถสร้างไหลเจริญตามแนวนอนใต้ผิวดินไปได้ทุกทิศทางและเร็วมาก การปลูกจึงแทบไม่มีกฎเกณฑ์อะไร เพียงแต่ ฝังไหลในจุดที่ต้องการใต้ผิวดิน 8-12 เซนติเมตร กลบอัดดินให้แน่นถ้าไม่มีต้นอ่อนฝังกลบทั้งไหลบัวจะเจริญและแตก ต้นอ่อนขึ้นมาเอง ถ้ามีต้นอ่อนก็ให้ส่วนยอดของต้นที่อ่อนโผล่เหนือดินและไม่ต้องห่วงมากนัก เรื่องที่จะให้พ้นน้ำอยู่ใต้ ผิวน้ำสัก 10-15 เซนติเมตรก็ได้ไหลบัวหลวงที่ผู้เรียบเรียงสั่งมาจากต่างประเทศเป็นไหลแก่ หรือเหง้าไม่มีใบเลย มีแต่ ส่วนข้อและยอดที่จะแตกต้นใหม่ปลูกแช่ในน้ำลึก 30 เซนติเมตร เพียง 3-4 สัปดาห์ก็แตกใบขึ้นพ้นน้ำ
บัวฝรั่ง
วัสดุปลูกส่วนใหญ่จะเป็นเหง้าที่มีหน่องอกต้นแล้วซึ่งจะอยู่ส่วนปลายของหน่อ หรือเหง้า เนื่องจากการเจริญเติบโตตาม แนวนอนริมอ่างใต้ผิวดิน 3-4 เซนติเมตร อัดแน่นในส่วนปลายหันเข้ากลางอ่างอุบลชาติจะเจริญเติบโตและเลื้อย จาก ริมอ่างด้านหนึ่งไปชนริมอ่างอีกด้านหนึ่งและจะชงักการเจริญเติบโตใบเล็กลง ไม่ค่อยออกดอก หักเหง้าส่วนปลายหันกลับ ปลูกใหม่ ให้วิ่งย้อนกลับใช้หลักการเดียวกันกับปลูกโดยตรงในบ่อคอนกรีต พลาสติกหรือบ่อดิน คูคลอง ฯลฯ การปลูก แบบนี้โดยเฉพาะในบ่อกว้างที่ปลูกโดยตรงอุบลชาติจะเจริญแตกหน่อ ขยายเหง้า แผ่ออกไปเหมือนรูปพัด แต่ถ้ามีวัตถุ ประสงค์ที่จะปลูกให้เจริญเป็นกระจุกหรือวงกลมแนะนำให้ปลูกจุดละ 3 เหง้า วางเป็นรูป 3 เหลี่ย หรือ 3 ศร
อุบลชาติจะเจริญและแผ่เป็นรูปวงกลมแต่ถ้ามีพันธุ์น้อย ปลูกเหง้าเดียวแล้วค่อยหักปลายเหง้าที่แตกใหม่เข้าทิศทางที่
บัวผัน บัวเผื่อน บัวสาย และจงกลนี
เจริญเติบโตทางดิ่งจึงปลูกได้โดยตรง ณ จุดที่ต้องการ ถ้าปลูกในอ่างหรือกระถางก็ปลูกตรงกลางด้วยหัวหรือต้นอ่อนฝัง ให้อยู่ใต้ผิวดิน 2-3 เซนติเมตร อัดแน่น
หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไปสำหรับอุบลชาติเมื่อเริ่มปลูกคือ ปรับระดับน้ำให้สูงกว่าใบที่เจริญที่สุด 10-15 เซนติเมตร ธรรมชาติ ของอุบลชาติจะรัดและเร่งให้ใบเจริญขึ้นสูงเหนือน้ำภายใน 2-3 วัน
บัวกระด้ง
ปลูกโดยการเพาะเมล็ดในดินในกระถางแช่น้ำ เมื่อต้นโตแตกใบอ่อน 2-3 ใบ ขนาดใบที่ใหญ่ที่สุดยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ย้ายปลูกในกระถางใหญ่ขึ้น ๆ จนโตเต็มที่ในกระถางขนาดปากกว้าง 12 นิ้ว ยกทั้งกระถางลงฝังในบ่อให้ดิน พื้นบ่อกลบโคน 6-10 เซนติเมตร ต่อยกระถางให้แตก รื้อออกกลบดินรอบให้แน่น หรือย้ายปลูกเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไป คือเราะดินให้ยึดรากออกจากกระถางทั้งกระเปาะแล้วฝังปลูกในบ่อหลักที่อาจจะ ใช้เป็นข้อสังเกตว่าบัวจะรอดหรือไม่คือ ดูการขึ้นของขอบกระด้ง ตราบใดที่บัวยังไม่ได้ตั้งตัวได้เต็มที่ใบจะไม่ขึ้นขอบเป็นรูปกระด้งเมื่อไร แสดงว่าคงรอดตายแน่ ถ้าไม่ต้องการที่จะต่อยกระถางให้แตกย้ายปลูกครั้งสุดท้ายลงในกระถางปลูก กล้วยไม้ปากกว้าง 12 นิ้ว ที่มีรูปข้างกระถาง โดยรอบแล้วห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลงห่อกระถางด้วยพลาสติกเวลาปลูกลง บ่อรื้อพลาสติกที่ห่อออก ปลูก ณ จุดที่ต้องการทั้งกระถางเลย
หลักเกณฑ์ในการบรรจุดินและปลูกบัวในภาชนะปลูก
การบรรจุดิน
ตามปริมาณและความลึกที่บัวแต่ละพันธุ์ต้องการ บรรดุดินผสมปุ๋ยสองในสามส่วนของดินที่จะใช้ปลูกทั้งหมดอัดแน่น ชั้นล่างอีกหนึ่งในสามด้านบนบรรจุดินเหนียวป่นธรรมดา เติมน้ำพอชุ่ม อัดแน่น
การปลูกบัวหลวง-บัวฝรั่ง
เพราะเจริญเติบโตทางนอนจึงควรใช้ภาชนะทรงกว้างปลูกริมภาชนะให้ยอดหันเข้ากลางภาชนะ
ระดับน้ำ
ดินปิด 1/3
ดินผสม 2/3
การปลูกบัวผัน บัวสาย จงกลนี และบัวกระด้ง (ปลูกในภาชนะที่ใหญ่มาก) เจริญเติบโตทางตั้ง (ดิ่ง) จึงควรใช้ภาชนะ ทรงสูงปลูกกลางภาชนะ
ระดับน้ำ
ดินปิด 1/3
ดินผสม 2/3
หลักเกณฑ์ในการดูแลรักษา
บัวทุกชนิด (หรือต้นไม้ทุกชนิด) ปลูกไม่ยาก สำหรับบัว การดูแลรักษาถ้าปลูกเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับในบ้านเพียงไม่กี่ต้น เช่น ปลูกภาชนะจำกัดเป็นอ่าง ๆ หรือบ่อเล็ก ๆ ในสวนหย่อมไม่ยากเลย งานเบามาก เด็ก สตรี และคนชราก็ทำเองได้แต่ ถ้าปลูกในบ่อพลาสติกหรือบ่อดินขนาดใหญ่มีบัวเป็นสิบ ๆ ต้น งานดูแลรักษาไม่หนักแต่ใช้เวลามาก
หลักเกณฑ์และวิธีการดูแลรักษาที่สำคัญได้แก่
1. ป้องกันน้ำเสีย
โดยเฉพาะการปลูกในภาชนะจำกัดและขนาดเล็กปริมาณน้ำน้อยบัวก็เหมือนกับปลา ต้องการอากาศหายใจในน้ำถ้าน้ำเสีย อ๊อกซิเย่นไม่มีจะพาลตายได้ง่าย เด็ดใบแก่ดอกโรยทิ้งเสียก่อนจะเน่าในภาชนะหรือบ่อที่ปลูกถ้าไม่จำเป็นไม่ควร แก้ไข โดยการถ่ายน้ำเปลี่ยนน้ำใหม่บ่อย ๆ เพราะจะต้องทำให้บัวต้องปรับตัวเองตามจะเจริญเติบโตช้าแต่ถ้าจำเป็นด้วยเหตุ เช่น มีสัตว์ตายอยู่ใต้ดินปลูก ได้แก่ กิ้งกือ ไส้เดือน หรือคางคกลงไปปล้ำกัดกันตายหรือออกไข่-ออกลูกจนน้ำเน่าเสีย หรือ อินทรีย์วัตถุที่ติดมากับดินปลูกยังเน่าเปื่อยไม่หมดทำให้น้ำเน่า ถ่ายน้ำ 2-3 ครั้ง แล้วยังไม่หายต้องเปลี่ยนดินปลูกใหม่
2. ปราบตะไคร่น้ำ-สาหร่าย
ตะไคร่น้ำที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ เช่นมูลสัตว์ที่ใช้เป็นปุ๋ยคลุกที่ยังไม่สลายตัวเต็มที่ สาหร่ายอาจติดมากับดินปลูกเก็บทิ้ง ถ้าปลูกไม่กี่ต้น ถ้าปลูกมากแต่ปลูกในภาชนะจำกัดใช้ด่างทับทิมละลายน้ำในภาชนะปลูกเป็นสีบาน เย็นเข้มทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกครึ่งหนึ่งเก็บตะไคร่สาหร่ายที่ตายออกเติมน้ำใหม่ตามเดิม
3. เก็บคราบน้ำมัน
ไขมันจากกระดูกป่นหรืออินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยไม่หมดและการปลูกที่อัดดิน ไม่แน่น ดินกลบกลบดินผสมเบื้องล่าง ไม่สมบูรณ์ ไขมันจะละลายเป็นฝ้า ถ้าปลูกในอ่างหรือในภาชนะจำกัดใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปะลอยบนผิวน้ำจะช่วยซับ คราบน้ำมันออกถ้าปลูกในบ่อที่มีท่อน้ำล้น ปล่อยน้ำดันให้น้ำผิวหน้าไหลล้นออกทางท่อระบายน้ำ
4. ต้นและรากลอย
เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ที่สนใจเลิกปลูกบัวไปหลายราย โดยเฉพาะอุบลชาติ เช่น เมื่อปลูกใหม่ ๆ ถ้ากดอัดดินทับไม่แน่น ต้นเหง้าลอย รากดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นไม่ได้สังเกตได้ง่ายที่สุด ไม่โตสักที ใบเล็กลงและใบเหลือง แก่เร็ว แก้โดย การปลูกใหม่ และหาไม้ไผ่อ่อนพับครึ่งคล้ายปากเคียเสียงคร่อนต้นที่ปลูกกันไม่ให้ลอย (ชาวสวนปลูกบัวเรียกตะเกียบ) สำหรับต้นแก่ที่ปลูกไว้นานแล้ว โดยเฉพาะในภาชนะที่จำกัดอุบลชาติประเภทยืนต้นเจริญทางนอนจนไปชนอีกผนังของ อ่างหรือบ่อในหลายกรณีจะหักขึ้นบนเจริญขึ้นไปจนรากลอยตัดเหง้าที่ไม่ต้องการ ทิ้ง ปลูกใหม่
5. ที่ปลูกร้อนเกินไป
บัวทุกชนิดต้องการแดดเต็มที่ จะมีปัญหาถ้าที่ปลูกบัวตื้นน้ำน้อยแดดเผาน้ำจนร้อน สังเกตง่าย ๆ ขนาดน้ำอุ่นพอที่จะอาบได้ สบาย ๆ ก็ถือว่าร้อนแล้วสำหรับบัว บัวต้องการแดดเต็มที่วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ขยับที่ปลูกเสียใหม่ถ้าปลูกในภาชนะ ที่เคลื่อนย้ายได้หรือเปลี่ยนภาชนะที่ปลูกให้น้ำลึกขึ้น หรือถ้าเปลี่ยนอะไรไม่ได้และที่ปลูกได้แดดทั้งวัน ใช้มุ้งลวดหรือ มุ้งพลาสติกกันด้านบนเพื่อลดความเข้ม-ร้อนของแสง
6. ดินจืด
มี 2 สาเหตุ คือ ขาดปุ๋ย หรือขาดดิน (ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด) สังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าบัวใบเล็กลง เหลืองแก่เร็ว ถ้าปลูกใน บ่อดินที่เหลือเฟือก็คือขาดปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตรกลาง ๆ ทั่วไป เช่น 10-10-10, 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือปุ๋ยสำหรับบัว โดยเฉพาะถ้าปลูกในภาชนะจำกัดที่สามารถอัดปุ๋ยได้ในการจุ่มมือครั้งเดียว จะใช้ปุ๋ยห่อกระดาษอ่อนที่ใช้เข้าห้องน้ำหรือ กระดาษหนังสือพิมพ์อัดฝังโคนต้นบัวเลย แต่ถ้าต้องใช้เวลาในการฝังปุ๋ยทำปุ๋ย ลูกกอนำโดยปั้นดินหุ้มปุ๋ยผึ่งแห้งเตรียมไว้ จะใช้เมื่อไรก็ฝังโคนต้นสำหรับปริมาณใช้เท่าไรขึ้นอยู่กับการสังเกตและศึกษา เองของผู้ปลูก เพราะภาชนะปลูกเล็ก-ใหญ่ ต่างกันปริมาณน้ำปลูกมากน้อยต่างกัน ปลูกในบ่อดิน บ่อคอนกรีต พันธุ์ชนิดบัว ฯลฯ จึงไม่สามารถกำหนดเป็นเกณฑ ์ตายตัวได้ถ้าปลูกในภาชนะจำกัด อีกสาเหตุคือขาดดิน บัวจะออกรากขยายเหง้า ฯลฯ ดันดินพ้นภาชนะละลายไปอยู่กั น้ำจนในที่สุดแทบจะไม่มีดินเหลืออยู่เลย ราก-เหง้าอัดภาชนะเต็มไปหมด แก้โดยรื้อเปลี่ยนดินปลูกใหม่
7. โรค-แมลงศัตรู
ที่พบเป็นประจำ คือ โรคใบจุดและรากเน่าโรคใบจุดไม่ร้ายแรง เพราะใบบัวมีพื้นที่ปรุงอาหารมากเด็ดใบเป็นโรคทำลาย ทิ้งไป โรครากเน่ามีบ้างร้ายแรงกับบัวกระด้งและอุบลชาติ ประเภทล้มลุกบางพันธุ์ ยังไม่ทราบวิธีแก้ นอกจากนั้น คือ เก็บดินบริเวณที่เป็นโรคทำลายทิ้งเสียเลี่ยงไปปลูกบัวชนิดอื่น หรืออุบลชาติประเภทอื่นแทน แมลงที่สำคัญกินบัว ทุกชนิดคือ เพลี้ยและหนอนบัวหลวงเดือดร้อนมากที่สุด เพราะชูใบขึ้นมาให้เพลี้ยเกาะกินบัวชนิดอื่นถูกทำลายบ้างแต่ ใบลอยน้ำฝนตกน้ำกระเพื่อมก็ช่วยซัดเอาเพลี้ยหลุดลอยไปได้บ้าง (ปกติผู้ปลูกเป็นการค้าจะพ่นน้ำให้ลอยหลุดไป) ป้องกันโดยเด็ดใบที่มีเพลี้ยและหนอนท้ง-ทำลายหนอนพับหนอนพับใบเป็นศัตรูที่ สำคัญของอุบลชาติ เช่นผีเสื้อ กลางคืนจะมาวางไข่บนใบเมื่อฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินดูดน้ำเลี้ยงใบจนโตแล้ว กัดใบพับทับตัวเองเพื่อป้องกันศัตรู เช่น นก ฯลฯ ป้องกันกำจัดโดยการบี้ทำลาย บัวหลวงมีศัตรูหนอนมากที่สุดนอกเหนือจากเพลี้ยไฟซึ่งเก่ากินใต้ใบ หนอนกระทู้หนอนชอนใบ โดยเฉพาะหนอนกระทู้กินใบ โกร๋นทั้งต้นซึ่งจะเกิดในช่วงปลายฤดูฝนและในฤดูหนาวซึ่ง เป็นระยะที่บัวชงักการเจริญเติบโตด้วย กสิกรที่ปลูกบัวหลวงเป็นการค้ามักจะตัดใบทิ้ง-ทำลายหมด(ให้หมดเชื้อของหนอน) รอให้ใบแตกใหม่-ออกดอกใหม่ แมลงที่กล่าวทั้งหมดสามารถปราบและควบคุมได้พอสมควรโดยใช้ยาอะโซดริน 60 ผสมน้ำอัตราส่วนน้ำยา 1:100 (1 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร) ฉีดพ่นให้เป็นฝอยให้จับหน้าของใบบัวบาง ๆ ใบจะดูดน้ำยาเข้าไว้ เมื่อแมลงและหนอนมาดูดกินน้ำเลี้ยงของใบจะกินยาเข้าไปด้วยและตาย ฉีดพ่นทุก ๆ สัปดาห์จนกว่าจะหมดศัตรูฉีดบาง ๆ จะไม่เป็นอันตรายทั้งกับคนและปลาที่เลี้ยง
8. หอย
ส่วนใหญ่ได้แก่หอยขมและหอยคันเป็นทั้งมิตรและศัตรู หอยโข่งเป็นศัตรูที่จงใจ แต่หอยขมเป็นศัตรูที่ตั้งใจบ้างไม่ตั้งใจ บ้างคือเมื่อตอนเป็นต้นอ่อนจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากรากและใบอ่อนที่เกิดใหม่ ๆ ใต้น้ำ โดยเฉพาะอุบลชาติบัวหลวงไม่ค่อย เดือดร้อนเพราะมีสารที่เรียกว่า ดิวติน เคลือบอยู่ และก้านใบก้านดอกมีหนามเล็ก ๆ (บัวกระด้งหนามเต็มต้นไม่เดือนร้อน เลย) หอยขมและหอยโข่งเมื่อโตขึ้นจะเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบเกาะดูดน้ำ เลี้ยงจากไข่-ตัวหนอน และน้ำเลี้ยง ใบกินระหว่างเดินทางจากโคนก้านใบขึ้นมาใต้ใบ ถ้าน้ำกระเพื่อมกระเทือนจะหุบก้าน ปล่อยตัวหลุดจากก้านบัวเมื่อก้านหุบ ก็เลยเหมือนมีดตัดก้านบัวที่ยังอ่อน ๆ ขาดไปด้วยเป็นปัญหาใหญ่ของการปลูกในบ่อดินป้องกันกำจัดโดยการเก็บทิ้งและ ปลูกอุบลชาติเผื่อไว้มาก ๆ จะได้แบ่งเบาการทำลายลงไปได้บ้าง ถ้าปลูกในภาชนะจำกัดเก็บทิ้งง่ายหอยจะเป็นตัวบอกว่า น้ำเสียหรือยังถ้าน้ำเสียหอยจะลอยมาเกาะตามผนังภาชนะ ณ จุดผิวน้ำเพื่อหาอากาศหายใจแสดงว่าอ๊อกซิเย่นในน้ำไม่มี น้ำเสียแล้วควรรีบแก้ไข
9. วัชพืช
เป็นปัญหาที่ใหญ่ของการปลูกบัวในบ่อดิน หญ้ามิใช่วัชพืชหลักเพราะเมื่อถอนทิ้งไปแล้วก็หมดไปโดยเฉพาะน้ำมากและ ลึกพอควรที่เป็นปัญหาหลักคือสาหร่ายมี 2-3 ชนิด เช่น สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายวุ้น สาหร่ายไปและสาหร่ายฝอย สาหร่ายหางกระรอกปราบยากที่สุดเพราะเปาะเมื่อถูกถอนมันจะขาดส่วนที่ขาดจะลอย และไปขยายพันธุ์ต่อที่อื่น สาหร่าย วุ้นยากเป็นที่ 2 เพราะลื่นและหลุดขาดออกจากกันง่ายเช่นเดียวกับสาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายเส้น หรือสาหร่ายฝอย เก็บปราบง่ายที่สุดเพราะไม่ค่อยขาดถอนหรือเก็บได้ทั้งกระจุกแต่จะร้ายที่สุด เพราะมักจะไปพันบัวเสียจนยอดบัวเจริญ ขึ้นมาได้ ลูกบัวและก้านบัวต้นเล็ก ๆ ที่งอกจากเมล็ดจากอุบลชาติประเภทล้มลุกทั้งพวกบานกลางวันและบานกลางคืน คือบัวผัน บัวเผื่อน และบัวสายเป็นปัญหามากที่สุดและไม่รู้จักจบสำหรับการปลูกในบ่อดินที่ปลูก อุบลชาติประเภทนี้ ต้อง เก็บกันเป็นประจำทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพราะนอกจากจะทำให้บ่อบัวรกไม่สวยงามแล้ว ยังแย่งแร่ธาตุอาหารจากบัวที่ปลูก อีกด้วย วิธีแก้คือต้องขยันหมั่นเก็บดอกแก่ทิ้งก่อนติดเมล็ดถ้าปลูกบ่อใหม่และคิดว่า จะเก็บไม่ทัน และปลูกหลายบ่อแนะนำ ให้แยกปลูกอุบลชาติประเภทยืนต้นไว้บ่อหนึ่ง ล้มลุกอีกบ่อหนึ่ง เก็บลูกบัววัชพืชเฉพาะบ่อปลูกประเภทล้มลุกบ่อเดียว
10. ฟักตัวในฤดูหนาว
อุบลชาติประเภทยืนต้นหรือบัวฝรั่งหลายพันธุ์ และอุบลชาติประเภทล้มลุกบานกลางวัน หรือบัวผัน บัวเผื่อนที่นำมาจาก ต่างประเทศบางพันธุ์จะหยุดการเจริญเติบโตผลิตใบหนา ก้านใบสั้น จมอยู่ใต้น้ำในฤดูหนาวแก้โดยเพิ่มความร้อนและ แสงให้ หรือโดยการลดความลึกของระดับน้ำในบ่อที่ปลูกก่อนเข้าฤดูหนาว 1 เดือน (ประมาณกลางเดือนตุลาคม) โดย ลดระดับน้ำให้เหลือ 15-20 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือยกอ่างปลูกให้อยู่ใกล้ผิวหน้าของน้ำตามเกณฑ์ดังกล่าว
11. ปลูกบัวพันธุ์ไหนที่เหมาะสมกับสถานที่และภาชนะที่ปลูก
เป็นหัวใจของการดูและรักษาเพราะถ้าชนิดพันธุ์ไม่เหมาะสมแก่สถานที่ที่จะดูแล รักษาอย่างไรก็ไม่โต ในปัจจุบันพันธุ์ ที่มีจำหน่ายผู้ขายและผู้ปลูกควรรู้จักพันธุ์ว่าชนิดใดชอบน้ำตื้นน้ำลึก ที่ปลูกควรกว้างหรือแคบแค่ไหนผู้ผลิตพันธุ์ออกมา จำหน่ายจะต้องบอกได้ว่าบัวพันธุ์นั้น ๆ ต้องการที่ปลูกอย่างไร
12. อย่าให้อดอาหารและอย่าให้กินจนเป็นโรคท้องมาร
ใส่ปุ๋ยบำรุงตามความจำเป็นถ้าใส่มากเกินไปน้ำจะเขียว ปุ๋ยสูตรสมดุล10-10-10, 12-12-12, 15-15-15 หรือ 16-16-16 ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ 2 ชั้น หรือปั้นเอาดินเหนียวหุ้มปริมาณเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการสังเกตของผู้ปลูก เพราะผู้ปลูกแต่ละ รายปลูกในภาชนะขนาดแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยแต่ละครั้งต้องหมั่นสังเกตถ้าน้ำเขียว ตะไคร่ สาหร่ายขึ้นเร็วแสดงว่าให้ปุ๋ย มากเกินไปควรลดปริมาณหรือความถี่ในการให้ปุ๋ยลง
13. เลี้ยงปลาที่ไม่กินพืช
เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด หรือปลากัด เพราะจะช่วยกินลูกน้ำ
14. อย่าให้บัวขยายพันธุ์จนแน่นในภาชนะเดียวกัน
บัวฝรั่งจะแตกต่าง บัวสาย บัวหลวง จะแตกไหลไปขึ้นต้นใหม่ บัวผันหรือบัวสายเกิดเมล็ดงอกเป็นต้นใหม่แน่นภาชนะ ให้เอาออกเพราะหากแน่นมากไปต้นจะไม่ออกดอก
15. อย่าปลูกบัวหลายพันธุ์ในภาชนะเดียวกัน
ต้นจากพันธุ์ที่แข็งแรงโตเร็วจะเบียดต้นอ่อนแอจนตายไปในที่สุด
16. บัวฝรั่ง บัวหลวง เจริญตามแนวนอน
ถ้าพุ่งชนภาชนะเมื่อไรจะชงักการเจริญเติบโต หักเหง้าหรือไหลให้ยอดหันกลับทางกลางอ่างหรือบ่อ
17. ไม่จำเป็นอย่าถ่ายน้ำในบ่อบัว
เพราะจะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากที่บัวเคยชิน บัวจะไม่งาม ถ้าจำเป็นจะต้องถ่ายควรถ่ายออกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ครึ่งหนึ่งจะเป็นการดี
18. เปลี่ยนดินปลูกใหม่
ควรเปลี่ยนเมื่อรากแน่นภาชนะที่ปลูกและถ้าปลูกในภาชนะที่จำกัดหรือถ้าปลูกในบ่อและนาน ๆ หลาย ๆ ปี ก็น่าต้องเปลี่ยน หน้าดินเหมือนกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)