ส่วนผสม
เม็ดบัวแห้งนึ่งให้สุก 4 ½ ถ้วยตวง น้ำตาลทราย ½ ถ้วยตวง มะพร้าว 800 กรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม น้ำลอยดอกมะลิ 4 ถ้วยตวง ไข่ 8 ฟอง |
||||
วิธีทำ
1. นำเม็ดบัวแช่น้ำ 1-2 ชั่วโมง 2. นำเม็ดบัวนึ่งให้สุก 3. คั้นกะทิให้ได้ 4 ถ้วยตวง 4. ผสมน้ำตาลทรายกับกะทิ คนให้ละลาย 5. ผสมเม็ดบัวกับกะทิในข้อ 4 ปั่นให้ละเอียด 6. นำส่วนผสมที่บดละเอียดแล้วใส่กะทะทอง ตั้งไฟกวนจนแห้งไม่ติดกะทะ เป็นก้อนกลม ยกลง ตักใส่ภาชนะ ผึ่งไว้ให้เย็น 7. ปั้นเป็นลูกกลมรี 8. นำน้ำตาลทรายผสมน้ำลอยดอกมะลิ ตั้งไฟเคี่ยวจนเข้มข้น พักไว้ 9. ต่อยไข่แยกไข่ขาวไข่แดง ใช้เฉพาะไข่แดง คนให้ไข่แตก 10. นำเม็ดบัวที่ปั้นไว้ชุบไข่ ใส่ลงในน้ำเชื่อมให้เต็มกะทะแล้วจึงนำไปตั้งไฟ 11. พอเดือดตักออก |
เม็ดขนุนไส้เม็ดบัวแห้ง
การดูแลรักษาบัวเมื่อเข้าฤดูหนาว
บัวและไม้น้ำ-ไม้บกอีกหลายชนิด
เมื่อเข้าฤดูหนาวจะพักการเจริญเติบโต สลัดใบทิ้ง อาหารที่สะสมไว้จะเปลี่ยนสภาพจากน้ำตาล (รูปแบบต่างๆ) เป็นแป้งเก็บไว้ในต้น หน่อหรือหัว เมื่อหมดฤดูหนาวเริ่มเจริญเติบโตใหม่จึงนำมาใช้ |
ประโยชน์จากบัว
ประโยชน์นานาจาก “บัว“
บัวมีชาติกำเนิดในโคลนตม แต่ดอกใบมีความสะอาดสวยงาม กลิ่นหอมหลุดพ้นจากสิ่งปฏิกูล ชูดอกใบอย่างสูงศักดิ์ อวดความสวยงาม จนได้ชื่อว่า “บงกช” อันแปลว่า เกิดจากตม กล่าวได้ว่า ทุกส่วนของบัวกินเป็นอาหารได้ และทุกส่วนของบัวก็ใช้ประโยชน์เป็นยาได้
รากบัวสมุนไพรสารพัดประโยชน์
รากบัว (Nelumbo nucifera Gaertn)
เป็นเหง้าใต้ดินลักษณะเป็นปล้องใหญ่และยาว มีสีขาวงาช้าง ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลม เมื่อแก่จะนำมาต้มหรือทำยา
สรรพคุณ :
มีรสหวานมัน แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง ช่วยให้สดชื่น ช่วยเจริญอาหาร ดับกระหาย แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ดับพิษร้อนให้ปอดชุ่มชื้น ช่วยลดความดันโลหิต แก้ปวดบวม มีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร ร่างกายขาดความสมดุล ผู้อยู่ในวัยทองมีอาการนอนไม่หลับก็สามารถช่วยได้ รากบัวใช้ทำกินได้ทั้งอาหารคาว-หวาน จะต้มกินน้ำหรือคั้นดื่มสดๆ ก็ได้ตามชอบ
ต้มกิน
เป็น วิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป คือเอารากบัวมาฝานเป็นแว่นมากน้อยตามต้องการ ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที แล้วรินดื่มแต่น้ำ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว อาจเติมน้ำผึ้งได้เพื่อให้รสชาติดื่มง่ายขึ้น แต่ไม่ควรเติมน้ำตาลทราย เพราะยิ่งทำให้ร้อนใน สูตรนี้ใช้ดื่มดับกระหายได้ดี
คั้นเอาน้ำกิน
ราก บัวสด ๆ มีฤทธิ์แก้ร้อนในได้ดีกว่าน้ำต้มรากบัว วิธีกินให้เอารากมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำกิน ครั้งละ 3-4 ช้อนแกง วันละ 3-4 ครั้ง หากมีเสมหะเหนียวติดคอดื่มน้ำรากบัวสดสูตร 2-3 อาการจะค่อยทุเลาลง เพราะรสชาติเฝื่อนของรากบัวมีสรรพคุณในการสลายพิษ ช่วยละลายเสมหะได้
นอกจากนี้รากบัวยังนำมาทำอาหารคาว อาทิ ต้มกระดูกหมู ก็ได้ประโยชน์และรสชาติที่แสนอร่อยไม่น้อย
ข้อควรระวัง : ผู้ ป่วยที่มีปัญหาทางด้านกระเพาะไม่ควรรับประทานน้ำรากบัวที่คั้นสดโดยตรง แต่ให้เติมน้ำเพิ่มประมาณ 30 เท่า จากนั้นนำไปต้มจนระเหยเหลือ 20 เท่าจากปริมาณเดิม ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากทุกๆ 30 นาที แทน
เป็นเหง้าใต้ดินลักษณะเป็นปล้องใหญ่และยาว มีสีขาวงาช้าง ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลม เมื่อแก่จะนำมาต้มหรือทำยา
สรรพคุณ :
มีรสหวานมัน แก้อาการอ่อนเพลีย ชูกำลัง ช่วยให้สดชื่น ช่วยเจริญอาหาร ดับกระหาย แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ดับพิษร้อนให้ปอดชุ่มชื้น ช่วยลดความดันโลหิต แก้ปวดบวม มีประโยชน์ต่อกระเพาะอาหาร ร่างกายขาดความสมดุล ผู้อยู่ในวัยทองมีอาการนอนไม่หลับก็สามารถช่วยได้ รากบัวใช้ทำกินได้ทั้งอาหารคาว-หวาน จะต้มกินน้ำหรือคั้นดื่มสดๆ ก็ได้ตามชอบ
ต้มกิน
เป็น วิธีที่นิยมใช้กันทั่วไป คือเอารากบัวมาฝานเป็นแว่นมากน้อยตามต้องการ ใส่น้ำพอท่วม ต้มให้เดือดนาน 10-15 นาที แล้วรินดื่มแต่น้ำ วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว อาจเติมน้ำผึ้งได้เพื่อให้รสชาติดื่มง่ายขึ้น แต่ไม่ควรเติมน้ำตาลทราย เพราะยิ่งทำให้ร้อนใน สูตรนี้ใช้ดื่มดับกระหายได้ดี
คั้นเอาน้ำกิน
ราก บัวสด ๆ มีฤทธิ์แก้ร้อนในได้ดีกว่าน้ำต้มรากบัว วิธีกินให้เอารากมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำกิน ครั้งละ 3-4 ช้อนแกง วันละ 3-4 ครั้ง หากมีเสมหะเหนียวติดคอดื่มน้ำรากบัวสดสูตร 2-3 อาการจะค่อยทุเลาลง เพราะรสชาติเฝื่อนของรากบัวมีสรรพคุณในการสลายพิษ ช่วยละลายเสมหะได้
นอกจากนี้รากบัวยังนำมาทำอาหารคาว อาทิ ต้มกระดูกหมู ก็ได้ประโยชน์และรสชาติที่แสนอร่อยไม่น้อย
ข้อควรระวัง : ผู้ ป่วยที่มีปัญหาทางด้านกระเพาะไม่ควรรับประทานน้ำรากบัวที่คั้นสดโดยตรง แต่ให้เติมน้ำเพิ่มประมาณ 30 เท่า จากนั้นนำไปต้มจนระเหยเหลือ 20 เท่าจากปริมาณเดิม ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากทุกๆ 30 นาที แทน
สรรพคุณรากบัว
บัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว
ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ
ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัว
บัวจัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของคุณงามความดี
บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร
ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า
ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย
กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย
กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี
คนเอเซียยกให้ดอกบัว เป็นดอกไม้แห่งความบริสุทธิ์และปัญญา
ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมีมายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่าชาติใด เนื่องจากเชื่อว่า การกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่งเพราะนอกจากบัว จะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้ว ยังถือว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธี วิวาห์และความรักของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า..." ตัดบัวยังเหลือใย " และเมืองไทยอย่างบ้านเราก็มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาแต่ช้านานเช่นกัน
คนสมัยก่อนใช้รากบัว เป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณเพราะมี สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน อาการไอ คนไข้ที่มีไข้สูง หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน
คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้มรากบัววันละ 2 - 3 แก้ว จะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหารได้ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดิน ไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และช่องทวารหนัก (ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด
นอกจากสรรพคุณที่หลากหลายตามตำราโบร่ำโบราณที่กล่าวมาล้ว ข้อมูลทางโภชนาการและงานวิจัย ยังบอกว่ารากบัวเป็นอาหารชั้นดี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ประกอบไปด้วยใยอาหาร ที่ช่วยระบบขับถ่าย และมีผลช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ในรากบัวยังพบวิตามินซี, วิตามินบี 1(ไทอามีน), วิตามินบี 2(ไรโบเฟลวิน), วิตามินบี 3(ไนอาซิน), วิตามินบี 5(กรดแพนโทธีนิก), วิตามินบี 6, โฟเลท และแร่ธาตุ ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยเป็นตัวช่วยในการทำงานของเอนไซม์ ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ไปจนถึงช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนแร่ธาตุ ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่อย่างปกติเช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้น ในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเส้นเลือดภายใน เนื้องอกได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีกด้วย เห็นไหมว่าประโยชน์มากมายขนาดนี้ เรามาดูวิธีการทำที่แสนง่ายของ”น้ำรากบัว”กันค่ะ เริ่มตั้งแต่การล้างและปอกเปลือกนอกออกก่อน หั่นเจ้ารากบัวเป็นแว่น ๆ หนาบางตามความชอบ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด ใส่รากบัวที่หั่นแล้วลงไป ต้มทิ้งไว้สัก 20 นาที จนน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เติมน้ำตาลกรวด หรือน้ำตาลทรายแดง ตามใจชอบ แนะนำว่าให้ใส่น้อย ๆ ให้พอมีรสหวานหน่อย ๆ ก็พอ แค่นี้ เราก็ได้น้ำรากบัว ที่แสนอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายกันแล้
ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมีมายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่าชาติใด เนื่องจากเชื่อว่า การกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่งเพราะนอกจากบัว จะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้ว ยังถือว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธี วิวาห์และความรักของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า..." ตัดบัวยังเหลือใย " และเมืองไทยอย่างบ้านเราก็มีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาแต่ช้านานเช่นกัน
คนสมัยก่อนใช้รากบัว เป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณเพราะมี สรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน อาการไอ คนไข้ที่มีไข้สูง หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน
คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้มรากบัววันละ 2 - 3 แก้ว จะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหารได้ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดิน ไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และช่องทวารหนัก (ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงและมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด
นอกจากสรรพคุณที่หลากหลายตามตำราโบร่ำโบราณที่กล่าวมาล้ว ข้อมูลทางโภชนาการและงานวิจัย ยังบอกว่ารากบัวเป็นอาหารชั้นดี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ ประกอบไปด้วยใยอาหาร ที่ช่วยระบบขับถ่าย และมีผลช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ในรากบัวยังพบวิตามินซี, วิตามินบี 1(ไทอามีน), วิตามินบี 2(ไรโบเฟลวิน), วิตามินบี 3(ไนอาซิน), วิตามินบี 5(กรดแพนโทธีนิก), วิตามินบี 6, โฟเลท และแร่ธาตุ ต่าง ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซึ่งวิตามินเหล่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยเป็นตัวช่วยในการทำงานของเอนไซม์ ทำให้เซลล์ทำหน้าที่ได้ตามปกติ ไปจนถึงช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่วนแร่ธาตุ ก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่อย่างปกติเช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย เป็นต้น ในรากบัวยังพบ “ฟลาโวนอยด์” ซึ่งเป็นสารกลุ่มโฟลีฟีนอล ที่จัดเป็นพฤกษเคมีที่มีคุณสมบัติเด่น ในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเส้นเลือดภายใน เนื้องอกได้ และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอีกด้วย เห็นไหมว่าประโยชน์มากมายขนาดนี้ เรามาดูวิธีการทำที่แสนง่ายของ”น้ำรากบัว”กันค่ะ เริ่มตั้งแต่การล้างและปอกเปลือกนอกออกก่อน หั่นเจ้ารากบัวเป็นแว่น ๆ หนาบางตามความชอบ ล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด ใส่รากบัวที่หั่นแล้วลงไป ต้มทิ้งไว้สัก 20 นาที จนน้ำเริ่มเปลี่ยนสี เติมน้ำตาลกรวด หรือน้ำตาลทรายแดง ตามใจชอบ แนะนำว่าให้ใส่น้อย ๆ ให้พอมีรสหวานหน่อย ๆ ก็พอ แค่นี้ เราก็ได้น้ำรากบัว ที่แสนอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายกันแล้
กสรบัวหลวง สารพัดประโยชน์
สรรพคุณ : ผิวหหน้า
1. คุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ผิวขาวหรือยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนส (สาเหตุของผิวคล้ำ ฝ้า จุดด่างดำ)
2. ช่วยต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ผิวหน้าเกิดจุด ด่างดำ กระ ฝ้า ชะลอการเจริญของเม็ดสี Melanin
3. ช่วยผลัดเซลล์ผิวหมองคล้ำอย่างประสิทธิภาพ ซึ่งจะค่อยๆผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกโดยไม่ทำให้ผิวบอบช้ำ
4. ช่วยในเรื่องของการชะลอการเกิดริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ ลดความหมองคล้ำ ให้แลดูอ่อนเยาว์ มีสุขภาพดี
5. Vitamin A - Palminate ซึ่งจะช่วยให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
วิธีใช้ : ปรับผิว ขาว ใส ลดรอย ฝ้า กระ จุดด่างดำ
1. ผงเกาสรบัวหลวง ผงมะหาด ผงทานาคา ผงนางคำ มะขามพะเยา อย่างละ 1 ช้อนชา
2. น้ำสะอาด (นม น้ำผึ้ง โยเกิต) 2-3 ช้อนโต๊ะ
3. พอกทิ้งไว้ 30-40 นาที ล้างออกด้วยน้ำ(สบู่ โฟม)
4. ทาครีมตามปกติ พอกอาทิตย์ละ 2-4 ครั้ง หรือทุกวันตามสะดวกเลยคะ
ปล. สามารถใส่สมุนไพรเพิ่มตามต้องการได้คะ
ปล. ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลดี
สรรพคุณ : บำรุงร่างกาย
1. สามารถใช้แก้พิษไข้ เข้าตำรับยาและยาหอมหลายขนาน
2. เป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ลม บำรุงครรภ์ บำรุงมดลูก บำรุงสมอง
3. จากการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน พบว่า มีสารอัลคาลอยด์ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งการเต้นผิดปกติของหัวใจ ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
4. สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในคนปกติและในคนที่เป็นเบาหวาน
วิธีรับประทาน
1. ผงเกสรบัวหลวง 1 ช้อนชา
2. ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้นาน 10-15 นาที
3. ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่ ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง
ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม รุ่น คุณตา คุณยาย ถึงมีอายุยืนยาว แข็งแรง แล้วยังมีผิวขาว ใส อีกด้วย สมุนไพรไทย เมื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ถูกทาง สามารถทำให้มีสุขกายที่แข็งแรง ผิวสุขภาพดี โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมี ลองนำวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้กันดูนะคะ " สวย ใส อย่างมีสติ "
กสรบัวหลวง สารพัดประโยชน์
เกสรบัวหลวง เป็นเกสรที่อยู่ในดอกบัวหลวงมีรสชาติฝาดหอม สามารถใช้แก้พิษไข้ บำรุงครรภ์ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ทำให้ชื่นใจ เข้าตำรับยาและยาหอมหลายขนาน
เมื่อนำมาสกัดด้วยกระบวนการทางเคมี สามารถสกัดได้สารสำคัญ ได้แก่
kaempferol, kaempferol 3-0-B-D-glucopyranoside,
sitosterol-3-0-B-D-glucopyranoside ซึ่งมีคุณสมบัติ
ในการกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้ผิวขาวหรือยับยั้ง เอนไซม์ไทโรซิเนส
(สาเหตุของผิวคล้ำ ฝ้า จุดด่างดำ)
จึงถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อช่วยชะลอริ้วรอย บำรุงผิวพรรณ
ลดความหมองคล้ำ ให้แลดูอ่อนเยาว์ มีสุขภาพดี
โดยใช้ชื่อทางการค้าของสารสกัดจากเกสรบัวหลวงนี้ว่า Lotus Spirit
ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมล่าสุดของโลกที่นำเกสรบัวหลวงมาประยุกต์ใช้ในวงการ
เครื่องสำอาง
นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดเผยคุณประโยชน์ของเกสรบัวหลวงทางวิทยาศาสตร์ที่คน สมัยก่อนใช้เข้าตำรายาและยาหอมหลายขนาน ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ประโยชน์ในด้านการกำจัดสารพิษได้อีกทางหนึ่ง
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “การ นำสารสกัดจากเกสรบัวหลวงมาใช้เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ร่วมกับนาโนเทคโนโลยี นับว่าเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาจาก ภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่อันนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ต่อไป”
นอกจากนี้ยังเป็นการเปิดเผยคุณประโยชน์ของเกสรบัวหลวงทางวิทยาศาสตร์ที่คน สมัยก่อนใช้เข้าตำรายาและยาหอมหลายขนาน ซึ่งอาจหมายถึงการใช้ประโยชน์ในด้านการกำจัดสารพิษได้อีกทางหนึ่ง
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “การ นำสารสกัดจากเกสรบัวหลวงมาใช้เป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ร่วมกับนาโนเทคโนโลยี นับว่าเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีการนำผลงานวิจัยและพัฒนาจาก ภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ร่วมกับวิทยาการสมัยใหม่อันนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพของผลิตภัณฑให้ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับความต้องการของตลาด และสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ต่อไป”
เกสรบัวหลวง : Lianxu (莲须)
เกสรบัวหลวง หรือ เหลียนซู คือ เกสรตัวผู้ที่ทำให้แห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn. วงศ์ Nymphaeaceae1
เกสรบัวหลวง (Stamen Nelumbinis)
- ชื่อไทย: เกสรบัวหลวง, เกสรบัว (ทั่วไป); เกสรสัตตบงกช, เกสรสัตตบุษย์ (ภาคกลาง)2
- ชื่อจีน: เหลียนซู (จีนกลาง), โหน่ยชิว (จีนแต้จิ๋ว)1
- ชื่ออังกฤษ: Lotus Stamen1
- ชื่อเครื่องยา: Stamen Nelumbinis1
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว: เก็บดอกบัวที่บานเต็มที่ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสในฤดูร้อน แยกเอาเฉพาะเกสรตัวผู้ คลุมด้วย กระดาษ ตากแดดหรือผึ่งให้แห้งในที่ร่ม เก็บรักษาไว้ในที่มีอากาศเย็นและแห้ง มีการระบายอากาศดี1
การเตรียมตัวยาพร้อมใช้: นำวัตถุดิบสมุนไพรมาคัดแยกเอาสิ่งปนปลอมออก ร่อนเอาฝุ่นและเศษเล็ก ๆ ออก3,4
คุณภาพของตัวยาจากลักษณะภายนอก: ตัวยาที่มีคุณภาพดี เกสรต้องแห้งและไม่แตกหัก สีเหลืองอ่อน เหนียวนุ่ม มีน้ำหนักเบา3,4
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน: เกสรบัวหลวง มีสรรพคุณแก้อาการฝันเปียก เลือดกำเดาไหล ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน
แก้ระดูขาว และแก้อาการท้องเสีย3
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทย:
เกสรบัวหลวง มีกลิ่นหอม รสฝาด สรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น
บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงกำลัง คุมธาตุ แก้ลม บำรุงครรภ์ และแก้ไข้3
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้
- การแพทย์แผนจีน ใช้ 3-5 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผงรับประทาน1
- การ
แพทย์แผนไทย ใช้เกสรบัวหลวงสดหรือแห้งประมาณ 1 หยิบมือชงกับน้ำร้อน 1
แก้ว(ประมาณ 240 มิลลิลิตร) แช่ทิ้งไว้ 10-15 นาที ดื่มขณะที่ยังอุ่นอยู่
วันละ 3-4 ครั้ง ๆ ละ 1 แก้ว หรือใช้เกสรบัวหลวงแห้ง บดเป็นผง
รับประทานครั้งละ 0.5-1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนดื่มแก้ลม3
ข้อมูลวิชาการที่เกี่ยวข้อง
1.
จากการศึกษาพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักรของสารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากเกสรแห้ง
พบว่าค่า LD50 มีค่ามากกว่า 10 กรัม/กิโลกรัม
เมื่อให้โดยการป้อนหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง5
2. สารสกัดน้ำจากเกสรบัวหลวงสามารถต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ได้อย่างอ่อน5
เอกสารอ้างอิง
1.
The State Pharmacopoeia Commission of P.R. China. Pharmacopoeia of the
People’s Republic of China. Vol.I.English Edition. Beijing: People’s
Medical Publishing House, 2005.
2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.
3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.
4. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology Publishing House, 2005.
5. บพิตร กลางกัลยา, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. รายงานผลการศึกษาโครงการการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจาก สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2544.
2. ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, ก่องกานดา ชยามฤต, ธีรวัฒน์ บุญทวีคุณ (คณะบรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544). สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ประชาชน จำกัด, 2544.
3. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2547.
4. Mei XH. Shiyong Zhongyao Paozhi Zhinan. 1st ed. Hubei: Hubei Science & Technology Publishing House, 2005.
5. บพิตร กลางกัลยา, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. รายงานผลการศึกษาโครงการการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาจาก สมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2544.
อาหารคาวจากบัว
ตำรับอาหารส่วนใหญ่จะเป็นตำรับอาหารจากบัวหลวง ได้แก่ แกงเขียวหวานรากบัว แกงเหลืองรากบัว แกงส้มรากบัว พล่ากุ้งรากบัว ต้มขาหมูรากบัว แกงจืดใบบัวอ่อน ข้าวห่อใบบัว ห่อหมกไหลบัว ผัดเมล็ดบัว สลัด 4 สี เมี่ยงบัวหลวง กลีบบัวหลวงกรอบ
ตำรับอาหารจากบัวสาย ได้แก่ ยำสายบัว ต้มยำสายบัวน้ำข้น และ สายบัวต้มกะทิ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)